ทักษิณรู้แล้ว! ปมรัฐบาลจะใช้โอท็อปกู้ชาติ ฝากถึงรัฐบาล “ต้องพัฒนาและคิดให้ทันโลก”





วันที่ 23 เม.ย. นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย แสดงความคิดเห็นผ่านทางเฟซบุ๊ก วิพากษ์วิจารณ์แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ความว่า

ผมแทบเป็นลมเมื่อได้อ่านคำให้สัมภาษณ์ของรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจถึงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการปลดล็อกดาวน์ โดยจะพัฒนาสินค้าโอทอปซึ่งจะเป็นทางรอดของชาติ เพราะนั่นเป็นความคิดของพวกผมเมื่อ 20 ปีที่แล้วที่คนในสมัยนั้นชอบสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ (Unique) และทำด้วยมือแต่วันนี้ไม่ใช่แล้ว

แผนงานการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมควรแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) ดูแลธุรกิจที่มีอนาคต เช่น ภาคเกษตรที่จะเกี่ยวข้องกับอาหารปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ (Health & Hygienity) ซึ่งจะเป็นอนาคต รวมถึงอุตสาหกรรมบริการที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานเพื่อไม่ให้เกิดการเลิกจ้าง การพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้

(2) สนับสนุนให้มีการลงทุนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจการท่องเที่ยวและบริการ เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ หรือเครื่องใช้ที่ปลอดเชื้อ และการนำบุคลากรมาเสริมสร้างสมรรถนะ (Capacity Building) เพื่อรองรับการให้บริการที่สะอาดและปลอดภัยให้กับลูกค้าทั้งไทยและต่างประเทศ และ (3) ลงทุนเพื่ออนาคตรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกหลังโควิด-19

โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงโลกโดยสิ้นเชิงแล้ว จากนี้มนุษย์จะให้ความใส่ใจกับสุขภาพและสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการสัมผัส (low touch) เพราะมนุษย์กลัวไวรัสจนทำให้ทั้งโลกต้องหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงต้องคิดให้ออกว่าประเทศไทยมีอะไรบ้างที่สามารถนำมาพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกภายหลังโควิด-19 แล้วฟื้นฟูเศรษฐกิจไปทางนั้นอันเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

เจ้านายผม (ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี)ฝากบอกว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคซึ่งเป็นหัวใจของการค้าจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ในต่างประเทศจึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก

ล่าสุด คณะเศรษฐศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้เปิดสอนวิชาใหม่ชื่อว่า Behavior Economy ดังนั้น การลอกนโยบายของรัฐบาลท่านมาใช้จึงต้องพัฒนาและเข้าใจวิธีคิด

เพราะแม้แต่ไวรัสยังมีการพัฒนาจนมนุษย์เอาชนะยากขึ้น มนุษย์ก็ต้องพัฒนาและคิดตามให้ทันไม่เช่นนั้นจะแพ้ไวรัสแถมเสียเงินเปล่าแบบที่เอานโยบายของไทยรักไทยมาทำโดยไม่เข้าใจ

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: