เปิดสถิติประชุม ส.ว.สมัยที่เพิ่งจบไป 4เดือนใช้เงินไป132ล้าน





ประชุมรัฐสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 2 เพิ่งปิดสมัยลงไปเมื่อวันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา พบสถิติผลงานของ ส.ว.มีการประชุมไปแล้ว 24 ครั้งพร้อมเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตาม รธน.ใน 3 องค์กร ขณะที่ผลงานเด่นคือร่วมกันคว่ำร่าง รธน.ฉบับภาคประชาชน และเตะถ่วงการแก้ไข รธน.

วุฒิสภาเผยแพร่สรุปผลการทำงานของส.ว. สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง ระหว่าง 1 พ.ย. 2563 – 28 ก.พ. 2564 ดังนี้ 

  • การประชุมส.ว. 24 ครั้ง รวมเวลาประมาณ 147 ชั่วโมง 10นาที แบ่งเป็นช่วงหารือประมาณ 6 ชั่มโมง 50 นาที 
  • พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎหมายที่ส.ส.ให้ความเห็นชอบสามวาระ 7 ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาวาระสองชั้นกรรมาธิการ 1 ฉบับ 
  • ตั้งกระทู้ถามในที่ประชุม 29 กระทู้ ตอบแล้ว 8 กระทู้ ค้างตอบ 14 กระทู้ รอถอน 7 กระทู้ 
  • กระทู้ถามด้วยวาจา จำนวน 15 กระทู้ จำนวน 5 กระทู้ ตกไป 10 กระทู้ 
  •  ให้ความเห็นชอบบุคคลดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น 4 ครั้ง 3 องค์กร 
  •  พิจารณารายงานประจำปีของส่วนราชการหรือองค์กรต่าง จำนวน 12 ฉบับ 
  • พิจารณารายงานความคืบหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ 2ฉบับ 
  • พิจารณารายงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ 1 ฉบับ 
  •  พิจารณาศึกษารายงานของคณะกรรมาธิการ 38 ฉบับ 

เมื่อพิจารณาความคุ้มค่าตามที่ Voicetv เคยรายงาน ค่าใช้จ่ายโดยประมาณของ 250 ส.ว. ตามคู่มือสิทธิประโยชน์ของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ 2562 ในส่วนของเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่ม แบ่งเป็น ประธานวุฒิสภา 119,920 บาทต่อเดือน รองประธานวุฒิสภาสองคน 115,740 บาทต่อเดือน ส.ว. 247คนละ 113,560 บาทต่อเดือน และทีมงานรวม 129,000 ต่อส.ว.หนึ่งคน (ไม่นับรวมสิทธิประโยชน์อื่น เช่น เบี้ยประชุมคณะกรรมาธิการ ครั้งละ 1,500 และค่าใช้จ่ายในการไปดูงานคณะกรรมาธิการละประมาณ 1 ล้านบาท)

รวมรายจ่าย ส.ว.ต่อเดือน 33,101,960 บาท หนึ่งสมัยการประชุมระยะเวลา 4 เดือน รายจ่าย ส.ว.รวม 132,101,960 บาท

เมื่อเทียบเคียงรายจ่ายของ ส.ว.ต่อผลงานจะพบว่า การประชุมวุฒิสภา 1 ครั้ง มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5,504,248 บาท เมื่อคิดเป็นรายชั่วโมงตกชั่วโมงละ 898,652 บาท หรือนาทีละ 14,960 บาท 

อ่านเพิ่มเติม : Voicetv

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: