ความยากกว่าจะได้เป็นจักษุแพทย์ เบื้องหลังผลิตหมอตา หลังเสีย ‘หมอกระต่าย’





ความยากกว่าจะได้เป็นจักษุแพทย์ เบื้องหลังผลิตหมอตา หลังเสีย ‘หมอกระต่าย’ เรียนถึง 2 สาขา เป็นสาขาที่ขาดแคลน โดยเพราะสาขาม่านตาทั้งประเทศมีไม่ถึง 50 คน

จากกรณี ส.ต.ต.นรวิชญ์ บัวดก ผบ.หมู่ กองร้อยที่ 2 กองกำกับการ 1 กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (กก.1 บก.อคฝ.) ขับรถจักรยานยนต์บิ๊กไบก์ ยี่ห้อดูคาติ รุ่นมอนสเตอร์ ทะเบียน 1กผ9942 เชียงราย ชน พญ.วราลัคน์ สุภวัตรจริยากุล หรือ หมอกระต่าย จักษุแพทย์ ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะกำลังเดินข้ามทางม้าลาย จนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุดวันที่ 23 ม.ค.65 พญ.อรวีณัฏฐ์ นิมิตรวงศ์สกุล จักษุแพทย์ หัวหน้าศูนย์ตาปลอม โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) ได้โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับ จักษุแพทย์ ลงในเพจ “รู้เรื่องตา-ตาปลอม” โดยระบุว่า สำหรับประเทศไทยเรียนจบ ม.6 แล้วเข้ามหาวิทยาลัยต่อ เรียนหมออีก 6 ปี จบแล้วต้องทำงานใช้ทุนอย่างน้อย 3 ปี ค่อยได้เข้าเรียนเฉพาะทาง หรือบางสาขา บางสถาบันให้ใช้ทุน 1 ปี ก่อนไปเรียนเฉพาะทาง

สำหรับใน 6 ปีที่เรียนนั้น เรียนแผนกตาแค่ 2-4 สัปดาห์ ขึ้นกับแต่ละสถาบัน ส่วนการเรียนจักษุวิทยานั้นต้องใช้เวลา 3 ปี เรียนสาขาย่อยทางจักษุ ซึ่งมี 10 สาขา แต่ละสาขาเรียนหลักสูตรในประเทศ สาขาละ 1-2 ปี และบางรายอาจจะไปเรียนต่อที่ต่างประเทศอีก 1-2 ปี จะเห็นได้ว่า กว่าจะผลิตหมอตาออกมาได้คนนึง โดยเฉพาะหมอตาที่เป็นสาขาเฉพาะทางใช้เวลาและความยากในการผลิตมากมาย

จากนั้น พญ.อรวีณัฏฐ์ ยังได้กล่าวถึง พญ.วราลัคน์ ว่า น้องเป็นหมอสาขาที่ขาดแคลน และเป็นหมอที่ตั้งใจเรียนสาขาย่อยถึง 2 สาขาในคนเดียวกัน ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยทางตาได้มาก ทั้งสาขาจอตา ที่ในประเทศมีประมาณ ร้อยคนเศษ และสาขาม่านตาอักเสบที่ในประเทศมีอยู่ไม่กี่สิบคน น่าจะไม่ถึง 50 คนทั้งประเทศด้วยซ้ำไป

อุบัติเหตุในครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายกับวงการจักษุ และเป็นที่น่าเสียดายต่อคนไข้ที่ขาดหมอที่เก่งและดีมากๆ ไปอีกคน ขอให้มีกระบวนการแก้ไขอย่าให้มีการบาดเจ็บ เสียหาย เสียชีวิตเกิดขึ้นกับใครอีกเลย รณรงค์ให้มีกฏหมายและการแก้ไขป้องกันที่เข้มงวดมากกว่านี้ ทางม้าลายควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับคนข้ามถนน รถควรหยุดหรือชะลอเมือเห็นคนข้ามทางม้าลาย ผู้ที่ฝืนกฏควรได้รับโทษที่เหมาะสม

 

ข่าวจาก : ข่าวสด

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: