สรรพากร ลุยขอข้อมูลคนปล่อยบ้าน-เช่าคอนโด จาก อปท. ไล่บี้ภาษีเงินได้ปี63 หวังช่วยแก้ปัญหาคนหนีภาษี





สืบเนื่องจากกรณีที่กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย ได้ยืนยันถึงการเก็บภาษีดินและสิ่งปลูก  จะไม่ให้เจ้าของบ้านเช่า คอนโดมิเนียม หรือที่ดิน ต้องเสียภาษีค่าเช่าในอัตราเชิงพาณิชย์ เริ่มต้นที่ล้านละ 3,000 บาท แต่ให้เสียภาษีตามประโยชน์ที่ใช้จริงซึ่งเสียภาษีถูกกว่า เช่น ปล่อยเช่าบ้านเพื่อพักอาศัยให้เสียภาษีล้านละ 200 บาท  ปล่อยเช่าที่ดินเพื่อทำการเกษตรเสียล้านละ 100 บาท และให้นำรายได้จากการเก็บค่าเช่าไปคำนวนเสียภาษีเงินได้ประจำปีนั้น

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ในปี 63 สรรพากรจะเร่งประสานความร่วมมือกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาล อบต.  กรุงเทพมหานคร และพัทยา เพื่อขอเชื่อมโยงข้อมูลบัญชีสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีการลงไปสำรวจทั่วประเทศตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาใช้วิเคราะห์ตรวจสอบการเสียภาษีเงินได้ของแต่ละคน โดยเฉพาะการดูว่ามีการนำรายได้จากการปล่อยเช่าบ้าน เช่าคอนโดมิเนียม เช่าที่ดิน มาคำนวณเป็นเงินได้ เสียภาษีอย่างถูกต้องหรือไม่

“ปกติผู้มีรายได้จากการปล่อยเช่าบ้าน เช่าที่ดิน และเช่าคอนโดฯ จะต้องนำค่าเช่ามาคำนวนเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีทุกปีอยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาก็ยอมรับว่ามีบางส่วนยังหลบเลี่ยงอยู่ แต่ในขณะนี้ เมื่อ อปท.ลงไปสำรวจข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างละเอียด ก็จะรู้ว่าพื้นที่ไหนใช้ประโยชน์แบบใด ใครปลอยให้เช่า ใครใช้พักอาศัยจริง หรือใช้ค้าขายเชิงพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากต่อกรม”

ทั้งนี้ สรรพากรจะขอเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้มาใช้วิเคราะห์ร่วมกับฐานข้อมูลการเก็บภาษีอื่นๆ เช่น หากใครมีเงินโอนเข้าบัญชีทุกต้นเดือน 5,000 บาท ซึ่งตรงกับข้อมูลของ อปท.ว่าบุคคลนี้มีบ้านให้เช่า 1 หลัง กรมฯก็จะไปตรวจดูเป็นเงินค่าเช่าจริงหรือไม่ และนำเงิน 5,000 บาทมาคิดเป็นรายได้เพื่อภาษีอยู่หรือเปล่า  หากทำถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่หากหลีกเลี่ยงไม่เคยนำมาคิดเป็นเงินได้เลย ก็ต้องถูกลงโทษเข้ามาเสียภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ลดปัญหาหลบเลี่ยงการเสียภาษีให้น้อยลงได้

ข่าวจาก เดลินิวส์ออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: