ข้อคิดเตือนใจ…ชีวิตจะมีความสุขได้ ถ้าไม่พยายามเอาชนะคนโง่4ประเภทนี้!





 

ปล่อยคนโง่ ให้เป็นไปตามกรรม ก่อนอื่น มาดูกันว่ายังไงบ้างที่เรียกได้ว่า “โง่”

 

 

1. ชอบโยนความผิด

ถ้าคนธรรมดาทำผิด ก็จะรับและใช้เป็นบทเรียน พร้อมปรับปรุง แก้ไข ในวันต่อไป ไม่ให้ผิดอีก แต่ถ้าผิด แล้วโยนความผิดให้คนอื่น เรียกว่า ‘โง่’ แค่นี้ก็ไม่รู้ว่าตัวเองผิด แค่นี้ก็ไม่กล้าปรับปรุง ก็เลยโง่อยู่อย่างนั้น โง่ซ้ำๆ ซากๆ ถ้าเจอคนแบบนี้ อย่ารู้จัก จะดีกว่าเนอะ ปล่อยเขาไป ตามเวรตามกรรมเถอะ

2. ถูกเสมอ

อันนี้สืบมากจากข้างบน คือ ยังคิดว่าตัวเองถูกตลอด สังเกตได้ว่าเวลามีข้อขัดแย้ง จะเถียงเอาเป็นเอาตายไม่มีฟังชาวบ้าน ใช้ตรรกะวิบัติ เหตุผลวิบัติไปเรื่อยๆ แถข้างๆ คูๆ เพื่อเอาชนะเราก็เท่านั้น เจอคนแบบนี้ เงียบดีกว่าค่ะ จำไว้ว่า “เสือ ไม่มีวันลดตัวไปกัดกับ หมา” ฉันใด ก็ฉันนั้น เจ้าค่ะ

3. ก้าวร้าว เพื่อกลบเกลื่อน

มีการวิจัยมาว่า พวกฉลาดน้อยจะก้าวร้าวมากกว่า เมื่อคุมสถานการณ์ไม่อยู่ เหตุการณ์ไม่เป็นดั่งที่คิด จะมีอาการโมโห ก้าวร้าวกลบเกลื่อนหวังสยบให้จบข่าว เจอไม้นี้ ให้เดินหนีทันทีค่ะ ไม่ต้องพูดอะไรต่อทั้งนั้น คนพวกนี้จะรู้สึกค้างคาใจ เพราะเหมือนเคลียร์ไม่จบ แล้วอาจจะรู้สึกอึดอัดจน อกแตกตายไปเอง

4. เหนือตลอด

ไม่ใช่ทิศเหนือ – ใต้ แต่เป็นการมองว่าตัวเองดีกว่าคนอื่น เสียดสี ติติงคนอื่นให้ตัวเองดูดี ตัดสินโดยมีความลำเอียงเกาะติดตลอด มีวิจัยว่าพวกไอคิวต่ำจะรับอะไรได้ยาก เข้าใจอะไรยาก ไม่เหมือนพวกฉลาดที่พร้อมจะเข้าใจ เห็นใจ ทำอะไรให้ใครช่วยเหลือใครก็ไม่หวังผล แต่พวกคนโง่จะไม่เข้าใจเรื่องแบบนี้ อัตตามันสูง เมื่อให้แปลว่าต้องได้รับตอบแทน ก็คนอย่างฉันอุตส่าห์ให้คนอย่างเธอ ประมาณนั้น เมื่อเจอแบบนี้ วิธีที่น่าจะดี คือ เงียบ… มันไม่มีประโยชน์อะไรกับการเถียงกับคนโง่ ถ้าต้องคุย ก็เอาเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวให้ตรงประเด็น หรือ หยุดได้ ก็หยุดดีกว่า เล็งจังหวะที่ควรจะหยุด อย่าพยายามเอาชนะ เพราะจะไม่มีวันชนะคนโง่ และยิ่งบ้าด้วยนี่ ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกรรม จะใช้เหตุผล หลักฐานอะไรมาให้ดูก็คงไม่สน เผลอๆ มีท้าทายกลับมา เราจะเสียอารมณ์เองด้วย

เอาเป็นว่า…ขอไม่เจอดีกว่านะ มันเหนื่อย !!

ขอบคุณข้อมูลจาก : newsface7.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: