สุดยอดนวัตกรรมอุโมงค์ยักษ์ “คัสสึคาเบะ” ที่ญี่ปุ่นทุ่มแสนล้านสร้างไว้เมื่อ20 ปีก่อน รับมือ “ฮากิบัส” หลังจากผ่านพ้นไปแล้ว





ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส (Hagibis) พายุที่อาจจะมีความรุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ กำลังเข้าซัดถล่มทางตะวันออกและตอนกลางของประเทศญี่ปุ่น สถานการณ์น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมากทั้งลม ทั้งฝนตกหนัก ทางหน่วยงานรัฐมีการเตรียมแผนรับมืออย่างเป็นระบบอย่างดี 

ซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮากิบิส (Hagibis)

 

ทางด้านเพจ ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น ก็ได้นำเสนอภาพอุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะ ของญี่ปุ่น ที่ทุ่มงบกว่า 1 แสนล้านสร้างขึ้นมา วันนี้อาจจะได้ใช้ประโยชน์จริงๆ โดยทางเพจระบุว่า….

       

วันนี้ การต่อสู้ครั้งยิ่งใหญ่ ของระบบอุโมงค์ยักษ์ “คัสสึคาเบะ” แห่งญี่ปุ่นกับเจ้าไต้ฝุ่นยักษ์ “ฮากิบิส” ได้เริ่มขึ้นแล้ว!และนี่คือคำตอบที่รอมานานกว่า 20 ปี ว่า ทำไมคนญี่ปุ่นถึงต้องลงทุนมหาศาลกว่า 3 แสนล้านเยน หรือ เกือบ 1 แสนล้านบาท เพื่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินขนาดยักษ์ นามว่า “Metropolitan Area Outer Underground Discharge Channel” ด้วยเวลากว่า 8 ปี โดยเริ่มสร้างปี 1992 แล้วเสร็จในปี 2000 หรือเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา

 

อุโมงค์กลางยาว 6.3 กิโลเมตร เชื่อมน้ำจากแม่น้ำสายเล็ก ๆ ที่จะไหลลงมาในไซโล โดยแต่ละแท่ง มีความสูงประมาณ 70 ม. และกว้าง 30 ม. ดังนั้นจึงสามารถบรรจุ กระสวยอวกาศ หรือ รูปปั้นเทพีเสรีภาพได้อย่างสบายๆ จากนั้น น้ำจะถูกปั้มผ่านอุโมงค์น้ำใต้ดินกว้าง 10 เมตร วิ่งไปตามทางหลวงหมายเลข 16 ยาวไปยังแท็งค์กักเก็บน้ำในเขตคาซุกะ ที่มีขนาดกว้าง 78 เมตร ยาว 177 เมตร สูง 18 เมตร ที่ดูแล้วเหมือนภายในมหาวิหาร หรือ ถ้ำมอเรียจากหนังเรื่อง Lord of the ring หลังจากนั้นน้ำจะถูกปั้มลงแม่น้ำเอโดะ เพื่อปล่อยลงสู่อ่าวโตเกียวต่อไป และนี่คือผลงานด้านวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม และแน่นอนว่าวิศวกรจากทั่วทุกมุมโลกต้องมาดูงานที่นี่

 มาดูกันครับว่า วันนี้เจ้าอุโมงค์ยักษ์ “คัสสึคาเบะ” จะรับมือ เจ้าฮากิบิส ได้มากแค่ไหน กัมบัตเตะกุดาไซ คัสสึคาเบะ

อุโมงค์ยักษ์คัสสึคาเบะอุโมงค์กลางยาว 6.3 กิโลเมตร

วิศวกรจากทั่วทุกมุมโลกต้องมาดูงานที่นี่

สุดยอดมาก 

ใหญ่มาก 

 

สมกับที่เป็นญี่ปุ่น สร้างมากว่า 20 ปีแล้ว เพื่อไว้รับมืองกับภัยพิภัติแบบนี้แหละ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: