ราชบัณฑิตยสภา ออกชี้แจงว่าด้วยคำว่า “แซว”, “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ”





เพจราชบัณฑิตยสภา ซึ่งเป็นหน่วยงานสำคัญในการกำหนดคำภาษาไทยที่ถูกต้อง ได้ออกจดหมายชี้แจ้ง และประกาศผ่านทางหนังสือและทางเพจบน facebook โดยชี้แจงเกี่ยวกับคำว่า” แซว คะ ค่ะ นะคะ ” ว่า

[ads]

“ การพูดจาภาษาไทยนอกจากการใช้เลือกใช้ถ้อยคำวาจาที่สุภาพสื่อความเข้าใจระหว่างกันได้ชัดเจนแล้ว ควรมีหางเสียงที่จะทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปดูนุ่มนวล น่าฟั ง ทั้งหางเสียงหรือกระแสเสียงลงท้ายยังแสดงหรือสะท้อนนิสัย อารมณ์ ความรู้สึกของผู้พูดด้วย หากพูดจาไม่มีหางเสียงอาจทำให้ถ้อยวาจาที่กล่าวออกไปนั้นฟังดูห้วน กระด้าง และอาจระคายหูผู้ฟัง การพูดจาที่สุภาพนอกจากจะขึ้นอยู่กับการเลือกสรรถ้อยคำที่ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะแล้ว ควรใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพควบคู่ไปด้วยทั้งชายและหญิง เช่น ผู้ชายใช้คำลงท้ายที่แสดงความสุภาพ ว่า ครับ, นะครับ ผู้หญิงใช้ คะ, ค่ะ, นะคะ ปัจจุบันการเขียนคำลงท้ายแสดงความสุภาพที่ผู้ชายใช้ไม่ค่อยเป็นปัญหา แต่คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ค่อนข้างจะสับสน เช่น “คะ” ไปใช้ว่า “ค๊ะ”, “ค๋ะ” หรือสับสนในการใช้คำว่า “คะ” กับ “ค่ะ” เช่น ใช้ว่า “มาแล้วคะ”, “กำลังอ่านหนังสืออยู่นะค่ะ”, “ทำอะไรอยู่หรือค่ะ” ซึ่งที่ถูกต้องแล้วต้องใช้ว่า “มาแล้วค่ะ”, “กำลังอ่านหนังสืออยู่นะคะ” หรือ “กำลังอ่านหนังสืออยู่ค่ะ”, “ทำอะไรอยู่หรือคะ” เวลาเขียนจึงควรช่วยกันเขียนให้ถูกต้องด้วย โดยให้จำไว้เสมอว่ารูปเขียนที่ถูกต้องคือ “คะ”, “ค่ะ”, “นะคะ” (ไม่มี ค๊ะ, ไม่มี ค๋ะ, ไม่มี นะค่ะ)

นอกจากนี้ ยังมีคำว่า “แซว” ที่มีผู้สงสัยอยู่ว่า ที่ถูกต้องควรเขียนว่า “แซว” หรือ “แซ็ว” นั้น อาจเป็นด้วยพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เก็บคำว่า “แซว” ที่เป็นภาษาปากมีความหมายว่า “กระเซ้า” ไว้ และพิมพ์คำผิดเป็น “แซ็ว” จึงทำให้มีคำว่า “แซ็ว” ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฯ และทำให้เกิดข้อสงสัย ทั้งนี้ ปัญหาจากการพิสูจน์อักษรผิดดังกล่าว สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในการจัดพิมพ์พจนานุกรมฯ ครั้งต่อไป ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพูดจาหยอกล้อแซวกันเล่น ก็เขียนว่า “แซว” หรือจะเป็นแซววาที ก็เขียนว่า “แซว” รวมทั้ง “แซว” ในคำว่า แซงแซว (นกแซงแซว) ตลอดจน “แซว” ในคำว่า อีแซว (เพลงอีแซว) ก็เขียนว่า “แซว” ทั้งสิ้น.

หลังจากคำชี้แจงนี้จบ พบว่าคนส่วนใหญ่วิจารณ์หนักในเรื่้องคำว่าแซว ที่ปรากฎในเว็บไซต์เป็นคำว่า แซ็ว ตกลงคำไหนถูกกันแน่ ล่าสุดเพจราชบัณฑิตยสภาได้ตอบ comment กลับบน facebook ว่า เว็บไซต์ราชบัณฑิตยสภาจะแก้ไขคำนั้นเป็นคำว่า แซว ตามเดิม ทั้งบนพจนานุกรมฉบับและบนเว็บไซต์ด้วย

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: