เปิด “เงินเดือน” ส.ว.-ส.ส. กินภาษีประชาชนเดือนละเท่าไหร่?





เปิด ‘เงินเดือน’ ส.ว.-ส.ส. กินภาษีประชาชนเดือนละเท่าไหร่?

ภายหลังจากที่รัฐสภา ลงมติรับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2 จาก 7 ร่าง คือ 1.ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อตั้งส.ส.ร.ของพรรคร่วมฝ่ายค้าน กับ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 ของพรรคร่วมรัฐบาล ด้วยเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่มีอยู่จำนวน 732 คน หรือ 366 เสียงขึ้นไป พร้อมทั้งยังมีคะแนนเสียงของส.ว.เกิน 1 ใน 3 หรือ 82 เสียงตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด โดย 1 ใน 5 ฉบับ ที่สมาชิกรัฐสภาไม่รับหลักการ มาจากการเข้าชื่อของประชาชนกว่า 1 แสนรายชื่อ

ทำให้โลกออนไลน์ ต่างคั้งคำถามกับการทำหน้าที่ ของส.ส. และ ส.ว. ที่มีการงดออกเสียงจำนวนมาก บางรายระบุว่า แม้ ส.ว.จะไม่ใช่ผู้แทนราษฎร แต่ ก็รับเงินเดือนจากภาษีราษฎร เช่นกัน พร้อมกันนี้ยังมีการรณรงค์ ว่า ส.ส. และ ส.ว. ที่งดออกเสียง ควรจะงดจ่ายเงินเดือนด้วยหรือไม่

หลายคน ยังได้ตั้งคำถาม ถึงเงินเดือน และค่าตอบแทน ของข้าราชการการเมืองในตำแหน่งต่างๆ ซึ่งตามสิทธิประโยชน์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2556 อัตราเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มของ ส.ส. กับ ส.ว. รวมไปถึงสิทธิพิเศษอื่น โดยระบุว่า

– ประธานสภาผู้แทนราษฎร มีเงินเดือน 75,590 บาท เงินเพิ่ม 50,000 บาท รวม 125,590 บาท

– รองประธานสภาผู้แทนราษฎร มีเงินเดือน 63,860 บาท เงินเพิ่ม 42,500 บาท รวม 106,360 บาท

– ประธานวุฒิสภา มีเงินเดือน 74,420 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 45,500 บาท รวม 119,920 บาท

– รองประธานวุฒิสภา มีเงินเดือน 73,240 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท รวม 115,740 บาท

– ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร มีเงินเดือน 73,240 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 42,500 บาท รวม 115,740 บาท

– สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีเงินเดือน 71,230 บาท เงินเพิ่ม 42,330 บาท รวม 113,560 บาท

ทั้งนี้ ส.ส.ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีด้วย เมื่อได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะรัฐมนตรีแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่ง ส.ส. อีก

– สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีเงินเดือน 71,230 บาท เงินเพิ่ม 42,330 บาท รวม 113,560 บาท

ทั้งนี้ สมาชิก ส.ส. กับ ส.ว. แต่ละคนยังสามารถมีผู้ช่วย 8 คน แบ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญประจำตัว 1 คน มีเงินเดือนๆละ 24,000 ผู้ชำนาญการประจำตัว 2 คน มีเงินเดือนๆละ 15,000บาท และผู้ช่วย ส.ว.5คน มีเงินเดือนๆละ15,000 บาท

ข่าวจาก มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: