เครือข่ายแรงงานปิดศูนย์ร้องทุกข์ พบ1.3ล้านคนถูกเลิกจ้าง-ลดค่าจ้าง





เครือข่ายแรงงาน เผย หลังปิดศูนย์ร้องทุกข์ พบ แรงงาน 1.3 ล้านคน ถูกลด ค่าจ้าง และถูกเลิกจ้าง ขณะเดียวกันได้ ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน จำนวน 9 ข้อ

คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และเครือข่ายแรงงาน ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถกานการณ์โควิด-19 ได้เข้ามาร้องเรียน ตั้งแต่เดือน 5 เมษายน 2563 จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) เห็นว่าประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไว้ได้แล้วจึงเห็นสมควรให้ปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ลงภายในเดือนสิงหาคม 2563 โดยคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ขอแถลงผลการดำเนินงานของศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ดังต่อไปนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ฯเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2563 จำนวน 14 ศูนย์1.พื้นที่ฉะเชิงเทรา 2.พื้นที่แหลมฉบัง 3. พื้นที่ปราจีน 4.พื้นที่รังสิต-อ่างทอง 5.พื้นที่สมุทรปราการ 6.พื้นที่อมตะ 7.พื้นที่บ่อวิน-ระยอง 8.พื้นที่สระบุรี 9.พื้นที่อ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ 10.พื้นที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส) 11.พื้นที่งานบริการและภาคธนาคาร 12. พื้นที่แรงงานข้ามชาติ 13. พื้นที่แรงงานนอกระบบ 14.พื้นที่โรงแรมและบริการภูเก็ต

ซึ่งพบจำนวนผู้ร้องทุกข์ทั้งหมด 1,300,000 คน โดยเจอปัญหาหลายอย่าง เช่น หยุดงานชั่วคราวตามมาตรา 75 หยุดงานชั่วคราวตามมาตรา 79/1 ถูก บีบ บังคับให้เขียนใบลาออก ถูกลด ค่าจ้าง ลดสวัสดิการและเปิดโครงการสมัครใจลาออก-เลิกจ้าง

โดยยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วน จำนวน 9 ข้อ เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2563 

1. ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานใช้อำนาจตามมาตรา ๓๖ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานและลูกจ้างนัดหยุดงานทั่วราชอาณาจักร กรณีที่มีการปิดงานหรือนัดหยุดงานอยู่ก่อน ขอให้สั่งให้นายจ้างที่ปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามปกติโดยเร็วในทันที

2. ขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามมาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 โดยจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อการจัดสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ซึ่งรัฐบาลยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง กล่าวคือเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2561 รัฐบาลยังไม่ได้นำเงินสบทบจำนวน 87,737 ล้านบาท (ปัจจุบันอาจมีจำนวนมากกว่านี้) โดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนตามที่กฎหมายกำหนด และรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมสัดส่วนเท่ากันกับนายจ้างและลูกจ้าง จำนวน 5 %

3. กรณีที่ผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมยังไม่ครบตามระยะเวลาที่ประกันสังคมกำหนด ต้องจ่ายไม่ตำกว่า 5,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

4. กรณีที่รัฐบาล หรือนายจ้างปิดงาน หรือลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากเหตุสุดวิสัยให้จ่ายค่าจ้าง 75 % ของค่าจ้างก่อนถูกปิดงานหรือไม่สามารถทำงานได้ 

5. ขอให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าที่อยู่อาศัย ให้กับผู้ประกันตนและประชาชนทั่วไปรายละ 1,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะพ้นวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

6. ขอให้สถาบันการเงิน พักชำระหนี้โดยไม่คิดดอกเบี้ย กรณีที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ตลอดระยะเวลาจนกว่าจะพ้นวิกฤตโรคโควิด-19

7. ขอให้รัฐบาลจ่ายเงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านให้กับประชาชนทั่วไปรายละ 2,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะพ้นวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

8. ขอให้รัฐบาลระงับการนำเงินกองทุนชราภาพไปจ่ายชดเชยแทนกองทุนประกันการว่างงาน กรณีกองทุนประกันการว่างงานหมดลงโดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนตาม มาตรา 24 ซึ่งเงินกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงในชีวิตของคนงาน

9. ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน หรือจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วนเพิ่มเติม จำนวน 4 ข้อ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2563 คือ 1.ขอให้รัฐบาลปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือประกันการว่างงานกรณีหยุดงานด้วยเหตุสุดวิสัยเพิ่มจาก 62% เป็น 75% ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุลเสนอ

2. ขอให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายประกันสังคมให้ครบถ้วน ที่ค้างอยู่ ณ วันสิ้นปี พ.ศ. 2561 เป็นเงินจำนวน 87,737 ล้านบาท โดยเร็วที่สุด

3. ขอให้รัฐบาลบังคับหรือหาวิธีให้นายจ้างออกหนังสือรับรองให้ลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา33 ที่ถูกสั่งให้หยุดงานเป็นการชั่วคราว ด้วยเหตุสุดวิสัย แต่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยา โดยด่วนที่สุด

4. ขอให้รัฐบาลปลดคณะกรรมการประกันสังคม ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกันตน แล้วยังขัดขวางผลประโยชน์ที่ลูกจ้างควรจะได้รับในช่วงที่ได้รับความเดือดร้อน กล่าวคือ คณะกรรมการประกันสังคมไม่เห็นด้วยที่จะปรับเพิ่มเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนจาก 62% เป็น 75% ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอ และคณะกรรมการประกันสังคม ไม่ได้หาทางแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนที่ยังไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเยียวยาอีกเป็นจำนวนมากและให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการประกันสังคมชุดใหม่ขึ้นมาทำหน้าที่แทนชุดเก่าโดยไม่ชักช้า-ฟ้องร้องตามกระบวนการยุติธรรม-ร้องเรียนตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน ประกันสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมฯ กรรมการสิทธิมนุษยชน ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล สำนักนายก

ข่าวจาก เนชั่นทีวี

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: