ออสเตรเลียเตรียม “เปิดประเทศ” หลังปิดนานนับ 7 เดือน





ออสเตรีเลียถือเป็นประเทศที่มีมาตรการการคุม โควิด-19 ที่เข้มมากๆ ประเทศหนึ่ง แต่ก็เป็นประเทศที่ประชาชนมีการเรียกร้องให้เปิดประเทศมาอย่างต่อเนื่อง

ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 ออสเตรเลียได้มีกฎเกณฑ์การเข้าออกประเทศที่เข้มงวดที่สุดในโลก ซึ่งรวมถึงมาตรการการห้ามคนของตัวเองออกนอกประเทศ

นโยบายที่เข้มข้นเช่นนี้ได้รับการยอมรับว่าช่วยยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด แต่ก็ได้ส่งผลให้ครอบครัวเกิดการแตกแย่งจากความคิดเห็นเรื่องนโยบายที่ไม่ เหมือนกัน แต่นายกรัฐมนตรี สก็อตต์ มอร์ริสัน กล่าวว่า “ถึงเวลาที่เราจะคืนชีวิตให้กับชาวออสเตรเลียแล้ว”

ซึ่งโนบายการผ่อนคลายนี้ ประชาชนแต่ละรัฐจะมีสิทธิ์ออกเดินทางข้ามรัฐ เมื่ออัตราการฉีดวัคซีนในรัฐที่ตนอยู่ และรัฐปลายทางมียอดการฉีดถึง 80%

อย่างไรก็ตามมาตรการนี้ยังไม่เปิดให้ชาวต่างชาติเข้าประเทศในทันทีแต่ รัฐบาลกล่าวว่า พวกเขากำลังทำงานอย่างเต็มที่ “เพื่อต้อนรับนักท่อง เที่ยวกลับสู่ชายฝั่งออสเตรเลีย”

ในปัจจุบันผู้คนสามารถออกจากออสเตรเลียได้ด้วยเหตุผลจำเป็นเท่านั้น เช่น งานสำคัญพิเศษหรือเยี่ยมญาติที่กำลังจะเสียชีวิตส่วนการเข้าประเทศนั้นมีการจำกัดจำนวนและอนุญาตให้เข้าได้เฉพาะพลเมือง และบุคคลที่ได้รับการ ยกเว้นเท่านั้นทำให้หลายคนหลายหมื่นติดอยู่ในต่างประเทศ

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รมต.เมอร์ริสันกล่าวว่า การกักกันโรงแรม 14 วันภาคบังคับของออสเตรเลีย มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เดินทางแต่ละคน 3,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียจะถูกเลิกใช้จะถูกแทนที่ด้วยการกักกันที่บ้านเจ็ดวัน

ขณะนี้ซิดนีย์ เมลเบิร์น และแคนเบอร์รา ยังอยู่ในภาวะล็อกดาวน์เนื่อง จากการระบาดของไวรัสแต่ก็ได้ช่วยกระตุ้น ให้ประชาชนได้รับวัคซีนเพิ่ม ขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

นิวเซาท์เวลส์ กำลังจะเป็นรัฐแรกที่ผ่านเกณฑ์ 80% ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้าซึ่งคาดว่าจะตามมาด้วย วิกตอเรียซึ่ง และเมลเบิร์นอยู่ไม่ไกลหลัง แต่รัฐต่างๆ เช่น ควีนส์แลนด์และเวสเทิร์นออสเตรเลียจะปิดพรมแดนจนกว่า อัตราการฉีดวัคซีนจะสูงตามเกณฑ์

 

ข่าวจาก : คมชัดลึก

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: