ป้าย เซ้ง-ให้เช่า ผุดทั่วเชียงใหม่ ปธ.สภาอุตฯเหนือ รับศก.แย่ ฟื้นยาก





ป้าย เซ้ง-ให้เช่า ผุดทั่วเชียงใหม่ ปธ.สภาอุตฯเหนือ รับศก.แย่ ฟื้นยาก ฝากความหวังที่วัคซีน

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม นายวีระยุทธ สุขวัฑฒโก ประธานสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ กล่าวว่า ตอนนี้การฉีดวัคซีนยังไม่มากพอ และยังมีการระบาดในพื้นที่ต่างๆ จำนวนเยอะมาก มีข่าวปิดชุมชน ปิดสถานที่ ปิดโรงงานทำให้คนส่วนใหญ่อยู่บ้านมากกว่าที่ออกไปข้างนอก เศรษฐกิจในพื้นที่เชียงใหม่จึงดาวน์ลง ซึ่งต้องยอมรับเลยว่าแย่ ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการต้องดูแลตนเองให้มากที่สุด ที่เราต้องยอมรับเลยคือ ยังมีคนที่ไม่ยอมรับกฎกติกา ยังออกไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะคนอายุ 30-40 ปี ยังออกไปเที่ยวและรวมกลุ่มกันอยู่ ตรงนี้แก้ยากที่จะทำให้โรคระบาดหยุดลง เพราะคนไม่มีวินัย

“ตัวเลขภาพรวมของเศรษฐกิจไม่แน่ใจนักว่าเป็นอย่างไร แต่บอกได้ว่า ยังไม่ฟื้นง่ายๆ สถานการณ์ตอนนี้ต้องใช้คำว่า ลุ่มๆ ดอนๆ แต่ยังไม่ดิ่งลึกลงไปมากนัก เรียกว่าผู้ประกอบการพยายามประคับประคองตนเอง ระมัดระวังธุรกิจกันอย่างหนักหน่วง เพื่อรอว่าการติดเชื้อจะลดลงมาเมื่อไหร่ ในส่วนของภาคการส่งออกไม่น่าห่วงเพราะยังมีการบริโภคและคำสั่งซื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง จะเรียกว่าดีก็ได้ เพราะประชากรต่างประเทศยังต้องกินต้องใช้ แต่ในประเทศไทย การบริโภคไม่ได้ลดน้อยลง แต่ร้านค้าลดลงไปค่อนข้างเยอะ เกิดร้านค้ารายย่อยมากขึ้น ถือเป็นเรื่องที่ดีที่มีการกระจายตัวลงไปสู่ชุมชน แต่กำไรไม่มาก แค่พออยู่ได้ เพราะจำนวนร้านค้าเยอะ ผู้บริโภคเลือกได้นั่นเอง”

นายวีระยุทธ กล่าววว่า ประมาณเดือนตุลาคมนี้ สถานการณ์ต่างๆ น่าจะดีขึ้น ไตรมาสสี่ขอให้วัคซีนยี่ห้อต่างๆ มาให้เร็วขึ้น เมื่อวัคซีนมีมากขึ้น มีเข็มสามมากระตุ้นภูมิคุ้มกัน ก็รอดูกันไป แต่น่าจะทำให้ทั้งประชาชนและผู้ประกอบการมีกำลังใจ ช่วงนี้ไม่อยากเรียกร้องอะไรไป เพราะดูแล้วไม่น่าจะทำอะไรได้ สิ่งที่ต้องทำคือ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนให้มากที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจย่านเศรษฐกิจของเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่มีการปิดตัวลงของโรงแรม ร้านค้าต่างๆ การก่อสร้างหยุดชะงัก มีการขึ้นป้ายให้เช่า เซ้งกิจการ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการผุดโครงการใหม่ๆ ขึ้นมาด้วยเช่นกัน

 

ข่าวจาก : มติชน

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: