เปิดแผนแจกเงิน2,000 รัฐใจดีให้ถึง “20ล้าน” ใครเข้าเกณฑ์บ้าง มาดูกัน!





8 มี.ค.63 แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า มาตรการบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ที่กระทรวงการคลังเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ในเรื่องการแจกเงิน 2 พันบาทเป็นเวลา 2 เดือนหรือเดือนละ 1 พันบาทมีประชาชนเป้าหมาย 10-20 ล้านคน แบ่งเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถือบัตรสวัสดิการ เป็นอาชีพอิสระ 5 ล้านคน และเกษตรกร 4 ล้านคน รวมแล้วประมาณ 9 ล้านคน ที่เหลือเป็นกลุ่มอาชีพอิสระที่ไม่ได้ถือบัตรสวัสดิการประมาณ 10 ล้านคนจะเปิดให้ลงทะเบียนหรืออาจจะให้ดำเนินการผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) ด้วยการสมัครเข้าเป็นสามาชิกกอช. ซึ่งกลุ่มคนแรงงานนอกระบบทำอาชีพอิสระมีประมาณ 17 ล้านคน ขณะนี้สมัครสมาชิกกอช.ประมาณ 2.4 ล้านคน ดังนั้นต้องไปตามหาแรงงานนอกระบบที่ควรจะได้รับเงินดังกล่าว

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ต้องไปดูรายได้ของกลุ่มประกอบอาชีพอิสระด้วย โดยอาจใช้ฐานข้อมูลเดียวกับผู้ถือบัตรสวัสดิการ  เช่น กำหนดรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี รวมถึงกำหนดอายุของกลุ่มคนที่ได้รับ เนื่องจากการช่วยเหลือครั้งนี้เน้นในกลุ่มวันแรงงาน ดังนั้นอาจกำหนดอายุ เช่น 20-60 ปี เป็นต้น โดยในเรื่องนี้จะมีการหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพราะถ้ากำหนดกรอบที่กว้างต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งในการช่วยเหลือครั้งนี้กระทรวงการคลังรายงานว่าไม่ได้ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการช่วยเหลือในกลุ่มที่เดือดร้อนจริงๆ ดังนั้นผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน อาจไม่ได้ด้เงิน 2 พันบาททุกคน หากกำหนดกรอบแคบใช้เงินน้อยลง

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามมีอีกแนวทางในการแจกเงินคือ คือ แจกให้กับผู้ถือบัตรสวัสดิการ 14 ล้านคน บวกเก็บตกกลุ่มอาชีพอิสระ 5-6 ล้านคน ดังนั้นตัวเลขอาจสูงถึง 20 ล้านคน คนละ 2 พันบาท คิดเป็นเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาท แต่ถ้ากำหนดเงื่อนไขให้แคบลง เช่น แรงงานอาชีพอิสระ เกษตรกร ที่ถือบัตรสวัสดิการอายุไม่เกิน 60 ปี และกลุ่มอาชีพอิสระอายุไม่เกิน 60 ปี และรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี ทำให้ตัวเลขเหลือเพียงกว่า 10 ล้านคน ใช้เงินกว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยในเรื่องงบประมาณ สำนักงบประมาณกำลังพิจารณาเกลี่ยงบทั้งจากงบกลางที่เป็นอำนาจนายกฯ อนุมัติจ่ายเงิน และงบประมาณในส่วนอื่นๆ และจะสรุปชัดเจนตัวเลขของเงิน คุณสมบัติของกลุ่มคนที่จะได้รับเงิน ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 มีนาคม นี้

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับการโอนเงินนั้นถ้าเป็นกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการสามารถโอนเข้าบัตรคนจนได้ทันที เงินดังกล่าวสามารถกดมาใช้จ่าย และนำไปรูดซื้อสินค้าและบริการ โดยไม่จำกัดชนิดและประเภทของการใช้จ่าย ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ในบัตรสวัสดิการสามารถโอนผ่านระบบพร้อมเพย์ได้ และสามารถนำไปใช้จ่ายเช่นเดียวกับผู้ถือบัตรสวัสดิการ ซึ่งกระทรวงการคลังมีฐานข้อมูลแค่บางส่วน ดังนั้นจำเป็นต้องกลุ่มอาชีพอิสระ เช่น พ่อค้า แม่ขาย ต้องแสดงตัวตน เช่น ลงทะเบียน หรือสมัครเข้าสมาชิกกอช. ก่อนที่จะได้รับเงิน

ข่าวจาก มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: