กยศ.เผย “แพทย์และพยาบาล” ค้างชำระหนี้สูงสุด ตั้งใจชักดาบ





ปัญหาการค้างชำระหนี้กยศ.นอกจากนักศึกษาที่จบการศึกษาแล้วไม่มาชำระหนี้ ยังพบว่า กลุ่มแพทย์และพยาบาล ไม่ชำระหนี้มากที่สุด ทั้งที่มีเงินและมีงานแล้ว แต่ตั้งใจชักดาบ 

หลังจากที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ได้ให้เงินกู้ยืม 4,500,000 ราย มีผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้ 3,000,000 ราย ผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษาและปลอดหนี้ 900,000 ราย และผู้กู้ชำระปิดบัญชีแล้วกว่า 300,000 ราย และให้โอกาสผ่อนปรนการชำระหนี้ ทั้งสำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วจะมีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และต้องผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี และสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ หากไม่มีรายได้หรือมีรายได้น้อยหรือเป็นผู้ประสบภัยพิบัติจาก ภัยธรรมชาติหรือเหตุจลาจล 

แต่ล่าสุด นางฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนกยศ. ได้เปิดเผยว่า "ปัจจุบันกองทุนมีผู้กู้ยืมทั่วประเทศที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจำนวนกว่า 4.5 ล้านราย ประกอบด้วย สำหรับการติดตามหนี้กับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้ กองทุนมีเงื่อนไขการชำระหนี้ที่ผ่อนปรนมาก เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์จริง ๆ กล่าวคือ เมื่อผู้กู้ยืม  หากผู้กู้ทำสัญญากู้ยืมจำนวน 100,000 บาท งวดแรกผ่อนชำระเงินต้นเพียง 1,500 บาทต่อปีโดยไม่มีดอกเบี้ย งวดถัดไปผ่อนชำระคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1 ต่อปี หากผู้กู้ยืมยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้เนื่องจาก็ยังสามารถขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา

ในปีแรกที่ผู้กู้ยืมครบกำหนดชำระหนี้ กองทุนได้ส่งหนังสือแจ้งภาระหนี้พร้อมตารางการผ่อนชำระหนี้ให้ผู้กู้ยืมทราบพร้อมชำระหนี้ และในปีต่อไปจะจัดส่งใบแจ้งหนี้ หากผู้กู้ยืมยังไม่ชำระหนี้ ผู้กู้จะต้องเสียเบี้ยปรับผิดนัดในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี (กรณีค้างไม่เกิน 1 ปี) หรือในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี (กรณีค้างเกิน 1 ปี) ของเงินต้นที่ค้างชำระ และกองทุนจะส่งจดหมายติดตามทวงถามหนี้และจ้างติดตามหนี้ หากผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้และมีหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 5 งวดขึ้นไป กองทุนจะมีหนังสือแจ้งบอกเลิกสัญญาและฟ้องคดีต่อศาล เมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วผู้กู้ยืมไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา กองทุนจะต้องทำการสืบทรัพย์บังคับคดี โดยการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน เนื่องจากเงินกองทุนเป็นเงินงบประมาณแผ่นดินหรือภาษีอากรของประชาชนที่นำมาให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ซึ่งต้องนำเงินกลับมาเป็นทุนหมุนเวียนส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้รุ่นน้องต่อไป ดังนั้น กองทุนจึงขอให้ผู้กู้ยืมรุ่นพี่ที่ค้างชำระหนี้มาติดต่อชำระเงินคืนเพื่อแสดงถึงจิตสำนึก ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รวมถึงเป็นการส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน นักศึกษารุ่นน้องที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ได้มีโอกาสเรียนต่อเช่นกัน" ผู้จัดการกองทุนฯกล่าว

[ads]

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน น.ส.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ กยศ.ได้ทยอยโอนเงินค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพให้แก่ผู้กู้ กยศ.และผู้กู้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2557 แล้ว ดังนี้ ผู้กู้ กยศ. 597,746 ราย แบ่งเป็น ผู้กู้เก่า 489,422 ราย และผู้กู้ใหม่ 108,324 ราย และผู้กู้ กรอ. 90,131 ราย แบ่งเป็น ผู้กู้เก่า 54,625 ราย และผู้กู้ใหม่ 35,506 ราย โดยในส่วนของ กยศ.มีผู้ที่ครบกำหนด และอยู่ระหว่างชำระหนี้ 2,185,133 ราย ค้างชำระหนี้ 1,205,626 ราย ซึ่ง กยศ.จะต้องเร่งติดตาม

"ส่วนกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษา โดยควบรวมกองทุน กยศ.และกองทุน กรอ.เข้าด้วยกัน ให้เหลือเพียงกองทุนเดียว เพื่อรองรับร่าง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อการศึกษา ที่กำลังจะเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.นั้น เชื่อว่าไม่น่าจะมีปัญหา และหากมี พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ ก็จะแก้ปัญหาที่เป็นข้อบกพร่องในการกู้ยืมของทั้งสองกองทุนได้" น.ส.ฑิตติมากล่าว

นายเปรมประชา ศุภสมุทร กรรมการกองทุน กรอ.กล่าวว่า การปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.กองทุนเพื่อการศึกษา เพื่อให้กรมสรรพากรเข้ามาจัดเก็บหนี้แทน กยศ.นั้น หากปรับแก้ไม่ทันก่อนเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ก็ปรับแก้ได้ในขั้นตอนการพิจารณาของกฤษฎีกา และเมื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ก็ยังปรับแก้ในรายละเอียดได้อีก เพื่อให้ พ.ร.บ.ที่จะออกมามีความสมบูรณ์ที่สุด โดยเฉพาะจะต้องแก้ปัญหาข้อบกพร่องของกองทุน กยศ.และ กรอ.ในเรื่องการจัดเก็บหนี้ และลดจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอล ซึ่งที่ผ่านมาคณะกรรมการกองทุน กรอ.ได้เห็นชอบจัดตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 2 ชุด คือ คณะกรรมการยุทธศาสตร์วางแผน ที่จะต้องกำหนดสาขาการปล่อยกู้ ซึ่งสามารถมองไปในอนาคตข้างหน้า 4 ปี ว่าจบแล้วมีงานทำแน่นอน และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อหามาตรการดูแลผู้ที่ไม่มาชำระหนี้

"พบว่าสาเหตุสำคัญของผู้ที่ไม่มาชำระหนี้ ลำดับแรกคือ ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน ถัดมาคือ มีเงิน มีงานทำ แต่ตั้งใจไม่มาชำระหนี้ ซึ่งสถิติสาขาที่มีผู้ค้างชำระมากที่สุดคือ สังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศึกษาศาสตร์ อยู่ที่ประมาณ 72% โดยกลุ่มสาธารณสุข พยาบาล 57% และกลุ่มแพทย์ 51% ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย

โดยจำนวนผู้กู้ กรอ.ตั้งแต่ปี 2549 มีทั้งหมด 345,100 ราย ใช้งบประมาณรวม 18,074 ล้านบาท ครบกำหนดชำระ 267,184 ราย เป็นเงิน 10,318 ล้านบาท ค้างชำระ 190,700 ราย เป็นเงิน 7,243 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก ที่น่าตกใจคืออาชีพแพทย์และพยาบาล ซึ่งมีงานทำแน่นอน กลับไม่ยอมชำระหนี้ วิธีแก้ปัญหานอกจากสร้างวินัยและจิตสำนึกให้แต่ละคนแล้ว ยังต้องดูระบบติดตามหนี้ ที่จะต้องมีความเข้มข้นมากขึ้นด้วย" นายเปรมประชากล่าว

 

[ads=center]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: