ขั้นตอนการทำให้ “เสื้อผ้าหอม” ตาม “ตำรับชาววัง” สมัยก่อน





หลังจากผ่านขั้นตอนการทำความสะอาดและรีดเรียบแล้ว ก็ถึงขั้นตอนการอบร่ำ ซึ่งก็เป็นกรรมวิธีหนึ่งที่ทำให้ผ้านุ่งผ้าห่มของชาววังนั้นมีกลิ่นหอมติดกระดาน

[ads]

วิธีร่ำผ้า คือนำผ้าที่ซักรีดเรียบร้อยแล้วใส่ในโถหรือหีบซึ่งมีลักษณะแน่นทึบ เช่น ถ้าเป็นโถก็ต้องเป็นโถเคลือบขนาดใหญ่ทรงมัณฑ์หรือทรงกลอง ถ้าเป็นหีบไม้ก็ต้องเป็นหีบไม้อุโลก ซึ่งทั้งโถและหีบนี้เมื่อปิดแล้วกลิ่นและควันจะระเหยออกมาไม่ได้ เครื่องหอมที่ใช้ในการร่ำมีกำยาน กฤษณา จันทน์หอม ชะมดเช็ดหรือชะมดเชียง เทียนอบ น้ำตาลทรายแดง ทั้งหมดบดจนเป็นผงละเอียด เวลาใช้ตักผงเครื่องหอมโรยลงบนก้อนถ่านเล็กๆ ที่เผาไฟจนแดง โรยจนมิดก้อนถ่านเพื่อให้เกิดควัน แล้วจึงปิดฝาโถหรือฝาหีบเพื่ออบควันให้กลิ่นหอมจับเนื้อผ้า ทำเช่นนี้จนกลิ่นหอมชำแรกเข้าไปในเนื้อผ้า

   ขั้นตอนสุดท้ายของการทำความสะอาดผ้าคือการอบผ้า โดยนำผ้าที่ผ่านการร่ำมาแล้ว นำมาใส่โถหรือหีบสำหรับเก็บ ก็จะนำดอกไม้สดที่มีกลิ่นหอม เช่น สารภี ประยงค์ จันทน์กะพ้อ ชะลูด ชมนาด เทียนกิ่ง การะเกด พุทธชาด เขี้ยวกระแต มะลิ หรือไม่ก็ใช้กระแจะดีดไว้บนฝาหีบ เมื่อถึงสมัยที่มีน้ำมันหอมที่หุงจากกลีบดอกไม้ต่างๆ ก็จะใช้น้ำมันหอมชุบกับผ้าขาวบางพับวางไว้ในหีบแล้วจึงปิดฝา กลิ่นหอมเหล่านี้ก็จะกำซาบจับเนื้อผ้า ชนิดหอมติดกระดานดังว่า สำหรับชุดฉลองพระองค์นั้นเมื่อผ่านการอบร่ำแล้วจึงพับซ้อนกัน ๓-๔ ผืนยก แล้วห่อด้วยผ้าขาวสะอาดให้มิดชิดใส่ในตะกร้าหวายถัก แบกขึ้นไปส่งเจ้าหน้าที่แต่งพระองค์บนตำหนัก

ขอบคุณภาพเเละเนื้อหาจาก: www.silpa-mag.com

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: