สาวแชร์ประสบการณ์ ฉีดซิโนแวค มีผลข้างเคียง ชาทั้งตัว พบเลือดออกในสมอง





สาวแชร์ประสบการณ์เฉียดตาย หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ซิโนแวค โดส 2 แล้วชาทั้งตัว อาการไม่หายใน 3 วัน พบเลือดออกในสมอง แม้ CT Scan ไม่เห็น แต่ไม่ตัดสินให้คนอื่นฉีดหรือไม่ฉีด เพราะขึ้นอยู่กับร่างกายแต่ละคน

จากสถานการณ์ระบาดของโควิด 19 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนเร่งฉีดวัคซีนให้หลายกลุ่ม โดยบางคนก็ปกติดี บางคนก็มีผลข้างเคียง ซึ่งก็เป็นข่าวอยู่บ่อยครั้งนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 9 พฤษภาคม 2564 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก กะทิ จ้า ออกมาเผยเรื่องราวของผู้รับวัคซีน ซิโนแวค ซึ่งปรากฏว่ามีผลข้างเคียง โดยมีอาการชา ก่อนจะตรวจพบว่ามีเลือดออกในสมอง จึงแนะนำให้ผู้รับวัคซีนต้องสังเกตอาการตัวเองอย่างใกล้ชิด

เจ้าของเรื่องราว เล่าว่า ฉีดวัคซีนในพื้นที่ จ.อุดรธานี โดยฉีดซิโนแวค เป็นโดสที่ 2 หลังฉีด 3 นาทีก็มีอาการชาแขน ขา ปาก ลิ้น ใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า หายใจไม่สะดวก หยิกตัวเองไม่เจ็บ หมอเอาอะไรจิ้มก็ไม่เจ็บ รอดูอาการ 2 ชั่วโมง แต่ยังไม่ได้มีการรักษาใด ๆ ตอนนั้นหมอคิดว่าจะหายเองใน 3 วัน แต่ผ่านมา 3 วันอาการไม่ดีขึ้น จึงมาเข้าโรงพยาบาลอีกครั้ง ทำ CT Scan ผล CT ปกติ แพทย์เลยเข้าใจว่าไม่มีเลือดออกในสมอง

จากการปรึกษาพี่สาวซึ่งเป็นหมอที่โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นคนดูแลพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่มีอาการคล้ายเคสของตน เกือบ 20 คน ที่มีอาการจากรับวัคซีน จึงติดต่อหมอที่โรงพยาบาลอุดรธานีให้สั่งยาให้ชื่อ nimodepine ยาลดภาวะเลือดออกในสมอง โดยแจ้งว่า เคสนี้น่าจะมีเลือดออกในสมองแต่เล็กมากจน CT หาไม่เจอ ตอนนี้ยาครบแล้ว อาการดีขึ้นแล้ว อาการชาลดลง เริ่มรู้สึกตามตัว หยิกตัวเองเริ่มรู้สึก เหลือแค่ทำกายภาพ ฟื้นฟูระบบประสาท

ทั้งนี้จากผลข้างเคียงและหลังได้รับการรักษา มีข้อแนะนำดังนี้

1. การที่ สธ.บอกว่า จะหายเองหลังฉีด 72 ชั่วโมง (3 วัน) ไม่เสมอไปสำหรับทุกคน

2. การรอถึง 3 วัน ถ้ากรณีเป็น Stoke ชัดเจน ชา ครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง แพทย์อาจจะให้ยาทันเพราะอาการมันชัดเจน CT Scan ตรวจเจอเลือดในสมอง

3. เคสของตนอาการไม่ชัดเจน CT Scan ตรวจไม่เจอเลือด แต่ด้วยอาการที่ชาจนเอาไม้จิ้มก็ไม่เจ็บ รอ 3 วันก็ไม่หาย แพทย์ที่โรงพยาบาลราชวิถี คิดว่าน่าจะมีเลือดออกจริง แต่มันเล็กมาก จน CT ตรวจไม่เจอ เลยให้ยาลดเลือดออกในสมอง เคสตนถือว่ารับยาช้า เพราะผ่านไป 4 วันแล้ว (ควรได้ยานี้ภายใน 24 ชั่วโมง) เมื่อได้ช้า ทำให้หายช้า ต้องฟื้นฟูระบบเยอะ

4. ยาที่ได้รับคือ nimodepine ไม่ใช่ยาทั่วไป ในโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลเล็ก ๆ จะไม่มียาตัวนี้ เป็นยาที่มีในโรงเรียนแพทย์ หรือ โรงพยาบาลใหญ่ ๆ เท่านั้น ต้องจ่ายโดย spacial list เท่านั้น

5. ถ้าคนที่ฉีดแล้วเป็นแบบเคสนี้ และ CT scan หาไม่เจอ แพทย์อาจไม่ได้มองว่า จะต้องให้ยาตัวนี้ ซึ่งอาจจะทำให้สายเกินไปที่จะรักษา

6. ตนเองนั้นมีกรรมพันธุ์ คุณย่า อา ป้า ลุง เป็นโรคหลอดเลือดสมอง วัคซีนที่มีผลให้เลือดออกในสมอง เลยกระตุ้นให้เลือดออกในสมองได้

7. ถ้าผู้จะรับวัคซีนมั่นใจว่า ไม่มีโรคประจำตัว หรือแข็งแรง หรือกรรมพันธุ์ไม่มีโรคหลอดเลือดในสมอง ถ้าอยากฉีด อาจจะฉีดได้ เพราะ side effect ไม่ได้มีผลกับทุกคน

8. อาจารย์หมอบอกว่า เคสที่กรณีแบบตน ยังไม่มีรายงานว่าหายเองหากไม่ได้รับยา ดังนั้น ถ้าฉีดแล้วมีอาการ ต้องรีบไปโรงพยาบาล

สุดท้ายขอให้ข้อมูลที่แชร์เป็นประโยชน์กับการพิจารณา ไม่ขออนุญาตชี้นำว่าควรฉีดหรือไม่ฉีด เพราะร่างกายคนเราไม่เหมือนกัน ขออภัยที่ข้อมูลยาวหน่อย แต่อยากแชร์ให้ทราบรายละเอียดชัดเจน เพราะว่ามันเป็นเรื่องสำคัญถึงชีวิต พร้อมขอให้ดูแลสุขภาพกันด้วย

 

ข่าวจาก : kapook
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กะทิ จ้า , Seda Yalova / Shutterstock.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: