สรรพสามิต เลื่อนขึ้นภาษีบุหรี่40% หลังกระทบชาวไร่ยาสูบ





วันนี้ (2 ม.ค.63) นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า เร็วๆ นี้จะต้องมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นภาษีบุหรี่เป็นอัตราเดียว 40% ในวันที่ 1 ต.ค. 2563 นี้ ว่ามีความจำเป็นต้องขยายเวลาออกไปอีกหรือไม่ เพราะทั้งผู้ประกอบการ การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) และเกษตรกรชาวไร่ยาสูบ ไม่ต้องการให้ปรับขึ้น เพราะกระทบยอดขายอย่างรุนแรง จนเกษตรได้รับความเดือดร้อน เนื่องจาก ยสท. ลดการซื้อใบยาสูบลงถึง 50%

ปัจจุบันการเก็บภาษีบุหรี่มีอัตรา 20% สำหรับบุหรี่ที่ราคาไม่เกินซองละ 60 บาท และ 40% สำหรับบุหรี่ที่ราคาเกินซองละ 60 บาท ซึ่งเดินมจะต้องมีการเก็บภาษีเป็นอัตราเดียว 40% ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 ที่ผ่านมา แต่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีการขยายเวลาการขึ้นภาษีออกไปอีก 1 ปี คือ ในวันที่ 1 ต.ค. 2563 เนื่องกระทบยอดขายบุหรี่อย่างมาก จนทำให้การใช้ใบยาสูบจากชาวไร่ลดลง

ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินความพร้อมกันอีกครั้งว่าจะขึ้นภาษีไปเป็นอัตราเดียวได้หรือไม่ หรือหากขึ้นไม่ได้ต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้ตัดสินใจ เนื่องจากมีผลกระทบกับ ยสท. ทำให้ยอดขายลดลง และ ยสท. ไปลดซื้อใบยาสูบจากชาวไร่ยาสูบ จนได้รับผลกระทบกว่า 100,000 ราย

นายพชร กล่าวว่า กรมสรรพสามิตได้เสนอเรื่องการเยียวยาเกษตรกรชาวไร่ยาสูบให้คลังพิจารณา เพื่อเสนอให้ ครม. เห็นชอบ หลังจากที่เยียวยาปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านการขึ้นภาษีบุหรี่ ซึ่งยังไม่เพียงพอทำให้เกษตรกรปรับตัวได้ ปีนี้จึงมีความจำเป็นต้องเยียวยาอีก โดยใช้เงินงบประมาณ 100 ล้านบาท เท่านั้น

สำหรับการดำเนินการให้บุหรี่ไร้ควันมีการนำเข้าและเสียภาษีสรรพสามิตให้ถูกต้อง ยังติดปัญหาที่กระทรวงสาธารณสุขที่ไม่เห็นด้วย ทำให้กรมสรรพสามิต และกระทรวงพาณิชย์ ไม่รู้จะทำอย่างไรให้บุหรี่ไร้ควันนำเข้ามาในประเทศให้ถูกและเก็บภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งทุกวันนี้มีการลักลอบนำเข้ามาขายเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ที่ควรเก็บได้

ข่าวจาก TNN

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: