เป็นคุณจะตอบอะไร? ติวเตอร์เฉลยข้อสอบราชการ ‘นิวซีแลนด์อยู่ในทวีปยุโรป’ เจอคอมเม้นท์สวนมาเพียบ!





 

หากใครเคยสอบงานราชการที่ต้องมีการสอบภาค ก คงพอจะผ่านตากันบ้างสำหรับข้อสอบแนวหาเหตุผล เลือกสิ่งที่ไม่เข้าพวก ซึ่งเป็นข้อสอบที่เหมือนจะง่าย แต่ก็โดนหลอกให้งงมานักต่อนักแล้ว เพราะไม่มีการใบ้ว่าเงื่อนไขที่แท้จริงคืออะไร การที่เราคิดตอบแบบนี้ ด้วยเหตุผลแบบนี้ พอมาเฉลยจริง ๆ อาจเป็นคนละเรื่องไปเลยก็ได้

20 ส.ค.61 เพจ สถาบันวิชาการเตรียมสอบรับราชการขงเบ้ง ได้มีการเฉลยข้อสอบที่กำหนดตัวเลือกมาแค่ "ญี่ปุ่น อินเดีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์" โดยทางติวเตอร์ได้อธิบายว่า

 

 

ข้อสอบ การหาเหตุผล นิยมออกข้อสอบ… 4 ลักษณะ

  1. แบบ นิรนัย และอุปนัย
  2. แบบ ตรรกศาสตร์
  3. แบบมิติสัมพันธ์
  4. แบบ ภาษา

ข้อสอบ ข้อว่า
ข้อใด ไม่เข้าพวก (หมาย ถึง อุปมา อุปไมย เปรียบเทียบ เชิงภาษา คือ แตกต่าง ไม่เหมือน เข้าพวก ไม่เข้าพวก ใกล้เคียง สูงกว่า ดีกว่า มากกว่า เป็นต้น คำเหล่า นี้ จะทำให้ ทราบว่า ข้อสอบข้อนั้น กำลังวัด เหตุผล เชิงภาษา….นั้นเอง
จึงมีวิธีการพิสูจน์ คำตอบ ถูก ผิด ที่ โครงสร้าง ทางภาษา …ประกอบ ไปด้วย
ประธาน + กิริยา + กรรม 
โจทย์ ข้อนี้ ให้ ประธาน มาแล้ว คือ ญี่ปุ่น
อินเดีย ฟิลิปปินส์ และ นิวซีแลนด์
….วิธีพิสูจน์ ก็นำ ชุดที่ให้ มา วางใน โครงสร้าง ประโยค 3 ส่วน คือ ประธาน+ กิริยา+ กรรม จะทราบทันที ว่า แตกต่าง หรือ เหมือน หรือ ไม่เข้าพวก อยู่ ส่วน ใด
ณ ที่ นี่ ไม่ เข้าพวก อยู่ ที่ กรรม ของ ประโยค คือ นิวซีแลนต์ อยู่ นอก ทวีป เอเชีย (แตกต่าง) ส่วน อีก 3 ประเทศ ในทวีป เอเชีย 
หาก ดูที่ คำ ประธาน และกิริยา จะไม่พบ ความแตกต่าง (เข้าพวก หมด) 
ความแตกต่าง พบ ที่ กรรม คือ ทวีป นั้นเอง…..
ติวกะ ขงเบ้ง …มี ทักษะ คิดวิเคราะห์

 

คำตอบดังกล่าวเหมือนจะมีหลักการ แต่ในที่สุด หลายคอมเม้นท์ก็แย้ง จุดอ่อนของข้อสอบนี้ที่กำกวม สามารถตอบอีกแบบก็ได้ ยิ่งติวเตอร์อธิบายอิงเหตุผล "ยุโรปทวีปเดิม" และการันตีด้วย "ผมเป็นครูสอนสังคม" ทำให้หลายคอมเม้นท์รู้สึกฮากระจาย และอยากรู้ไปอีกว่า เหตุใดไม่สอนภูมิศาสตร์ที่อิงกับปัจจุบันแทนข้อมูลที่ล้าหลังแล้ว

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แล้วคุณล่ะคิดแบบไหน? ลองอ่านแต่ละคอมเม้นท์เพิ่มเติมในกระทู้ต้นเรื่องด้านล่างนี้ดู

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันวิชาการเตรียมสอบรับราชการขงเบ้ง

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: