เผยชีวิตและข้อคิดดีๆจาก “เฮียนพ หมูปิ้ง” รายได้เดือนละ 3 ล้าน ที่ทุกวันนี้ยังอาศัยบ้านเอื้ออาทรอยู่…!!





ผมมีโอกาสได้นั่งดูรายการทีวีที่ไปสัมภาษณ์"เฮียนพ"ชายวัย 49 ปี ที่เป็นคนขายหมูปิ้งที่รวยที่สุดคนหนึ่งในวงการหมูปิ้งแล้วรู้สึกชื่นชม..
 
VVVNDX_SPLVEM
ชายคนนี้เคยเป็นหนุ่มโรงงานที่โดนเลิกจ้างจากพิษเศรษฐกิจ พอหลังตกงานก็มาเป็นรปภ. ขับแท็กซี่ กระทั่งขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง มีวินอยู่ในเพิงเล็กๆในพื้นที่แฟลตตำรวจย่านปากเกร็ด มีกลุ่มแม่บ้านที่แฟลตตำรวจซึ่งหมักหมูนุ่มเสียบไม้ส่งขายลูกค้ามักจะจ้างแกให้วิ่งไปส่งของให้เป็นประจำ ตอนนั้นลูกเมียอยู่ตจว.ตัวแกก็อาศัยเพิงเล็กๆข้างแฟลตเป็นที่หลับที่นอน ตอนหลังแกขอสูตรมาปิ้งขายเองเล็กๆ ทำไปทำมามีลูกค้ากินแล้วติดใจ เลยสั่งจากแกไปปิ้งขายต่อ กล่องหนึ่งมีหมู 100 ไม้ แกขายราคาไม้ละ 5.50 บาท คนไปปิ้งขายต่อขาย 10 บาท  
 
ปรากฎว่าออเดอร์เริ่มเยอะทำไม่ไหว แกก็ให้พี่สาวและกลุ่มแม่บ้านที่ให้สูตรแกมาช่วยกันทำหมู เสียบหมูอยู่แถวเพิงเล็กๆข้างแฟลตนั่นล่ะ ว่างๆแกก็ถือกล่องหมูเสียบไปตามตลาดต่างๆ เห็นใครขายลูกชิ้นปิ้ง ใส้กรอกปิ้ง แกก็เชียร์ให้เอาหมูแกไปปิ้งขายด้วย บอกว่าไม่ต้องลงทุนแถมผักสด แถมยังสามารถขายข้าวเหนียวคู่ได้กำไรอีกทาง คนก็ชิมแล้วอร่อยเลยซื้อของแกขาย  
 
ที่ผมชื่นชมแกไม่ใช่เรื่องการค้าขาย แต่เป็นเรื่องการบริหารรายได้ เพราะในช่วงแรกๆที่แกได้กำไรจากการส่งหมูปิ้ง แกก็เอาเงินกำไรไปใส่ตู้ฝากเงินทุกๆวัน โดยที่ไม่ได้เช็คเลยว่าไอ้ที่หยอดตู้ไปทุกวันรวมๆแล้วมีเท่าไหร่ จนกระทั่งผ่านไปไม่นาน พื้นที่เพิงเล็กๆข้างแฟลตมันไม่เพียงพอและทางแฟลตไม่ให้ใช้ที่แล้ว แกก็ไปเห็นว่ามีที่ดินบริเวณนั้นจะขาย แกก็มีความคิดอยากทำโรงงานเสียบหมู พอไปเช็คเงินดูที่แกสะสมไว้มีประมาณ 4 ล้านบาท แกก็ตัดสินใจซื้อที่ทำโรงงานท่ามกลางเสียงคัดค้านจากญาติพี่น้อง แต่แกเชื่อว่ามันจะไปได้ แกบอกว่าช่วงน้ำท่วมปี 54 คนอื่นหยุดหมด ผมยังทำต่อ ยิ่งทำให้ลูกค้าและแรงงานไหลจากเจ้าอื่นๆมาเข้าทางแกหมด โรงงานแกก็ทำให้ได้มาตรฐาน ได้รับการรับจากสาธารณสุข ก็ทำให้มีออเดอร์มากขึ้นเรื่อยๆจากทุกสารทิศ
VVVNDX_3ScIDN
 
ย้อนกลับไปตอนทำหมู เสียบหมูอยู่ในเพิงเล็กๆ จุดเริ่มต้นราวปี 2552 มีแม่ค้าหมูปิ้งที่มาสั่งหมูกับแกคนแรก สั่ง 10 กล่อง(1,000ไม้)แกก็ช๊อคแล้วครับ พอผ่านไปอีกวันคนเดียวกันนี้มาสั่งอีก 1 พันไม้ เพราะไอ้ที่สั่งเมื่อวานขายหมดแล้ว(หมูปิ้งขายทำเลชุมชนนี่ชั่วโมงเดียวร้อยสองร้อยไม้ก็หมดครับ) ตอนนั้นแกเลยเริ่มเห็นช่องทางว่าหมูปิ้งมันทำเงินได้ 
 
มีบางคนสั่งกับแกแล้วเอาไปใส่ยี่ห้อตัวเองแล้วไปส่งขายต่อเจ้าอื่นๆบวกกำไรกลางทางก็มี 
 
พอเข้าปี 2553 แกขายได้วันละราว 1 หมื่นไม้..!! 
 
ทุกวันนี้ปี 2558 ยอดขายหมูปิ้งสัปดาห์ละ 8 แสนไม้ เดือนละ 3 ล้านไม้!! 
 
ยอดขายต่อปี 200 ล้านบาท !!  มีลูกน้องเกือบ 100 คนทำงาน…
 
พิธีกรถามว่าทุกวันนี้จากที่ไม่มีบ้านนอน ต้องผูกเปลนอนในเพิง ตอนนี้คงซื้อบ้านเป็นของตัวเองแล้วใช่มั้ย? 
 
"แกบอกว่าทุกวันนี้ผมไม่ได้มีบ้านหลังโตแบบคนอื่นครับ  บ้านที่ผมยังอาศัยอยู่ก็หลังเล็กๆในโครงการบ้านเอื้ออาทร..!!"
 
สิ่งที่ผม(ผู้เขียน)ได้จากชายคนนี้คือ.. ไม่ว่ารายได้แกจะเพิ่มจากอดีตมากแค่ไหน แต่แกยังใช้ชีวิตแบบสมถะ ไม่โอเวอร์ ไม่ลอยลมไปกับรายได้ที่มี เก็บเงินมากกว่าใช้เงิน และใช้เงินเพื่อการต่อยอด นั่นเพราะวันหนึ่งแกเคย"ไม่มี" แกถึงรู้รสชาติของความจน และใช้ชีวิตแบบไม่ประมาททางการเงิน 
 
ขณะที่สังคมคนทำงานยุคนี้ หลายคนใช้ชีวิตอย่างประมาท รีบสร้างหนี้สร้างสินเกินตัว บางคนรายได้ต่อเดือน 100% หมดไปกับการผ่อนรถ ผ่อนบ้านถึง 70-80% เหลืออีก 20-30% ไว้กินไว้ใช้แทบไม่พอแต่ละเดือนอย่าว่าแต่เหลือเก็บ  บางคนมีรายได้ทางเดียวพอถูกเลิกจ้างก็ไม่มีเงินเผื่อชีวิตไว้ ทำให้ตกที่นั่งลำบาก 
 
มีคนถามผม(ผู้เขียน)ว่ารายได้มากขึ้นกว่าสมัยเรียนจบมาทำงานเป็นนักข่าวใหม่ๆ ทำไมยังอยู่บ้านเล็กๆทาวน์เฮาส์หลังเดิม ทั้งๆที่รายได้มีศักยภาพพอที่จะซื้อบ้านเดี่ยวหลังใหญ่ขึ้นอยู่อาศัย ผมบอกว่ากลัวผ่อนไม่ไหว(ไม่ใช่ตอนนี้ผ่อนไม่ไหว แต่ถ้าวันหนึ่งตกงาน หรือล้มหมอนนอนเสื่อแล้วมีหนี้ระยะยาวมันเหนื่อยไป)และอีกอย่างผมยังอยู่ได้สบายดีกับบ้านหลังเดิม ทุกวันนี้ผมพยายามรักษาหนี้คงที่ต่อเดือนไม่ให้เกิน 20% / ใช้จ่ายซัก 30% / อีก 40%คือเก็บไว้ / อีก 10% กันไว้ลงทุน และหากมีรายได้มากขึ้นอีก ผมก็จะพยายามใช้วิถีชีวิตเหมือนเดิมแบบที่"เฮียนพ"แกทำ ลืมรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้วจับยัดใส่แบงค์ซะ เผลอๆอนาคตผมอาจซื้อบ้านหลังใหญ่ขึ้นได้โดยไม่ต้องผ่อน(จะพยายาม..) 
 
ขอบคุณเนื้อหาดีๆและที่มาจาก บรรจง ชีวมงคลกานต์
 
[ads=center]
เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: