ราชกิจจาฯ ประกาศ ‘พ.ร.บ.งบประมาณ 2565’ วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท





ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 จำนวน 3.1 ล้านล้านบาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

วันที่ 20 ก.ย. 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระบุว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นปีที่ 6 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่เป็นการสมควรตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565”

มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

มาตรา 3 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 4 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ตั้งเป็นจำนวน รวมทั้งสิ้น 3,100,000,000,000 บาท จำแนกเป็นรายจ่ายตามที่จะระบุต่อไปในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 5 ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจสั่งจ่ายเงินแผ่นดิน ตามรายการและจำนวนเงิน ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่สำนักงบประมาณจะได้จัดสรร หรือตามที่จะได้มีการโอนเปลี่ยนแปลงตามกฎหมาย

หมวด 2 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง

มาตรา 6 งบประมาณรายจ่ายงบกลาง ให้ตั้งเป็นจำนวน 587,409,336,900 บาท จำแนกได้ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 800,000,000 บาท

2. ค่าใช้จ่ายชดใช้เงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 5,000,000,000 บาท

3. ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2,300,000,000 บาท

4. ค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 16,362,010,100 บาท

5. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ข้าราชกร ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 74,000,000,000 บาท

6. เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 500,000,000 บาท

7. เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 4,360,000,000 บาท

8. เงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ 310,600,000,000 บาท

9. เงินเลื่อนเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการ 11,547,326,800 บาท

10. เงินสมทบของลูกจ้างประจำ 570,000,000 บาท

11. เงินสำรอง เงินสมทบ และเงินชดเชยของข้าราชการ 72,370,000,000 บาท

12. เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 89,000,000,000 บาท

ฉบับเต็ม ที่นี่ 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: