คลังตอบแล้ว เปิดร้านขายของชำ แต่ตัดสิทธิเงิน5พัน หาว่าเป็นผู้ประกอบการ แก้อย่างไร





ยังเป็นกระแสที่ประชาชนหลากหลายอาชีพคาใจกับหลักเกณฑ์ในการอนุมัติเงินเยียวยา 5,000 บาท สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด covid 19 ที่รัฐเปิดให้ลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com แต่ถูกปฏิเสธทั้งที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

เมื่อวานนี้ (15 เมษายน 2563) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : FISCAL POLICY OFFICE ตอบคำถามกรณีกลุ่มอาชีพค้าขายลักษณะเปิดเป็นร้านชำ แต่ได้รับ SMS แจ้งว่าไม่ได้รับสิทธิ์ เนื่องจากยังสามารถดำเนินกิจการได้ โดยยกตัวอย่างข้อร้องเรียนจากร้านชำในพื้นที่ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ดังนี้…

– ตนก็ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 จริง เนื่องจากคนมาซื้อของน้อยลงมากและรัฐก็ห้ามไม่ให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเป็นผู้มีรายได้น้อย ทำไมถึงไม่เคยได้รับสิทธิ์ช่วยเหลืออะไรเลย

– มีคนจำนวนมากในอำเภอที่ผู้ลงทะเบียนอาศัยอยู่ (อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา) ได้รับสิทธิ์ทั้งที่ให้ข้อมูลเท็จบ้าง ว่างงานบ้าง และมีบ้านให้เช่าบ้าง และไม่เชื่อว่าทางการจะดำเนินการกับคนเหล่านี้ได้

– สงสัยว่าทำไมถึงให้ความช่วยเหลือผู้ขายสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นอันดับแรก ๆ โดยอ้างว่ายังมีการขายสลากฯ ใน อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ยังมีอยู่มากและคนเหล่านั้นยังขายสลากฯ ได้ และมีรายได้

– ตลาดสดเทศบาล อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา ยังคงเปิดขายอยู่เป็นปกติ

– ระบบ AI/ระบบคัดกรองไม่มีประสิทธิภาพ ใช้งานไม่ได้จริง และขอให้แจ้งผู้ใหญ่ในกระทรวงการคลัง ให้รับทราบด้วยว่าควรทำการเปลี่ยนระบบ และตั้งคำถามว่า ทำไมไม่ลดหย่อนกฎเกณฑ์และให้เงินเยียวยาแก่ทุกคนอย่างเท่าเทียมกันอย่างประเทศอื่น ๆ

ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงว่า…

1. กระทรวงการคลังเตรียมเปิดกลไกการขอทบทวนสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน ผ่านเว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com เท่านั้น ประชาชนไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่กระทรวงการคลัง เพราะไม่ได้มีช่องทาง การรับเอกสาร และเพื่อให้เป็นไปตามแนวทางการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งต่อตัวผู้ประสงค์จะขอทบทวนสิทธิ์เองและต่อส่วนรวมของสังคมไทย ทั้งนี้ ผู้ผ่านการทบทวนสิทธิ์จะยังได้รับเงินเยียวยาครบทั้ง 3 เดือน เนื่องจากการให้เงินเยียวยาจะใช้วันลงทะเบียนในการ เริ่มนับสิทธิ์

2. สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด 19 สามารถศึกษารายละเอียดมาตรการ และโครงการช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ ของกระทรวงการคลังได้ที่เว็บไซต์ www.mof.go.th เช่น การเลื่อนระยะเวลาชาระภาษีอากร มาตรการหักรายจ่าย 1.5 เท่าสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จ่ายไประหว่าง 1 เมษายน 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563 (สามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com)

โครงการสินเชื่อฉุกเฉิน เงินด่วนสำหรับประชาชนทั่วไป หรือผู้ประกอบการอาชีพอิสระ 10,000 บาท (ติดต่อสอบถามได้ที่ธนาคารออมสิน call center 1115 หรือ ธ.ก.ส. Call Center 1593)

โครงการสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อเสริมสภาพคล่อง (ติดต่อ SME Bank Call center 1357) เป็นต้น

3. ในกรณีการกรอกให้ข้อมูลเท็จ หากตรวจสอบพบภายหลังว่าเป็นผู้ไม่มีสิทธิในการรับเงินช่วยเหลือ ภาครัฐมีสิทธิสั่งระงับการจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ โดยผู้ได้รับเงินเยียวยาที่ไม่มีสิทธิในมาตรการฯ จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินชดเชยที่ได้รับไปแล้วอคืนให้แก่รัฐภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการระงับสิทธิดังกล่าว ตามวิธีการที่กระทรวงการคลังหรือผู้จัดทำระบบให้กระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ ในกรณีที่รัฐได้ดำเนินการข้างต้นแล้ว รัฐอาจใช้สิทธิในการที่จะดำนินคดีทางแพ่งหรือทางอาญาต่อไป

ทั้งนี้ ในกรณีการให้ข้อมูลเท็จโดยเจตนา ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ปรับสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในกรณีที่เป็นการให้ข้อมูลเท็จโดยมิได้มีเจตนาและถูกดำเนินการทางกฎหมาย ในชั้นศาลจะมีกระบวนการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อไป

4. หากประสงค์จะร้องเรียนเกี่ยวกับมาตรการเยียวยา 5,000 บาท สามารถติดต่อได้ที่ Call Center สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 (เฉพาะวันและเวลาราชการ) และ Call Center ธนาคารกรุงไทย โทร. 02-111-1144 (ตลอด 24 ชั่วโมง)

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เฟซบุ๊ก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง : FISCAL POLICY OFFICE

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: