รัฐบาลท้องถิ่นอินเดียอนุมัติสร้าง “ไฮเปอร์ลูป” ใช้งบ3แสนล้าน วิ่ง100โล ถึงใน20นาที





หนึ่งในเส้นทางการขนส่งที่พลุกพล่านที่สุดของอินเดีย กำลังได้รับการยกระดับแบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลังรัฐบาลท้องถิ่นแถลงเปิดตัวโครงการไฮเปอร์ลูป (ระบบขนส่งแคปซูลที่เดินทางผ่านท่อสุญญากาศงบประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ (ราว 3 แสนล้านบาทซึ่งคาดหมายว่าจะเป็นแห่งแรกๆ ของโลก ขณะที่มันจะพาผู้โดยสารจากเมืองมุมไบถึงเมืองปูเน ระยะทาง 117.5 กิโลเมตร ในเวลาเพียงแค่ 23 นาที

คณะรัฐมนตรีของจังหวัดมหาราษฏระอนุมัติโครงการงบระมาณ 70,000 โครรูปี (ราว 10,000 ล้านดอลลาร์ระหว่างการประชุมเมื่อวันอังคารที่ผานมา โดยมีเป้าหมายช่วยคลี่คลายความแออัดด้านการเดินทางระหว่างสองเมืองหลักดังกล่าว ซึ่งในแต่ละปีในเส้นทางนี้จะมีประชาชนสัญจรไปมาถึงราวๆ 75 ล้านคน

โครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคสมัยใหม่แห่งภาคการขนส่งของประเทศ” รัฐบาลแห่งรัฐระบุในถ้อยแถลงที่เผยแพร่เมื่อช่วงเย็นวันพุธ

สำหรับ ไฮเปอร์ลูป” คือระบบรางความเร็วสูงที่ปล่อยแคปซูลโดยสาร แล่นผ่านท่อสุญญากาศที่ไร้แรงเสียดทานภายใต้การขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โดยมันสามารถทำความเร็วได้สูงสุด 1,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเลยทีเดียว

องค์การพัฒนาภูมิภาคนครหลวงปูเน (PMRDA) จะเป็นผู้ดูแลโครงการนี้ ซึ่งคาดหมายว่าเงินทุนส่วนใหญ่นั้นจะมาจากผู้ลงทุนต่างชาติ ด้วย ดีพี เวิลด์ ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เวอร์จิน ไฮเปอร์ลูป วัน ได้ลงนามสำหรับการมีส่วนร่วมแล้ว แต่โครงการนี้จะเปิดรับผู้เสนอราคารายอื่นๆ เพิ่มเติม

โครงการก่อสร้างไฮเปอร์ลูปครั้งนี้จะแบ่งเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจะมีระยะทาง 11.8 กิโลเมตร จากเมืองกาฮันเจถึงเมืองอุสเส คาดหมายว่าจะแล้วเสร็จใน 2 ปีครึ่ง ใช้งบประมาณราวๆ 5,000 โครรูปี (ราว 22,000 ล้านบาท)

ความยาวของช่วงนี้ ผมเลือกมันในฐานะเป็นรางทดสอบ สืบเนื่องจากเราอาจประสบกับความท้าทายทางเทคนิคต่างๆ นานาบนรางพิเศษระหว่างนี้” เจ้าหน้าที่รายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับไทมส์ออฟอินเดีย

หากไฮเปอร์ลูประยะแรกประสบความสำเร็จระยะทางที่เหลือระหว่างย่านธุรกิจบันดราเคอร์ลาในมุมไบ สู่เขตวากัดในเมืองปูเนจะแล้วเสร็จในราวๆ 6 ถึง 8 ปีถัดไป และหากทุกอย่างดำเนินไปตามแผน อินเดียจะกลายเป็นชาติผู้บุกเบิกไฮเปอร์ลูปลำดับต้นๆ ของโลก

ข่าวจาก mgronline, positioningmag

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: