ไขข้อสงสัย!! เหตุใดพี่หมื่น-ตัวละครบุพเพฯ พูดว่า ‘กงนี้’ ….เปลี่ยนคำที่มี’ตร’นำหน้า เป็น ก.ไก่ หมด!!





 

หลายคนอาจสงสัยว่า ในละคร บุพเพสันนิวาส ที่กำลังโด่งดังนั้น ตัวละครที่เป็นคนสมัยอยุธยา เวลาออกเสียงที่เป็นการควบ ตร หรือ ตล เป็น ก.ไก่ เช่นคำว่า ตรงนี้ ตรงนั้น พูดว่า กงนี้ กงนั้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ล่าสุดมีสมาชิกพันทิปเข้ามาสอบถามถึงสาเหตุที่ตัวละครยุคอยุธยาพูดแบบนั้น โดยสมาชิกพันทิป “กามนิตยอดชายไปค้าขายที่โกสัมพี” ได้ให้คำตอบที่น่าสนใจ ดังนี้

ทุกวันนี้ภาษาถิ่นหลายถิ่นในภาคกลาง (ยกเว้นกรุงเทพ) ภาคเหนือ และภาคอีสาน ก็ยังคงออกเสียงอักษรควบ “ตร, ตล” เป็น “ก, กร” นะครับ ผมยกตัวอย่างบ้านผมที่จังหวัดสุโขทัย

“ตรง” เป็น “กง” เช่น ตรงไป เป็น กงไป
“เตรียม” เป็น “เกรียม/เกียม” เช่น เตรียมตัว เป็น เกียมตัว
“ตรา” เป็น “กา” เช่น ชามตราไก่ บ้านผมออกเสียง ชามกาไก่
“แตร” เป็น “แก” เช่น บีบแตร เป็น บีบแก
“ตลาด” เป็น “กะหลาด, กลาด, กาด”

หรือออกเสียง ต กับ ก สลับกันในคำสองพยางค์ เช่น
“กรรไกร” เป็น “กะไต, ตะไก”
“ตะกร้า” เป็น “กะต้า”

ภาษาโบราณยังมีเสียงควบ “มฺล” [ml] ด้วย แต่ปัจจุบันมีเฉพาะคนปักษ์ใต้ที่ออกเสียงควบนี้ได้ ส่วนภาคอื่นจะกลายเป็น “ม, ล, หรือ มะล-“ เช่น
“แมลง” ภาคกลางเป็น “มะ-แลง” ภาคเหนือเป็น “แมง”
“มลอด” (มุด) ภาคกลางเป็น “ลอด” ภาคเหนือเป็น “มอด” เช่น มอดโต๊ะ (มุดโต๊ะ)
“แมลบ” (ฟ้าแลบ) ภาคกลางเป็น “แลบ” ภาคเหนือเป็น “แมบ” เช่น ฟ้าแมบ
“มลืน” (ลืมตา) ภาคกลางเป็น “ลืน > ลืม” ภาคเหนือเป็น “มืน” เช่น มืนตา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://pantip.com/topic/37428792

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: