ภท. ศุภชัย ใจสมุทร นำคณะแพทย์แถลงโต้ บอก อย่าด้อยค่า”ซิโนแวค”





นายทะเบียน ภท. ศุภชัย ใจสมุทร นำคณะแพทย์แถลงโต้ บอกอย่าด้อยค่าวัคซีน”ซิโนแวค” ยันสามารถลดความรุนแรงของของโรคได้

นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายทะเบียนพรรคภูมิใจไทย นำคณะแพทย์ลงมาชี้แจงถึงกรณีการจัดซื้อวัคซีน”ซิโนแวค“หลังฝ่ายค้านอภิปรายไม่ไว้วางใจ

โดยนายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวชี้แจงถึงกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นการโจมวัคซีน”ซิโนแวค” ว่า ประเทศไทยเริ่มนำ”ซิโนแวค“เข้ามาใช้ช่วงเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา หรือ อย. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพความปลอดภัยโดยวัดจากประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งทำได้หลายอย่าง ทั้งการวัดประสิทธิภาพการป้องกันโรค ซึ่งจากข้อมูลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์” ซิโนแวค”ทำให้ลดการระบาดของโรคได้ ซึ่งมีข้อมูลยืนยันเป็นเอกสารออกมา ทั้งจากการระบาดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ในร.พ.จังหวัดเชียงรายก็มีการศึกษาว่าช่วยลดการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าไม่มีวัคซีนตัวใดที่สามารถป้องกันโรค โควิด -19 ได้ 100% และไม่มีวัคซีนตัวใดป้องกันการตายได้ 100 % เปอร์เซนต์ ในวัคซีนทุกชนิดทั้งสิ้น ซิโนแวค ไฟเซอร์ หรืออื่นก็ตาม ซึ่งประเทศไทยเองก็มีการพัฒนาสูตรฉีดวัคซีนแบบสูตรไขว้เข็ม 1 เป็น”ซิโนแวค” และเข็ม 2 แอสตราเซเนกาซึ่งเป็นความสำคัญยิ่งต่อประชาชนพบว่าทำให้สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในระดับที่สูงเทียบเท่ากับการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา 2 เข็ม

แต่ข้อดีคือฉีดได้เร็วขึ้นทำให้ภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ที่กล่าวหาว่าการฉีดวัคซีนแบบไขว้เป็นอันตรายนั้นไม่เป็นความจริง ซึ่งมีงานเอกสารทางการแพทย์มีข้อมูลทางวิชาการทางการแพทย์ ยืนยันว่าวัคซีนสุดไขว้มีประสิทธิภาพ จึงเป็นเหตุผลที่กระทรวงสาธารณสุขกรมควบคุมโรคและพยายามจะถามว่าสิ่งที่หาได้ให้กับประชาชนได้อย่างทันเวลา

รวมทั้งองค์การอนามัยโลกเองได้ทำซื้อวัคซีนล้านโดส เพื่อไปฉีดให้กับประชาชนทั่วโลกเป็นตัวอย่างที่ว่าวัคซีนรวมมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะในช่วงต้นการแพร่ระบาดที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะมีการแพร่ระบาดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้วัคซีนทุกชนิดมีประสิทธิภาพลดน้อยลง

แต่ยังสามารถหาวิธีฉีดวัคซีนแบบไขว้ที่ทำให้ประชาชนได้รับภูมิคุ้มกันที่รวดเร็วขึ้น ตนขอยืนยันว่าวัคซีนซิโนแวคมีประสิทธิภาพ ขอความกรุณาอย่าด้อยค่าวัคซีนให้ด้วยเพราะช่วยเราตั้งแต่ต้นปี ดูรายการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดีและจะพยายามเร่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน

ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้างนายแพทย์โอภาส ระบุว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมายโดยเฉพาะพ.ร.บจัดซื้อจัดจ้าง ข้อกล่าวอ้างว่าไม่เป็นไปตามกฎหมายจึงไม่เป็นความจริง

ส่วนเรื่องราคาการจัดซื้อ นายแพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ชี้แจงว่า ข้อกล่าวหาว่าองค์การเภสัชกรรมเป็นนายหน้าของ”ซิโนแวค” ว่าเป็นบทบาทความมั่นคงด้านเวชภัณฑ์

แต่อย่างไรก็ตามในช่วงวิกฤต องค์การเภสัชกรรมไม่ได้ติดต่อกับบริษัท”ซิโนแวค”โดยตรง แต่มีบริษัทลูกในการติดต่อ ซึ่งพบอุปสรรคทางจีนไม่ยอมติดต่อธุรกิจด้วย องค์การเภสัชกรรมจึงต้องติดต่อโดยตรง ซึ่งได้ดำเนินการคู่ขนานกันองค์การเภสัช มีการดีลชิโนฟาร์ม

ซึ่งพบว่า”ซิโนแวค”นั้นมีความยืดหยุ่นและทำงานได้เร็วกว่า ยืนยันว่าการทำงานเป็นเพื่อการช่วยเหลือประชาชน ส่วนเนื้อเรื่องกรอบราคา จะมีการนำเข้ามา 16 ชิปเม้นท์ 30.4 ล้านเศษ และราคาจะถูกลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ 17 เหรียญ ใน 2 ล้านโดสแรก ซึ่งต่อมาก็มีการต่อรองราคาเป็นลำดับ และอยู่ที่ราคาสุดท้าย 8.9 ดอลลาร์ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 11.99 เหรียญ

แต่อย่างไรก็ตามที่บอกว่ามีส่วนต่าง ตนต้องขอชี้แจงว่ามีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างบ้าง เนื่องจากองค์การเภสัชกรรม เป็นผู้ที่ไปลงทุนซื้อโดยใช้เงินองค์การไปก่อน จากนั้นเมื่อได้ไปแล้วก็กำหนดราคาขายจริงสั่งไปยังกรมควบคุมโรค และกรอบที่ขออนุมัติเป็นการขอไว้เผื่อแต่เมื่อใช้จริงก็จะเรียกเก็บตามจริงเท่านั้น

ยืนยันว่าไม่มีส่วนต่างใด ๆ ทั้งสิ้นพร้อมกับระบุว่าองค์การเภสัชกรรมจะดูแลวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อตายเป็นหลัก และระบุในช่วงท้ายว่ากรมควบคุมโรคเป็นคนดูแลกำหนดราคาได้จริง โดยมีการบวกค่าดำเนินการขนส่ง 2-4 % และเงินที่เหลือจากกรอบการขอไว้ ก็ไม่มีใครได้เข้ากระเป๋าแต่อย่างใด

ขณะที่ นายแพทย์นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีน ระบุถึงสัญญาการจัดซื้อวัคซีน astrazeneca ได้ทำการสั่งซื้อว่าซื้อล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2563 เดือนพฤศจิกายน

ดังนั้นการสัญญาการจองซื้อต้องอยู่ในเงื่อนไขซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันซึ่งต้องใช้สัญญาในลักษณะเดียวกัน ซึ่งมีโอกาสไม่ได้รับหรือได้รับวัคซีนในลักษณะช้า

เนื่องจากอยู่ในระหว่างการวิจัยและพัฒนาและอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ ไม่ใช่เหมือนการซื้อสินค้าทั่วไปที่มีความไม่แน่นอนในการวิจัยและพัฒนาการผลิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขทุกประเทศ และทุกคนต้องรับความเสี่ยงร่วมกันในระหว่างการวิจัยและพัฒนาร่วมกันเนื่องจากไม่ใช่สถานการณ์ปกติจะเอาพื้นฐานความเข้าใจแบบเดิมมาใช้ในการตัดสินในสัญญาการจัดซื้อล่วงหน้าจะไม่เหมาะสมและไม่เข้ากับสถานการณ์

 

ข่าวจาก : komchadluek

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: