ธปท.แจงมาตรการคิดดอกเบี้ยแบบใหม่-ปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้รายย่อย





วันนี้ (18พ.ค.63) นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ ในช่วงที่ผ่านมาได้รับทราบถึงมาตรการต่างๆในการช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโควิด-19 โดยเฉพาะภาระหนี้ของประชาชนและผู้ประกอบการ SMEs โดยมาตรการแรกเกี่ยวกับผู้ประกอบการรายย่อยที่มีภาระหนี้สินที่เกิดจากผลกระทบ และมาตรการที่ 2 คือซอฟท์โลน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมโดยจะมีการผ่อนมาตรการต่างๆ ซึ่งมาตรการช่วยเหลือโดยตรงให้กับลูกหนี้รายย่อย จะเป็นสินเชื่อทั้งบัตรเครดิต เงินสดหมุนเวียน สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคลผ่อนชำระเป็นงวดและสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ เช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ลิสซิ่ง สินเชื่อธุรกิจ SMEs ไมโครไฟแนนซ์และนาโนไฟแนนซ์ อยู่ที่ประมาณ 3 ล้าน วงเงินสินเชื่อช่วยเหลือรวม 4.6 ล้านล้านบาท 13.08 ล้านราย ช่วยรายย่อย 3.4 ล้านล้านบาท 13.01 ล้านราย ธุรกิจขนาดใหญ่และ SME 1.2 ล้านล้านบาทกว่า 68,008 ราย

ที่ผ่านมาได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสถาบันทางการเงิน ทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยผ่อนชำระเงินต้น และขยายการชำระหนี้เป็นระยะเวลา 3-6 เดือนโดยขณะนี้ได้ช่วยเหลือไปแล้วกว่า 13 ล้านราย วงเงิน 4.6 ล้านล้านบาท ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะเป็นเพียงการช่วยเหลือชั่วคราวเท่านั้นเพื่อพักเงินต้นและดอกเบี้ย แต่สิ่งที่จะต้องการเห็นในอนาคตคือการเข้าไปช่วยเหลือของสถาบันทางการเงิน เข้าไปช่วยเหลือดูแลลูกหนี้เพื่อปรับโครงสร้างให้สอดคล้องกับรายได้ในช่วงต่อจากนี้

ในวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมาธนาคารได้มีการคิดอัตราดอกเบี้ย ผิดนัดชำระโดยคำนวณจากยอดเงินต้นที่เหลือทั้งหมดไม่ว่าจะค้างกี่งวดก็ตาม ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูง จึงมีการคิดคำนวณแบบใหม่โดยการนำเงินค้างชำระงวด ในงวดนั้นๆมาคำนวณอัตราดอกเบี้ยเพื่อให้ความเป็นธรรมกับลูกหนี้ โดยจะมีการหารือกับสถาบันทางการเงินต่อไป

ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs โดยตรงเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ มาตรการซอฟท์โลน 5 แสนล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยผู้กู้ร้อยละ 2 นาน 2 ปี ส่วนมาตรการการชะลอการชำระหนี้ โดยเป็นการเลื่อนอัตโนมัติ ซึ่งจะไม่ถือเป็นการผิดชำระและเสียประวัติ ซึ่งมีลักษณะที่สามารถรับมาตรการซอฟท์โลน โดยต้องเป็นลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย จะต้องเป็นลูกหนี้ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ไม่เป็นลูกหนี้ NPL หลัง 31 ธันวาคม 2562 จะต้องกู้สถาบันวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท ก็สามารถยื่นต่อสถาบันทางการเงินได้ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุดมาตรการ ซอฟท์โลน วงเงิน 500 ล้านบาทมีผู้เข้ามายื่นแล้วประมาณ 4.9 พันล้านบาท

ข่าวจาก TNN Thailand

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: