สอวช.ตั้งเป้า20ปี ไทยใช้รถพลังงานไฟฟ้า100%





หลังจากรัฐบาลประกาศนโยบายให้ประเทศไทยเป็น “ฮับ หรือ ศูนย์กลางยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน” พร้อมทั้งมีนโยบายสนับสนุนด้านต่างๆ รวมไปถึงส่งเสริมให้อุตสาห กรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคตอย่างไรก็ดี นโยบายดังกล่าวยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน

สํานักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในฐานะหน่วยงานนโยบายที่มีภารกิจผลักดันให้เกิดการวิจัยและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศ ได้จับมือกับ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ,กรมวิทยา ศาสตร์บริการ (วศ.) ,สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) และสํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) จัดทำ (ร่าง) สมุดปกข่าวเรื่อง “การส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่”

 

ภายใต้(ร่าง)สมุดปกข่าว มีเป้าหมายที่ได้ข้อสรุปร่วมกัน ประกอบด้วยการเพิ่มสัดส่วนการจําหน่ายยานยนต์ที่ปล่อยไอเสียตํ่า (Low Emission Vehicle : LEV) และมุ่งไปสู่ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Zero Emission Vehicle : ZEV) ได้แก่ Battery Electric Vehicles, และ Hydrogen Fuel Cell Vehicles โดยกําหนดไว้ภายใน 20 ปี หรือในปี 2040 การจําหน่ายยานยนต์ใหม่จะเป็น ZEV 100% ของจํานวนรถที่มีการจําหน่ายในประเทศ และต้องมีหัวจ่ายไฟฟ้าสาธารณะที่เข้าถึงได้จํานวน 4 หมื่นแห่งทั่วประเทศ

“เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ของไทยอย่างเป็นรูปธรรม และมีเป้าหมายชัดเจน สอวช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เสนอ(ร่าง)ปกขาวออกมา ซึ่งร่างดังกล่าวได้กําหนดมาตร การและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ หรือ PM2.5 ที่มาจากการคมนาคมขนส่ง และการเพิ่มความปลอดภัยบนท้องถนนในประเทศไทยในอีก 20 ปี ซึ่งจะนําไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หรือ Next-Generation Automotive รวมไปถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องด้าน Autonomous, Connected, Electric, Shared Vehicles (ACES)” ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อํานวยการ สอวช. กล่าว

ปัจจุบันไทย (ปี2561)มียอดจดทะเบียนรถที่ไม่ปล่อยมลพิษ หรือ ZEV ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล, รถไฟฟ้าแบตเตอรี่ , รถจักรยานยนต์ 2 ล้อไฟฟ้าแบตเตอรี่ รวมกันตํ่ากว่า 1% ของยานยนต์ที่จําหน่ายทั่วประเทศ ขณะที่เป้าหมายการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (Electric vehicle) ที่รัฐบาลได้ประกาศก่อนหน้านั้นจะมีรถยนต์ประเภทปลั๊ก-อินไฮบริด (PHEV) และประเภทแบตเตอรี่ (BEV) รวมกัน 1.2 ล้านคัน ภายในปี 2036

 

 

ด้าน ดร.ยศพงษ์ ลออนวล นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เปิดเผยว่า (ร่าง)สมุดปกข่าว ที่สอวช.ได้นำเสนอมาโดยมีหัวข้อที่สำคัญคือในปี 2040 หรืออีก 20 ปีข้างหน้ารถยนต์ใหม่ที่จะขายทั้งหมดจะต้องเป็นรถ ZEV 100% หรือรถที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะปัญหาเรื่องมลพิษ, สิ่งแวดล้อมหรือความปลอดภัยบนท้องถนน เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ประกอบกับแนวทางดังกล่าวยังสอดคล้องกับต่างประเทศที่ประกาศนโยบายยกเลิกการผลิตเครื่อง ยนต์สันดาปภายใน เริ่มตั้งแต่ นอร์เวย์ ภายในปี 2025 ,เนเธอร์ แลนด์,เ ยอรมนี, อินเดีย, สวีเดน ภายในปี 2030 และฝรั่งเศส, อังกฤษ จะยกเลิกในปี 2040

“หากมองจากเทรนด์โลก รถยนต์แบบ ZEV 100% ในไทยอาจจะเกิดได้เร็วกว่าปี 2040 เพราะตอนนี้ราคารถยนต์ไฟฟ้าเริ่มถูกลง ยกตัวอย่าง เอ็มจี แซดเอส อีวี ที่ทำราคาได้ 1.190 ล้านบาท ถือว่าต้นทุนเริ่มถูกลง ซึ่งอนาคตราคาของรถยนต์ไฟฟ้าก็ไม่น่าจะแตกต่างจากรถยนต์ที่เป็นเครื่องยนต์ปกติสักเท่าไรนัก นอกจากนั้นแล้วแนวทางที่นำเสนอไม่ได้จำกัดว่าจะเป็นเฉพาะรถอีวี แต่ยังมีอีกหลายแบบ อาทิ Hydrogen Fuel Cell ซึ่งรถที่เหมาะสมคือกลุ่มรถบรรทุก อย่างไรก็ตามการได้มาของไฮโดรเจนและการสร้างสถานีอาจจะต้องศึกษา”

ดร.ยศพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวทางดังกล่าวจะมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่กรอบระยะเวลาที่สอวช.ได้แจ้งมาจะช่วยให้เอกชนมีการเตรียมความพร้อม ทั้งในส่วนของผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่, รายย่อย, รวมถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เกี่ยวเนื่องทั้งหมด

 

 

“ค่ายรถที่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ ก็จะมองว่ามันเป็นโอกาส ส่วนที่ไม่เห็นด้วยก็ต้องมาดูว่าไม่เห็นด้วยเพราะอะไร หรือ บริษัทอาจจะยังไม่เห็นโอกาสและนโยบายของภาครัฐที่ชัดเจน  ด้านการปรับตัวหรือการเตรียมความพร้อมของผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้น ในช่วงที่ผ่านมาก็มีการพูดคุยกันหลายครั้งเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากมียานยนต์สมัยใหม่เข้ามา ซึ่งผู้ผลิตจะต้องเตรียมตัวอย่างไร ปรับตัวอย่างไร และจะมีเวลาให้เขาเท่าไร  และโดยส่วนตัวเชื่อว่า อุตสาหกรรมยานยนต์พร้อมจะปรับตัว หากนโยบายภาครัฐมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อประเทศร่วมกัน”

ข่าวจาก หน้า 2 ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3508 วันที่ 26-28 กันยายน 2562

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: