ประธานศาลฎีกา ระบายความในใจ ‘ไม่สามารถตัดสินทุกคดีให้ใครพอใจ ไม่เห็นด้วยก็ไปแก้กติกา’





ประธานศาลฎีกา ระบายความในใจ ศาลตัดสินมีทั้งคนพอใจ-ไม่พอใจ เป็นตุลาการต้องอดทน ชี้ ถ้าทุกคนไม่ยอมรับกติกาจะเกิดความวุ่นวาย ถ้าไม่เห็นด้วยต้องเเก้กติกาก่อน ถึงเเก้เเล้วก็ต้องมีคนเเพ้ชนะไม่สามารถสร้างพึงพอใจกับทุกฝ่ายไม่ว่าที่ใดในโลก

08.00 น. วันที่ 26 เม.ย. ที่ชั้น 9 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ร่วมกับผู้เข้ารับอบรม หลักสูตร “ผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง”รุ่นที่ 23 จัดสัมมนาสาธารณะเรื่อง “มองกัญชาให้รอบด้าน” ซึ่งการสัมมนาสาธารณะในครั้งนี้ มี นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดงาน ขณะที่ นายประสงค์ พูนนธเนศ ประธานผู้เข้ารับการอบรมฯ เป็นผู้กล่าวรายงาน ซึ่งมี ดร.จิตติ จั้งสิทธิภักดี ประธานกรรมการหอการค้าไทย-จีน กล่าวต้อนรับ

ส่วนผู้ร่วมวงเวที สัมมนาสาธารณะครั้งนี้ ประกอบด้วย นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาการทคโนโลยี่ชีวภาพทางเกษตรแห่งชาติ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รวมทั้ง นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ  โดยมี พลตำรวจตรี พรชัย สุธีรคุณ รองนายแพทย์ใหญ่ (สบ7) โรงพยาบาลตำรวจ เป็นผู้ดำเนินรายการ และร่วมสัมมนา

นายชีพ จุลมนต์ ประธานศาลฎีกา กล่าวว่า การสัมมนาสาธารณะเรื่องของกัญชาให้รอบด้านในวันนี้สืบเนื่องมาจากการแก้ไข พรบ.ยาเสพติดให้โทษการแก้ในหลักการและออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการนำกัญชามาใช้ในการวิจัยและการแพทย์ไทยนับว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของประเทศไทยจุดหนึ่ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องมีการปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อตอบรับกฎหมายใหม่ฉบับนี้

การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเพราะระบอยาเสพติดฉบับใหม่ทำความเข้าใจหลักการและเหตุผลในการปรับแก้กฎหมายผลกระทบและเตรียมความพร้อมในทางปฏิบัติของทุกภาคส่วนเพื่อให้สอดรับกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ร่วมเสวนาและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน

นอกจากนี้ นายชีพ อย่างกล่าวอีกว่า ตนได้กล่างเปิดสัมมนา ตามที่ได้รับมอบหมายแล้ว อย่างไรก็ตามการสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นโดยผู้ที่รับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูงรุ่นที่ 23 ซึ่งมีศาลยุติธรรมเป็นเจ้าของหลักสูตรซึ่งเดิมทีเดียวตนเข้าใจว่าผู้ร่วมสัมมนาในวันนี้มีเฉพาะผู้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรเท่านั้น

ซึ่งตนมีอะไรในใจหลายอย่างที่จะมาพูดกับผู้เข้ารับการอบรมเพราะว่าตั้งแต่เปิดการอบรมในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาตนก็ไม่ได้มีโอกาสได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแต่เมื่อทราบว่าวันนี้มีผู้สนใจไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการอีกมากมายความในใจที่อยากจะพูดก็คงพูดไม่ได้ เพราะเป็นที่สาธารณะ ยิ่งทราบจากผู้จัดว่ามีการถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ ก็ต้องระมัดระวังตัวมากขึ้น

เหตุผลเพราะว่าถ้าสังเกตดูจะเห็นว่าผู้พิพากษาหรือตุลาการ จะมีวัฒนธรรมที่จะไม่พึงพูดในที่สาธารณะ เราจะไม่ออกความเห็นในเรื่องต่างๆนาๆแม้ว่าสังคมบางส่วนจะวิพากษ์วิจารณ์เราก็ตาม ศาลยุติธรรมเราจะให้เหตุให้ผลในคำพิพากษาวินิจฉัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครบถ้วนหมดแล้ว เราจะไม่มาพูดในที่สาธารณชน

แต่ตนก็อยากจะพูดอะไรบางอย่าง แม้ว่าจะมีการถ่ายทอดสดก็ตาม แต่จะพูดด้วยความระมัดระวัง

หัวข้อมองกัญชาให้รอบด้านนั้นประเทศไทยเราให้ความสำคัญกับกัญชาเนื่องจากมีความรู้ความเข้าใจความเชื่อว่ากัญชาจะเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้ในการรักษาโรครักษาชีวิตให้อยู่นาน

ทุกท่านย่อมทราบว่า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องตาย เเค่ถ้าเรามองกัญชาเป็นยาที่มีประโยชน์กับชีวิตที่จะทำให้ตายช้า มนุษย์เรามีสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องอยู่สองอย่างก็คือ หมอกับศาล ที่ตนต้องพูดแบบนี้เนื่องจากในยุคปัจจุบันคนเราเวลาคลอดก็หนีไม่พ้นมือหมอที่โรงพยาบาล สิ่งที่สองที่ทุกคนต้องหลีกเลี่ยงไม่พ้นก็คือศาล จะเห็นว่าทุกท่านที่อยู่ในห้องนี้ หรืออยู่ข้างนอก เมื่อถึงแก่ความตายแล้ว มีสมบัติที่ต้อง จัดการมรดก ซึ่งจะต้องมีคำสั่งศาล ตั้งเป็นผู้จัดการมรดก บางคนอาจจะใช้บริการศาลก่อนที่จะตาย

สำหรับศาล เมื่อคนที่เขารู้สึกว่าเขาได้รับความเสียหายโดยการกระทำของใครก็จะมาศาลในลักษณะที่เป็นโจทก์ การตัดสินคดีของศาลทุกคดีก็จะต้องมีฝ่ายชนะและฝ่ายใดแพ้ฝ่ายหนึ่ง ทุกคนคงคุ้นเคยกับคำว่าขอความเป็นธรรมอยากได้รับความเป็นธรรมจากศาล ซึ่งความเป็นธรรมของผู้พูดไม่ว่าในฐานะโจทก์หรือจำเลยก็คือเขาจะต้องชนะคดี ศาลไม่สามารถให้ทั้งโจทก์และจำเลยชนะคดีได้พร้อมพร้อมกันผู้ที่ชนะคดีก็พึงพอใจ ผู้ที่แพ้คดีก็ไม่พึงพอใจเป็นเรื่องธรรมดาเราไม่สามารถทำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายชนะทั้งคู่ ไม่ว่าศาลที่ไหนในโลกนี้

ตนได้มีโอกาสไปเยือนประเทศต่างๆ ตามคำเชิญของประธานศาลฎีกา แต่ละประเทศ ซึ่งประเทศที่ปกครองในระบอบสังคมนิยมจะเรียกผู้นำศาลว่าประธานศาลประชาชนสูงสุด ส่วนที่ปกครองโดยทุนนิยม เสรีนิยม สังคมนิยม ก็มีศาลเป็นผู้ตัดสินคดีเป็นแบบนี้ทั่วโลก มีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ เหมือนกัน

ตนอยากเรียน ให้ทุกคนทราบที่มาร่วมสัมมนาว่า เมื่อศาลได้มีคำวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็นคำพิพากษา หรือ คำสั่งฝ่ายที่ชนะคดีก็จะมีความพึงพอใจว่าได้รับความเป็นธรรมฝ่ายที่แพ้คดีก็จะบอกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และ คนเดียวกันเวลาที่มาใช้บริการศาลถ้าชนะคดี ก็จะยิ้มออกไปจากศาลแต่คนคนนั้น เมื่อมาใช้บริการศาลในคดีอื่น ถ้าแพ้ก็จะเดินออกไปและพูดออกมาดังๆว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม ศาลเราก็จะถูกต่อว่าหรือสังคมก็จะกังขาอย่างนี้ตลอด

แต่เราไม่มีทางทำเป็นอย่างอื่นได้เราจะให้ชนะคดีทั้งสองฝ่ายก็เป็นไปไม่ได้ ศาลเราไม่มีส่วนได้เสียกับใคร ศาลเป็นองค์กรที่ตั้งรับเราไม่ได้ทำงานในเชิงรุกเราจะทำงานต่อเมื่อมีผู้นำคดีมาฟ้องต่อศาล เราถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่ให้ความเป็นธรรมถูกวิพากษ์วิจารณ์ จากผู้ที่แพ้คดีทุกครั้ง ที่มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ศาลก็จะมีคำถามตามมาว่าศาลไม่ทำอะไร หรือ มีปฏิกิริยาบ้างหรืออย่างไร หรือว่าไม่รู้ร้อนรู้หนาว สังคมจะเข้าใจผิดเราหรือไม่

ในฐานะที่ตนเป็นผู้พิพากษา คนหนึ่งในฐานะผู้นำองค์กร ผมก็บอกว่า เราไปโต้ตอบเขาไม่ได้หรอก เค้าจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร เราก็ต้องอดทน เราจะพูดอย่างไร คนที่เขาแพ้คดี เขาก็ไม่มีทางเห็นด้วยกับเรา ไม่มีประโยชน์ ที่จะไปพูดโต้ตอบ ก็จะกลายเป็นคู่กรณี ซึ่งศาลไม่เคยเป็นคู่กรณีกับใคร เรามีหน้าที่ชี้ขาดให้คู่กรณีที่นำคดีขึ้นมาสู่ศาล

“เราเป็นผู้ใหญ่คนที่วิพากษ์วิจารณ์ เราเป็นเด็กกว่า เราคำว่าเป็นเด็กไม่ได้ หมายความว่าอายุน้อยกว่าเราแต่การวัดว่าใครเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้วัดที่อายุ ไม่ได้วัดที่ตำแหน่งหน้าที่ แต่วัดที่ความอดทน ไม่ต้องไปทะเลาะกับเขา เรารอว่าเมื่อไหร่เขาจะมาขึ้นศาลเท่านั้นเอง เราก็จะให้ความเป็นธรรมกับเขาเหมือนทุกๆคน ผมเคยพูดกับผู้พิพากษาว่าดูเกมฟุตบอลถ้าเราลงไปไล่ฟุตบอลกลางสนามเราจะเหนื่อย รอยิงลูกโทษอย่างเดียว ง่ายกว่าเยอะบอลวางอยู่เฉยๆประตูกว้างๆเราเตะเข้าโกล์ง่ายกว่า”

“เราเป็นผู้ใหญ่คนที่วิพากษ์วิจารณ์ เราเป็นเด็กกว่า เราคำว่าเป็นเด็กไม่ได้ หมายความว่าอายุน้อยกว่าเราแต่การวัดว่าใครเป็นผู้ใหญ่ ไม่ได้วัดที่อายุ ไม่ได้วัดที่ตำแหน่งหน้าที่ แต่วัดที่ความอดทน ไม่ต้องไปทะเลาะกับเขา เรารอว่าเมื่อไหร่เขาจะมาขึ้นศาลเท่านั้นเอง เราก็จะให้ความเป็นธรรมกับเขาเหมือนทุกๆคน ผมเคยพูดกับผู้พิพากษาว่าดูเกมฟุตบอลถ้าเราลงไปไล่ฟุตบอลกลางสนามเราจะเหนื่อย รอยิงลูกโทษอย่างเดียว ง่ายกว่าเยอะบอลวางอยู่เฉยๆประตูกว้างๆเราเตะเข้าโกล์ง่ายกว่า”

“กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฏหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ไว้ฝ่ายบริหารมีหน้าที่ ทำอะไรนิติบัญญัติมีหน้าที่ทำอะไร ศาลมีหน้าที่ทำอะไร องค์กรต่างๆตามรัฐธรรมนูญมีหน้าที่ทำอะไร ทุกอย่างเขียนไว้ในกฎหมาย แต่คนไทยสังคมไทยเรา ไม่ยอมรับองค์กร ที่มีอำนาจหน้าที่ ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ก็ดี ตามที่กฎหมายต่างๆบัญญัติไว้ก็ดี

เมื่อเขาได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วถ้าไม่ถูกใจคนไทยเราส่วนหนึ่ง ไม่ยอมรับ แล้วสังคมจะอยู่ได้อย่างไร ถ้าเราไม่ยอมรับ ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ มันก็ต้องใช้กฎหมายเถื่อนความป่าเถื่อน ใช้ความพึงพอใจส่วนตัว และ สังคมก็จะไม่สงบสุข ความจริงแล้วไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยอย่างเดียวที่เป็นอย่างนั้น ถ้าติดตามข่าวทั่วโลกในปัจจุบัน แม้ประเทศที่อ้างว่าตัวเองเป็นประเทศที่ศรีวิไลหรือเจริญแล้วแต่เมื่อไม่พอใจ “รัฐฐะ” ก็ออกมาก่อความวุ่นวายมากมาย ไม่ใช่มีเฉพาะประเทศไทย” นายชีพ กล่าว

“ผมเลยอยากจะฝากตรงนี้ถ้าเราไม่ยอมรับกติกาไม่ว่ากติกาใดๆทั้งสิ้น มันก็วุ่นวายถ้าเราไม่เห็นด้วยกับกติกา ก็ต้องแก้กติกาก่อน ซึ่งไม่ว่าจะแก้กติกาอย่างไร เมื่อวินิจฉัยหรือตัดสินออกมาแล้วก็ไม่มีทางที่จะพึงพอใจได้ทุกฝ่ายที่ไหนในโลกนี้ก็เป็นอย่างนี้” ประธานศาลฎีกา กล่าวปิดท้าย

ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: