ส่องกลุ่มอาชีพ “รุ่ง-ร่วง-ต้องระวัง” ในโลกธุรกิจยุคAI “หมอ-ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน-นักขาย”ยังมาแรง!





คอลัมน์ ช่วยกันคิด โดย ดร.ศุภชัย สุขะนินทร์

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลอย่างกว้างไกล การงานอาชีพของคนไทยในอนาคตก็เช่นกัน หลากหลายอาชีพจำเป็นต้องเรียนรู้ และเตรียมรับมือก่อนที่จะเป็นฝ่ายถูก disrupt จนไร้ที่ยืน

แต่ในทางตรงกันข้ามก็จะมีอาชีพที่รุ่ง หรือเติบโตมากในอนาคต จะมีกี่อาชีพที่ไม่ถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ ที่จะถูกนำมาใช้ในการทำงานปริมาณมากและเป็นงานประจำซ้ำ ๆ ทั้งหลาย มันคืองานประเภทที่ต้องใช้ทักษะสูง งานของมืออาชีพ หรืองานเฉพาะทาง พวกนี้จะถูก disrupt ได้ยาก

กลุ่มแรก แน่นอน เป็นกลุ่มของหมอซึ่งเป็นที่ต้องการในอนาคต เป็นอาชีพที่ใช้ความเชี่ยวชาญสูง มีแนวโน้มที่งานจะมากขึ้น เพราะอายุขัยเฉลี่ยของคนมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ รวมถึงอาชีพที่ดูแลอาหารการกินให้ถูกสุขลักษณะ หรือแม้แต่ดูแลผู้สูงอายุให้มีอายุยืน อย่างการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือการสร้างอวัยวะเทียม รวมถึงนักผ่าตัดระยะไกล เมื่อแพทย์มีจำนวนจำกัด ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นในลักษณะต่าง ๆ เช่น ในพื้นที่ทุรกันดาร หรืออาจเกิดขึ้นในขณะเดินทาง

ปัจจุบันเกิดขึ้นแล้วที่ประเทศจีน เคยไปเห็นที่เสิ่นเจิ้น ขณะที่ไทยอยู่ในขั้นทดลอง จะเดินหน้าได้อย่างสมบูรณ์อาจต้องรอถึงปี 2020 ที่ 5G จะมาถึง เพราะการผ่าตัดแบบนี้ต้องใช้ข้อมูลความเร็วค่อนข้างสูง

มาต่อที่ กลุ่มที่ 2 เป็นอาชีพกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างเช่น อาชีพทนายความ ทนายต่างจากศาล ทนายจะต้องมีข้อมูลกฎหมาย ต้องหาข้อมูลเอง บางครั้งที่คิดว่าค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้ แต่จริง ๆ แล้วก็ต้องดูจากหน้าตาอีก หรือแม้แต่การถ่ายรูป หุ่นยนต์ก็สามารถถ่ายได้ แต่จะไม่มีอีโมชั่น ความรู้สึกเข้ามาร่วม หรือการตัดต่อวิดีโอ หุ่นยนต์ก็สามารถทำได้ แต่สิ่งที่หุ่นยนต์ไม่มี คือ ความสร้างสรรค์

เช่นเดียวกับอาชีพนักเขียนก็ยังจะคงอยู่ แม้ว่าแพลตฟอร์มของพวกเขาจะเปลี่ยนไป ถัดมาเป็นสถาปนิกงานออกแบบที่ยังไงก็ยังต้องใช้คน

กลุ่มที่ 3 คือ อาชีพนักขาย ถึงแม้ปัจจุบันจะมีเครื่องมือมากมายสำหรับการสนองตอบอย่างทันท่วงทีกับลูกค้าอย่าง chatbot เข้ามาช่วยให้ความกระจ่างด้านสินค้าและบริการแก่ลูกค้า แต่ chatbot ก็เป็นได้แค่ผู้ช่วยในระดับพื้นฐานเท่านั้น

แต่ที่สุดแล้ว การขายที่ดีที่จะสามารถปิดการขายได้ก็จะต้องใช้ศาสตร์ และศิลป์ ซึ่งสั่งสมเป็นประสบการณ์ ถึงจะขายผ่านไปได้ด้วยดี แบบนี้หุ่นยนต์ทำเองไม่ได้

ต่อมาเป็นอุตสาหกรรมอาหาร ในปัจจุบันแม้จะเริ่มแพร่หลายมากขึ้นในลักษณะ robot cafe ที่ส่งผลให้พนักงานจำนวนหนึ่งตกงานก็ตาม แต่ก็ยกเว้นไว้สำหรับพวกที่ทำอาหารบนความแตกต่าง ตกแต่งอาหาร พวกนี้จะใช้ robot ไม่ได้

ทั้งหมดนั้นอาจจะแค่อยู่ได้ อยู่รอด ไม่ตาย แต่กลุ่มที่มีอนาคตบนความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น คือ กลุ่มคนที่เดินในเส้นทางเทคโนโลยีทั้งหลาย เช่น โปรแกรมเมอร์ engineer app develop หรือ python ภาษาของ AI การเขียน ux/ui อาชีพพวกนี้ไม่ตกงานแน่นอน แถมต้องการมากขึ้นอีกด้วย

อีกหมวดหนึ่งคือ เรื่องการศึกษา ฝึกอบรมเฉพาะด้าน คอร์สสั้นได้ผลเร็ว เช่น คอร์สถ่ายภาพ หรืออื่น ๆ ที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์จริง ซึ่งยังเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ทั้งนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนอยู่บ้าง จัดทำหลักสูตรออฟไลน์ให้ไป convert อยู่บนโลกออนไลน์ได้ จะเป็นที่ต้องการมากในอนาคต หรืออาชีพประเภทที่พาไปดูโรงเรียน หรือพาไปเรียนซัมเมอร์

อีกอาชีพที่มีแนวโน้มรุ่ง คือ VR design พวกทำภาพ 3 มิติ ในปัจจุบันจะเห็นใน property เยอะ แล้วยังทำพวกเกมได้อีกด้วย อาชีพนี้ต้องการมากในอนาคต สุดท้ายที่ขาดไม่ได้ คือ task engineer คนมากขึ้น เยอะขึ้น ขยะจะเยอะขึ้นในอนาคต ทั้งขยะและพลังงานจะมีเยอะ ซึ่งพวกนี้ทั้งหมดจะเป็นเรื่องของ smart city หรือ AI

ขณะที่อาชีพที่เกี่ยวเนื่องในด้านการเกษตรจะถูกท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่เปลี่ยนแปลง การใช้เทคโนโลยีอย่างโดรนมาช่วยในการทำการเกษตร หรือการใช้ระบบควบคุม เช่น น้ำ อากาศ การนำระบบจีพีเอสมาใช้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ และปรับตัวก่อนที่จะสายเกินไป

ข่าวจาก ประชาชาติธุรกิจ
ภาพจาก deccanchronicle

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: