ทำความรู้จัก “ฟู้ดโคม่า” อาการ “กินแล้วง่วง”





รู้จัก ‘ฟู้ดโคม่า’ อาการ กินแล้วง่วง

กินแล้วง่วง – “หนังท้องตึง หนังตาหย่อน” ประโยคที่คุ้นหูกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะหลังรับประทานมื้อเที่ยง ที่ชาวออฟฟิศไปจนถึงคนทำงานทั้งหลายต้องพึ่งพาฤทธิ์คาเฟอีนกันรัวๆ

แต่สงสัยหรือไม่ว่า เพราะอะไรเมื่อท้องอิ่มถึงมักจะมีอาการง่วงตามมา ในบทความออนไลน์ของเว็บไซต์โรงพยาบาลวิชัยยุทธ คลิก ได้เผยแพร่ข้อมูลไว้ว่า

“อาการกินแล้วง่วง” ในภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “ฟู้ดโคม่า” (Food Coma) เกิดจากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นเมื่อทานอาหารมากเกินไป โดยอาหารมื้อนั้นประกอบไปด้วยสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจำพวกแป้งและน้ำตาล โปรตีน และไขมัน เมื่อผ่านระบบการย่อยอาหารแล้วร่างกายจะกลั่นกรองน้ำตาล หรือกลูโคส ที่สามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดนำไปใช้เป็นพลังงานในการใช้ชีวิตประจำวัน

แต่ก็ยังมีกรดอะมิโนชนิดหนึ่งมาจากอาหารที่เราทานเข้าไปเช่นเดียวกัน เรียกว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งสารนี้จะเข้าสู่สมองและระบบประสาททำให้ลดความตึงเครียด และทำให้เราเกิดอาการง่วงนอนได้

อย่างไรก็ตาม การเกิดฟู้ดโคม่า (Food Coma) มีด้วยกันหลายสาเหตุ ไม่ได้เกิดจากการทานอาหารอิ่มจนเกินไปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ โหมงานหนักมากเกินไปในช่วงเวลาเช้า ทานอาหารประเภทแป้งและคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทานอาหารที่มีกรดไขมันมากไปทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนเซโรโทนิน และเมลาโทนินออกมา ซึ่งมีผลทำให้ง่วงนอน และรู้สึกเหนื่อยล้า ก็มีผลเช่นเดียวกัน

ฉะนั้นจึงควรนอนหลับให้เพียงพอในเวลากลางคืน โดยพักผ่อน 7-8 ชั่วโมงต่อคืน เพราะเป็นเวลาที่ไม่มากเกินและไม่น้อยเกินไป และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของการนอนหลับที่ดี

 

ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: