ระวังแชร์มั่ว!! ยางมะละกอไม่ได้ล้างพิษตะขาบหมดจดอย่างที่เข้าใจกัน!!





หลายคนอาจจะเคยได้ยินภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการแชร์ต่อกันว่า "ถ้าตะขาบกัดให้ทาด้วยยางมะละกอที่แผลจึงจะหายปวด" นักวิทยาศาสตร์ฟันธงแล้วว่ามันค่อนข้างยุ่งยากและเป็นไปได้น้อย!!

 

โดย รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ขยายความไว้ในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ดังนี้

 

"ตะขาบกัด & ยางมะละกอ" … คำแนะนำที่แชร์กันว่าถ้าถูกตะขาบกัด ให้หามะละกอดิบมากรีดยาง ป้ายแผล จะหายปวดทันที เป็นเรื่องจริงหรือ … เรื่องนี้ เคยตอบหลังไมค์ไปหลายคน เลยเอามาเขียนโพสต์ดีกว่า
 

ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การใช้ยางมะละกอนั้นไม่ใช่วิธีการที่แนะนำสำหรับคนที่ถูก ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรจะต้องฟอกสบู่ล้างแผลให้สะอาดหลายๆ ครั้ง แล้วใช้ครีมยาแก้แพ้ (เช่น เพร็ดนิโซโลน) ทาบริเวณที่บวมแดง แต่ถ้าปวดมาก ก็กินยาแก้ปวด และใช้น้ำแข็งวางประคบ หรือถ้าอาการไม่ดี ก็ควรไปพบแพทย์(คำแนะนำจาก http://www.doctor.or.th/article/detail/6358 )
 

ส่วนการใช้ยางมะละกอนั้น เป็นคำแนะนำเชิงสมุนไพรที่ก็พอจะเป็นไปได้ เนื่องจากพิษของตะขาบนั้นประกอบด้วยสารโปรตีนที่เป็นพิษ เช่น hydroxytryptamine และ cytolysin ในขณะที่ยางมะละกอจะมีเอนไซม์ชื่อ ปาเปน papain ซึ่งมีความสามารถในการย่อยโปรตีน การนำมาป้ายทาที่แผลตะขาบกัด ก็น่าจะช่วยทำลายพิษตะขาบไปได้บ้าง
 

แต่เดี๋ยวก่อน … เนื่องจากเอนไซม์ปาเปนสามารถย่อยโปรตีนได้ จึงทำให้ผิวหนังของเราระคายเคืองตามไปด้วย อาจจะคันไปจนถึงบวมแดงได้ ถ้าแพ้ ก็จะมีอาการไหม้ได้ … จึงควรทดสอบกับผิวเพียงเล็กน้อยก่อนว่าแพ้หรือเปล่า
 

ดังนั้น ผมว่าแทนที่จะวิ่งหาซื้อมะละกอดิบเวลาตะขาบกัด ก็ปฐมพยาบาล ล้างแผล ประคบน้ำแข็งไป จะง่ายกว่านะ

 

jess_1

jess_2

 


ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant

เรียบเรียงโดย Thaijobsgov

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: