นักวิทย์ยืนยัน ต้มอาหารในน้ำเดือดช่วยลดฟอร์มาลินที่ปนเปื้อน “แต่ไม่ได้กำจัดทิ้งทั้งหมด”





หลายวันก่อนมีการแชร์ข่าวว่าอาหารทะเลถ้าจะให้ปลอดภัยต้องผ่านน้ำร้อนจนสุกเสียก่อนเพื่อล้างสารฟอร์มาลีนได้หมดจด แต่นักวิทยาศาสตร์ชี้ชัดแล้วว่า "มันก็ไม่ได้หมดจดอย่างนั้น"

 

ทั้งนี้ ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์และอาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวในเฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ไว้ดังนี้

 

"การต้มอาหารในน้ำเดือด ช่วยลดฟอร์มาลินที่ปนเปื้อน แต่ไม่ได้กำจัดทิ้งทั้งหมด"
 

สัปดาห์ก่อนมีการแชร์ข่าวจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่ทำให้คนมึนกันไปทั่วทั้งวงวิทยาศาสตร์และชาวบ้านทั่วไป หลังจากที่มีการให้สัมภาษณ์ว่า "(อาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มาลิน) …. เมื่อจะนำมารับประทาน ก็ต้องนำไปต้มในน้ำเดือดจนอาหารสุก หากทำเช่นนี้ สารฟอร์มาลีนที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ก็จะถูกทำลายทั้งหมด และสามารถนำอาหารนั้นมารับประทานได้อย่างปลอดภัย"
 

อ้าววว อย่างนี้ ตกลงก็ไม่ต้องกลัวฟอร์มาลินปนเปื้อนในอาหารที่ลักลอบแช่ฟอร์มาลินกันแล้วเหรอ แล้วที่เคยรณรงค์ให้ต้องระวังฟอร์มาลินเนี่ย มันยังไงกัน …. แล้วถ้ากินอาหารทะเลที่ไม่ได้ต้มน้ำเดือด จะทำยังไงกัน
 

คือ ที่ท่านให้สัมภาษณ์เนี่ย ก็ค่อนข้างถูกต้องตามคำแนะนำโดยสากลสำหรับความกังวลเกี่ยวกับฟอร์มาลินในอาหาร ได้แก่ ควรจะนำมาแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงหรือแช่น้ำไหลผ่านประมาณ 15 นาทีก่อนจะเทน้ำทิ้ง หรือนำไปหุงต้มที่อุณหภูมิสูงกว่า 75 องศาเซลเซียสขึ้นไปโดยเปิดฝาหม้อไว้ด้วย เพื่อ "ลด" ปริมาณฟอร์มาลินปนเปื้อน
 

แต่ๆๆ การต้มอาหารให้เดือดมันไม่ได้ "ทำลายฟอร์มาลินทั้งหมด" ไปได้อย่างที่บางท่านเข้า งานวิจัยสารพัดที่ผมเช็คมา (ดูด้านล่าง) พบว่าการต้มมันช่วย "ลด" ฟอร์มาลินได้ แต่ยังคงมีค้างอยู่ในปริมาณหนึ่งเพราะมันซึมเข้าไปอยู่ตามเนื้อของอาหารแล้ว … ความจริงควรจะรณรงค์ให้คนห้ามลักลอกแช่อาหารในฟอร์มาลิเหมือนเดิมน่ะถูกแล้ว รวมทั้งรณรงค์ให้ผู้บริโภคตรวจสอบอาหารได้ด้วยตนเอง
 

ปล. ที่เขียนเรื่องนี้ ไม่ได้อยากทะเลาะกับใครนะ แต่รู้สึกว่ามันต้องมีความชัดเจน ไม่งั้นสับสนกันไปหมด

 

jessada

jessada_2

jessada_3

 


ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant

เรียบเรียงโดย Thaijobsgov

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: