พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เจ้าของนวนิยายดัง’สารวัตรเถื่อน-สารวัตรใหญ่’ ถึงแก่อนิจกรรม ด้วยวัย88ปี





 

(20 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร อดีตนายตำรวจราชสำนักประจำ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ได้เสียชีวิตลงแล้ว เมื่อเวลา 22.30 น. โดยก่อนหน้านี้ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ จากโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ก่อนจะเสียชีวิตอย่างสงบ รวมอายุ 88 ปี โดยพิธีบำเพ็ญกุศลศพ จะจัดที่วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประวัติ พล.ต.อ.วสิษฐ  เกิดวันที่ 14 พฤศจิกายน 2472 ที่ จ.อุดรธานี ครอบครัว สมรสกับคุณหญิงทัศนา บุนนาค (เดชกุญชร) มีบุตร 2 คน คือ ว่าที่ร้อยตรี ดร.สุทรรศน์ เดชกุญชร และร้อยตำรวจตรีหญิงปรีณาภา เดชกุญชร

โดยประวัติการศึกษา พล.ต.อ.วสิษฐ จบมัธยมศึกษา โรงเรียนประจำจังหวัดขอนแก่น “ขอนแก่นวิทยายน” พ.ศ.2487 ปริญญาตรี รัฐศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2497 ปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนิวยอร์ค พ.ศ.2497 ปริญญาเอก รัฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (กิตติมศักดิ์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2539 แขนงพิเศษอื่นๆ ประกาศนียบัตร โรงเรียนตำรวจนครนิวยอร์ค (หลักสูตรสืบสวน) พ.ศ.2496 ประกาศนียบัตร วิทยาลัยตำรวจแห่งชาติ F.B.I. สหรัฐอเมริกา พ.ศ.2508 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ.2523

ประวัติการรับราชการ หัวหน้านายตำรวจราชสำนักประจำ พ.ศ.2521 ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ.2529 รองอธิบดีกรมตำรวจ พ.ศ.2530

ราชการการเมือง สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2532 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พ.ศ.2533 สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2539

ตำแหน่งล่าสุด เป็น รองประธานคณะกรรมการที่ปรึกษา บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) นายกสมาคมตำรวจตระเวนชายแดนแห่งประเทศไทย ประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ รองประธานองค์กรเพื่อความโปร่งใสแห่งประเทศไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นมหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นจตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.) เหรียญพิทักษ์เสรีชน (ส.ร.2) ประเภทที่ 2 เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.) เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.4) เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ง.9)

เกียรติยศทางงานประพันธ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ.2541 งานประพันธ์ นามปากกา : ‘โก้ บางกอก (เขียนนวนิยายและเรื่องทั่วไป) ตาถั่ว (เขียนวิจารณ์ภาพยนตร์) สีน้ำมัน, สีน้ำเงิน, สีเนื้อ (เขียนคอลัมน์ซุบซิบ) จ๋อ บางซ่อน, หัสการ (เขียนเรื่องตลกขบขัน) ลำพัง (เขียนเรื่องสั้น)

ผลงานรวมเล่ม นวนิยาย : จันทน์หอม (2514), ดงเย็น (2518), ลว.สุดท้าย (2522), สารวัตรเถื่อน (2528), แม่ลาวเลือด (2530), หักลิ้นช้าง (2533), เลือดเข้าตา (2534), สันติบาล (2535), สารวัตรใหญ่ (2537), เบี้ยล่าง (2542), บ่วงบาศ (2543), ประกาศิตอสูร (2549), พรมแดน (2551), อวสานสายลับ (2558)

ความเรียง และอื่นๆ : รอยพระยุคลบาท (2544), สมาธิกับการทำงาน (2549), อยาก (2544), ปฏิรูปตำรวจ ฝันหรือจะเป็นจริง? (2550), ชีวิตตำรวจ (2557), อีฉุยอีแฉก (2514), สัพเพเหระคดี, เหตุเกิดในกรุงรัตนโกสินทร์, รำลึกชาติ (นี้), รำลึกชาติ (นี้) อีก, พูดจาประสาตำรวจ 1-2, ความผิดพลาดของนายหมาก, ความ (ไม่รู้) เรื่องเมืองจีน ฯลฯ

ข่าวจาก : มติชนออนไลน์

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: