“สรรพากร” เล็งไล่บี้ผู้มีรายได้ แต่ไม่ยอมเสียภาษี ให้เข้าระบบภาษีทุกราย





สรรพากร ตั้งเป้าดึงผู้มีรายได้ แต่ไม่เสียภาษี เข้าระบบทั้งหมดภายใน 3 ปี เพื่อความเป็นธรรม ขู่มีฐานข้อมูลแน่น ตรวจสอบเชิงลึกได้ทุกราย

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ยอดการจัดเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2562 สามารถจัดเก็บได้เกินเป้าหมาย 9,310 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ตั้งแต่ปี 2555 ที่การจัดเก็บภาษีต่ำกว่าเป้าหมาย โดยมีบุคคลธรรมดาเข้ามาในระบบการเสียภาษีแล้วประมาณ 11 ล้านราย ส่วนนิติบุคคลเข้ามาในระบบการเสียภาษีประมาณ 400,000 ราย

อย่างไรก็ตามยังพบว่า มีบุคคลที่มีรายได้แต่ยังไม่เข้าสู่ระบบการเสียภาษีอีกจำนวนมาก แบ่งเป็นบุคคลธรรมดาประมาณ 3-4 ล้านราย และนิติบุคคล โดยเฉพาะรายเล็กประมาณ 2 แสนราย ซึ่งอธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า ขอให้เข้าสู่ระบบการเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรม โดยกรมฯจะใช้ทั้งไม้อ่อนไม่แข็งเพื่อให้ผู้มีรายได้เข้าสู่ระบบการเสียภาษี ทั้งการทำให้เรื่องการชำระภาษีเป็นเรื่องง่าย และการใช้มาตรการเข้ามาจัดการ เนื่องจากกรมสรรพากรมีฐานข้อมูลของผู้มีรายได้ของทุกคน อย่าคิด

ทั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากร ระบุว่า สัดส่วนการจัดเก็บภาษีปัจจุบันมาจากผู้เสียภาษีรายใหญ่ ที่มีรายได้เกิน 2,000 ล้านบาท มีประมาณ 2,000 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.46 ของผู้เสียภาษีทั้งหมด 4-5 แสนราย แต่คิดเป็นสัดส่วนการจัดเก็บภาษีร้อยละ 64 ของยอดภาษีทั้งหมด หรือ 242,000 ล้านบาท ขณะที่รายกลางธุรกิจที่มีรายได้ 500-2,000 ล้านบาท มีประมาณ 5,900 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ของนิติบุคคล 460,000 ราย โดยมียอดการจัดเก็บภาษี 55,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15 ของยอดภาษีทั้งหมด 

“อย่าคิดว่าจะหลบกรมสรรพากรได้ เพราะเรามีข้อมูลมากขึ้นมากจัดการคนโกงนอกระบบ ยืนยันว่าการขยายฐานภาษีของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ไม่ได้เป็นการไล่บี้รายเล็ก เพียงแต่อยากให้เข้าระบบอย่างถูกต้อง โดยตั้งเป้าที่จะดึงบุคคลธรรมดา 14 ล้านราย และนิติบุคคล 600,000 ราย เข้าสู่ระบบการเสียภาษีทั้งหมดภายใน 3 ปี โดยในสัปดาห์จะมีการหารือร่วมกับ IMF เพื่อหาแนวดึงกลุ่มที่ยังไม่เสียภาษีเข้าระบบมากขึ้น” นายเอกนิติกล่าว

ข่าวจาก voicetv

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: