5 องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ ชี้คนป่วยโควิด 19 ออก รพ. แล้ว ไม่ต้องกักตัวต่อ





5 องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ ออกประกาศ ผู้ป่วยโควิด 19 ชี้ ถ้ารักษาตัวครบ 14 วัน หรือ 21 วันกรณีอาการรุนแรง นับว่าเป็นการกักตัวแล้ว ถ้าออกจากโรงพยาบาลแล้วไม่ต้องกักตัวต่อ และไม่ต้องตรวจหาเชื้อซ้ำ

วันที่ 9 ตุลาคม 2564 เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ได้เผยแพร่ประกาศร่วมองค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ เรื่องการกลับเข้าสู่สังคมของผู้ป่วยโควิด-19 หลังครบกำหนดหรือกักตัว โดยมีใจความสำคัญดังนี้

– ระยะเวลาที่รักษาตัวหลังจากที่มีอาการ หรือมีผล RT-PCR เป็นบวกเป็นเวลา 14 หรือ 21 วัน ถ้ามีอาการรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันต่ำให้ถือว่าเป็นระยะเวลากักตัว เพราะผู้ติดเชื้อจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่จัดขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

– จากการศึกษาข้อมูลบ่งชี้ว่าระยะเวลากักตัวหลังมีอาการ หรือมีผล RT-PCR เป็นบวกนั้น กักตัวแค่ 10 วันก็เพียงพอถ้าอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าอาการรุนแรงให้กักตัว 21 วัน เมื่อได้รับอนุญาตให้กลับบ้านแล้วก็จะพ้นระยะแพร่เชื้อแล้ว ไม่ต้องกักตัวต่ออีก ตามแนวทางรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ในประเทศไทย

– จากกรศึกษาในต่างประเทศ และในประเทศไทยพบว่าเมื่อผู้ติดเชื้อกักตัวครบแล้วกลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ไม่พบว่ามีการติดเชื้อในบุคคลรอบข้าง หรือติดเชื้อโดยมีต้นตอจากผู้ติดเชื้อเหล่านี้เลย

– ซากเชื้อ เป็นสารพันธุกรรมของเชื้อที่มีอยู่ในติดเชื้อที่รักษาหายแล้ว แต่ไม่สามารถทำอันตรายได้ ดังนั้นการตรวจ RT-PCR ซ้ำในผู้ติดเชื้อที่ได้รับการวินิจฉัยแล้ว หรือพ้นระยะแพร่เชื้อนั้น ไม่มีประโยชน์ใด ๆ ทางการแพทย์แนะนำว่าไม่ต้องทำ

– การตรวจแบบ ATK เหมาะสำหรับการตรวจคัดกรองผู้มีประวัติสัมผัสโรค และมีอาการน่าสงสัย ไม่ใช่การตรวจยืนยันว่าผู้ติดเชื้อนั้นหาย หรือไม่มีเชื้อแล้ว

– ผู้ติดเชื้อจำนวนไม่น้อย ยังมีอาการบางอย่างอยู่เป็นวลานาน เช่นการได้กลิ่น-รับรสผิดปกติ ไอ เหนื่อย อ่อนเพลีย มีการตรวจเพาะเชื้อจากบุคคลกลุ่มนี้ก็ไม่สามารถเพาะเชื้อขึ้นได้ และจากการติดตามผู้สัมผัสจำนวนมากก็พบว่าไม่มีใครติดเชื้อจากบุคคลกลุ่มนี้ ถือว่าปลอดภัย ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อซ้ำ

ทั้งนี้ องค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ทั้ง 5 องค์กรในเอกสาารนี้ ได้ระบุข้อแนะนำว่า

1. เมื่อผู้ติดเชื้อได้รับการรักษาหรือกักตัวหลังจากมีอาการ หรือหลังจากการตรวจ RT-PCR ได้ผลบวกครบ 14 วัน หรือ 21 วันกรณีมีอาการรุนแรงหรือมีภูมิคุ้มกันต่ำอย่างมาก (เช่น ได้รับยากดภูมิขนาดสูง) และได้รับอนุญาตให้กลับบ้านแล้ว ผู้นั้นจะไม่มีการแพร่เชื้อไปสู่บุคคลอื่นจึง “ไม่จำเป็นต้องกักตัวต่อ” และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ โดยแนะนำให้ปฏิบัติตัวตามแนววิถีชีวิตใหม่เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

2. ไม่ต้องทำการตรวจหาเชื้อซ้ำอีก ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด เพราะไม่มีประโยชน์ เป็นภาระทั้งด้านการเวลาและการเงินของบุคคล/หน่วยงาน และเป็นอุปสรรคต่อการกลับไปใช้ชีวิตทางสังคม ตลอดจนการประกอบอาชีพอย่างปกติ

 

ข่าวจาก : kapook

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: