รวมตระกูลเก่าแก่ชาวสุราษฎร์!! นายอำเภอไชยาเผยสมุดทะเบียนนามสกุลโบราณ อายุกว่า100ปี ใช้ตัวสะกดแปลกตา(มีคลิป)





 

วันที่ 6 ต.ค. นายเจริญศักดิ์ วงศ์สุวรรณ นายอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี ได้นำสมุดเทียนนามสกุลโบราณอายุกว่า 100 ปี ของเมืองไชยา มาเปิดให้ผู้สื่อข่าวดู โดยสมุดดังกล่าวเป็นสมุดทะเบียนนามสกุลอายุกว่า 100 ปี ของเมืองไชยา ที่ขึ้นกับมณฑลชุมพร ยังคงหลงเหลือให้บุตรหลานได้ทราบถึงต้นตระกูลหรือประวัติความเป็นมาของนามสกุลที่ปู่ย่า ตายาย มาขอจดทะเบียนนามสกุลเป็นครั้งแรก ที่ห้องงานทำว่าการอำเภอไชยา จ.สุราษฎร์ธานี

นายเจริญศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนได้ค้นพบทะเบียนนามสกุลสมัยโบราณที่มีอายุกว่า 100 ปี แต่ที่น่าแปลกใจทะเบียนนามสกุลตัวสะกดจะเขียนแตกต่างกับทะเบียนในสมัยโบราณ คำว่าทะเบียนใช้ “ฬ” เป็นตัวสะกด เขียนว่า “ทะเบียฬ” และในแต่ละหน้าของทะเบียนนามสกุล จะเขียน “น่า” แทนคำว่าหน้า ซึ่งดูแล้วเป็นทะเบียนที่หายากที่สุดในสุราษฎร์ธานี ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ให้ลูกหลานหรือญาติพี่น้องได้สืบหาต้นตระกูลของแต่ละคนในสุราษฎร์ธานี

 

 

ในแต่ละหน้าของทะเบียนนามสกุลจะมีการเรียงรายชื่อเป็นตัวอักษรตั้งแต่ ก.ไก่ ไปจนถึงตัว ฮ.นกฮูก และบอกถึงปี พ.ศ. ของการจดทะเบียนนามสกุล โดยเริ่มจดทะเบียนครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2459 หากนับถึงปีปัจจุบันมีมากกว่า 100 ปี เนื่องจาก อ.ท่าชนะ อ.ท่าฉาง ในปัจจุบัน อดีตขึ้นกับอำเภอไชยา ซึ่งมีโบราณสถานที่ยังหลงเหลือให้นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยวชม อาทิ พระบรมธาตุไชยา ที่มีอายุกว่า 1,200 ปี และเจดีย์วัดหลง ที่ปัจจุบันยังคงเหลือแต่ฐานรากให้เยาวชนหรือประชาชนที่สนใจได้ศึกษาการตั้งเมืองไชยาสมัยอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีเมืองในการปกครองเพียง 3 เมือง คือ เมืองไชยา,เมืองท่าทอง และเมืองคีรีรัฐ

 

 

หากมองย้อนกลับไปถึงที่มาของการจดทะเบียนชื่อนามสกุลเกิดขึ้นจาก พระราชบัญญัติชื่อสกุล พ.ศ.2456 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพราะพระองค์ท่านได้ตรัสไว้ว่า คนไทยทุกคนต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุล จากนั้นจึงได้ดำเนินการจดทะเบียนนาสกุลจริงในปี พ.ศ.2458 ซึ่งชื่อสกุลมี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นชื่อสกุลพระราชทาน ซึ่งเป็นชื่อที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้กับขุนนางหรือข้าราชการในมัยก่อน หรือเจ้าเมือง และชื่อสกุลทั่วไป ที่อยู่ตามชุมชน

 

 

ในอนาคตทางอำเภอไชยาจะให้เจ้าหน้าที่คัดรายชื่อและนามสกุลในทะเบียนนามสกุลสมัยอำเภอไชยาขึ้นกับมณฑลชุมพร โดยจะคัดในแต่ละหน้าให้เหมือนสมัยโบราณเพื่อที่จะให้บุตรหลานหรือประชาชนที่สนใจได้ค้นคว้าแหล่งที่มาและการจดทะเบียนนามสกุลครั้งแรกของบุคคลเหล่านั้นต่อไป

ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: