ไม่อยากเป็นมะเร็งปากมดลูก ! ฉีดวัคซีนป้องกันตอนนี้ ทันมั๊ย?





หลายคนคงเคยได้ยินกันมาว่า “โรคมะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน”  แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าการฉีดวัคซีนจะช่วยให้คุณไม่มีทางเป็นโรคนี้ได้ เพราะตราบใดที่คุณฉีดไม่ถูกชนิดหรือไม่ถูกเวลา ความพยายามที่มีอาจสูญเปล่าไปได้ มาเรียนรู้วิธีการฉีดมะเร็งปากมดลูกที่ถูกวิธีกันดีกว่า จะได้ลบล้างความเชื่อแบบผิดๆทิ้งไปได้สักที

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งร้ายที่พบได้บ่อยรองจากมะเร็งเต้านม หรือกล่าวได้ว่า ในประชากรหญิงทุก 5,000 คนจะพบ 1 คนที่เป็นมะเร็งปากมดลูก โดยมีเชื้อ Human Papilomavirus ( HPV) เป็นสาเหตุตั้งต้น

 

ชนิดของวัคซีน

สายพันธุ์ของ HPV ที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในหญิงไทยประมาณร้อยละ 70-75 คือสายพันธุ์ 16 และ 18 ดังนั้น จึงได้มีการคิดค้นวัคซีน HPV ออกมาเพื่อป้องกัน HPV เหล่านี้ ได้แก่
ชนิดที่ 1 Quadrivalent vaccine (ชนิดไวรัส 4 สายพันธุ์ คือ 6, 11, 16 และ 18)

ชนิดที่ 2 Bivalent vaccine (ชนิดไวรัส 2 สายพันธุ์ คือ 16 และ 18)

528.1

การเลือกวัคซีนเพื่อป้องกันมะเร็งปากมดลูกจึงสามารถเลือกใช้ได้ทั้งสองชนิด ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ18 ได้ประมาณร้อยละ 90-100 สำหรับผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน แต่สำหรับผู้ที่มีการติดเชื้อแล้ว วัคซีนไม่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคได้  ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ อาจมีผลในการป้องกันได้บ้าง

 

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาของสถาบันจุฬาภรณ์ในเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2556 พบว่า มีสายพันธุ์ย่อยที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกอีกตัวหนึ่งที่พบกันมาก ซึ่งก็คือ  สายพันธุ์ 52 ดังนั้นการใช้วัคซีนปากมดลูก 2 ตัวเดิมจึงอาจลดประสิทธิภาพลงไปอีก เพราะไม่สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกจากสายพันธุ์ 52 ได้ ดังนั้นจึงต้องสอบถามให้ดีก่อนว่า วัคซีนที่กำลังจะฉีดสามารถต้านทาน HPV สายพันธุ์ไหนได้บ้าง จะได้เลือกฉีดได้อย่างเหมาะสม

หลังจากที่ได้รับวัคซีนครบ 3 เข็ม (เดือนที่ 0 เดือนที่ 1 และเดือนที่ 6) ความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อจะเริ่มเกิดขึ้นหลังจากฉีดครบ 3 เข็มไปแล้ว 1 เดือน และเพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การฉีดวัคซีน HPV ควรได้รับตั้งแต่ยังไม่ติดเชื้อ HPV หรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่อไวรัส HPV ได้ดี
ปัจจุบัน มีหลายการศึกษายืนยันว่า ภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกายต่อการติดเชื้อเอชพีวีหลังฉีดวัคซีนนี้ไปแล้วประมาณ 10 ปียังคงสูงอยู่ จึงทำให้วัคซีนยังคงมีประสิทธิภาพ และไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำอีก

 

[ads]

 


ผลข้างเคียง 
– อาจพบอาการปวด บวม แดง หรือคัน ในบริเวณที่ฉีดวัคซีนได้

– อาจมีไข้ได้ 

อาการจะหายได้เองภายใน 1 – 2 วันโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าเคยมีประวัติแพ้สารต่างๆมาก่อน ก็ควรแจ้งแพทย์หรือพยาบาลให้ทราบก่อนทุกครั้ง


ข้อควรระวัง 
– สำหรับหญิงตั้งครรภ์จะไม่แนะนำให้ฉีด เพราะอาจเกิดการแพ้วัคซีนและส่วนประกอบในวัคซีนได้ 
– ถึงแม้จะได้รับวัคซีนไปแล้ว แต่ก็ยังควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่เสมอตามเกณฑ์เวลาที่เหมาะสม  เนื่องจากวัคซีนไม่สามารถป้องการการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์

528.2

ถ้าไม่ได้ฉีดวัคซีนจะดูแลตนเองอย่างไร?

ถึงแม้ว่าคุณจะไม่ได้รับฉีดวัคซีน ด้วยเหตุผลของความพร้อม อายุ หรือสภาพร่างกาย คุณก็ยังมีโอกาสปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ หากผ่านการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งควรเริ่มเมื่อมีอายุ 21 ปีหรือหลังมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกแล้วอย่างน้อย 3 ปี ขึ้นกับว่าคุณเข้าถึงช่วงเวลาไหนเร็วกว่ากัน  หลังจากนั้น ความถี่ในการตรวจคัดกรองฯก็จะขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะรายไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก pharmacy.mahidol.ac.th และ haamor.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย ThaiJobsGov.com

[ads=center]

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: