ธรรมศาสตร์ถกปม ‘สมรสร่วมสายเลือด’ ชี้อย่าเอาศีลธรรมปนกฎหมาย แนะแก้ไขให้จดทะเบียนได้!!





 

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 20 กรกฎาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โรงเรียนภาคฤดูร้อน โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเวทีวิชาการสตรีนิยมบริบทอุษาคเนย์ หัวข้อ “ญาณวิทยาที่ชายขอบ-(เด็ก)ผู้หญิง กะเทย เควียร์ : Silence, Subjectivity and Becoming (ในบริบทอุษาคเนย์ )”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนึ่งในวิทยากร คือ นายตรีวัฒน์ ชมดี นักศึกษา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งกล่าวในประเด็น “ความเป็นไปได้ของการจดทะเบียนสมรสร่วมสายโลหิต” โดยระบุว่า กฎหมายไทยได้กำหนดให้ผู้ชายและผู้หญิงต่างสายเลือดเท่านั้นที่สามารถจดทะเบียนสมรสได้ แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การมีบุตรในการร่วมเพศจากสายเลือดเดียวกันไม่จำเป็นต้องมีบุตรที่อ่อนเเอเสมอไป และการแต่งงานไม่ได้มีวัตถุประสงค์เเค่การเพิ่มจำนวนประชากรเท่านั้น

“ ตัวอย่างที่เราเห็นได้ชัดความเป็นไปได้ของการจดทะเบียนสมรสในสายเลือดเดียวกัน คือ พ่อกับลูกสาว หรือแม่กับลูกชาย จากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของ ดร. จักษ์ พันธ์ชูเพชร อาจารย์ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกันไม่ได้มีความชั่วร้ายแต่เพียงเพราะคนยกศีลธรรมและวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มาเป็นตัวกำหนดว่ามันผิด ซึ่งเราควรแก้ไขกฎหมายแพ่งว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางสายเลือดเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนสมรสได้ แต่ทางกฎหมายอาญาไม่ได้ระบุว่าการจดทะเบียนสมรสเป็นความผิดทางกฎหมาย

ส่วนวิทยานิพนธ์ชิ้นหนึ่งของคณะนิติศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า การมีเพศสัมพันธ์ในสายเลือดเดียวกันแม้ว่าจะมีความยินยอมแต่ไม่ได้มีความผิดทางอาญา แต่ผมไม่เห็นด้วยกับวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เพราะทำให้กฎหมายประเทศไทยถอยหลัง นั่นคือการเอาศีลธรรมไปปะปนกับกฎหมาย การที่สามารถแยกศีลธรรมออกกฎหมายได้ โดยการแก้ไขกฎหมายการจดทะเบียนสมรสร่วมสายเลือดเดียวกันได้และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายแพ่ง ผมถือว่าเป็นกฎหมายสำคัญของสังคมที่มีวุฒิภาวะ ว่าสามารถแยกกฎหมายออกจากศีลธรรมได้ และยังมีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อีกหลายชิ้นว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางสายเลือด ไม่ได้ก่อให้เกิดความบกพร่องทางพันธุกรรมในรุ่นต่อไป”

ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: