ชาวเน็ตแชร์ประสบการณ์ เตือนกินถั่งเช่า เสี่ยงเสียชีวิต ไตวาย แน่นหน้าอก





ชาวเน็ตโพสต์เล่า พ่อกินถั่งเช่า แน่นหน้าอก พบไตวาย ก่อนจากไปไม่ทันตั้งตัว

กระแสของการทานถั่งเช่า ในโลกออนไลน์ นับเป็นอีก 1 กระแส ที่มีคนออกมารีวิวหลังทานถั่งเช่ากันไปจำนวนมาก ซึ่งผู้สูงอายุหลายคน ได้รับผลข้างเคียงไม่น้อย

โดยล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ว่า “ก่อนที่พ่อจะกินถั่งเช่า พ่อไม่เคยป่วย ไม่เคยเป็นอะไร นอกจากบ่นปวดแข้งปวดขา ตามประสาคนแก่ แต่ช่วง 4-5 เดือน ก่อนที่พ่อจะเสีย พ่อกินถั่งเช่า เพราะพ่อดูตามโฆษณาในรายการทีวี อาการของพ่อก่อนไปโรงพยาบาลคือ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หมอวินิจฉัยว่าน้ำท่วมปอด แล้วก็ตรวจดูค่าไต คือค่าไตต่ำมาก หรือไตวายระยะสุดท้าย หมอตรวจเจอสารพิษในร่างกายมีปริมาณเยอะมาก แล้วหมอก็ถามว่า “ก่อนหน้านี้ในช่วง 6 เดือนได้กินยา หรืออาหารเสริมอะไรมาบ้าง” แล้วยาที่พ่อกินคือ ถั่งเช่า พ่อจากไปไวมาก ไม่ทันได้ตั้งตัว และถ้าย้อนเวลากลับไปได้ จะไม่ซื้อถั่งเช่าให้พ่อกิน”

ก่อนจะนำมาทวีตอีกครั้ง โดยบอกว่า “โทรมาบ่อยมาก ถามว่าหมดยัง อยากได้เพิ่มไหม นี่คือบล็อกไปหลายเบอร์มากแต่ก็ยังสรรหาเบอร์อื่นมาโทรเลขเบอร์จะเปลี่ยนแค่ตัวต้นหรือท้าย 0-9 จะด่าก็กลัวเสียมารยาท ก็พูดว่าไม่เอา อีกชม.ต่อมา ก็โทรมาอีกเบอร์ใหม่อีก สรรหา นี่ก็เลยบอกไปว่า ตาเสียแล้วค่ะ เจ๊กแกก็อ่อหรอคะ ค่า งั้นไม่รบกวนแล้วนะคะ วางสาย”

นอกจากนี้ ในทวิตเตอร์ ยังมีการติดแฮชแทก #ถังเช่า และเผยว่า “พ่อเราตอนที่กินก็คือเท้าบวมและช้ำมาก จนเดินแบบไม่ได้เลย ไปหาหมอ หมอเลยบอกว่าให้หยุดกินอาหารเสริมทุกอย่างก่อน กินแค่ยาหมอก็พอ หลังจากนั้น 2 อาทิตย์ขาก็ดีขึ้น”

ทั้งนี้ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้ออกมาเผยถึงถั่งเช่า ไว้ โดยนำเอาบทความเก่า ใช้ข้อมูลจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มาอ้างอิง โดยสรุปว่า ” ถ้าเป็นคนปกติธรรมดา ร่างกายแข็งแรง ก็กินถั่งเช่าเป็นอาหารเสริมได้ แต่ถ้าใครมีโรคประจำตัวอยู่ หรือคนที่มีความเสี่ยงต่าง ๆ ตามในข้อมูล ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ

อีกประเด็นที่สำคัญ ก็คือว่า ถั่งเช่าที่เขียนถึงนี้ คือ “ถั่งเช่าทิเบต” ซึ่งเป็นเชื้อราที่อยู่ในหนอนผีเสื้อจากทิเบตนะครับ แต่ถั่งเช่าที่ขายกันในบ้านเราราคาไม่แพงนั้น มักจะเป็น “ถั่งเช่าสีทอง” ที่เพาะเลี้ยงในขวดได้ และพบว่ามีสารเคมีบางตัวที่มีผลต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคไตด้วย ฉะนั้น จะกินก็ต้องระวังเหมือนกันนะครับ”

ข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: