เเพทย์เตือน ‘ขู่ให้ลูกกลัว’ ความเชื่อผิด ๆ ของพ่อแม่ เสี่ยงต่อพัฒนาการเด็ก





     แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากกรณีในโซเชียลมีการใช้ภาพน่ากลัวเพื่อให้เด็กหยุดใช้สมาร์ทโฟนนั้น ซึ่งวิธีการขู่ให้กลัวหรือทำให้เด็กเกิดอารมณ์ด้านลบอื่นๆเช่น ตกใจ ขยะแขยง เป็นวิธีที่ผู้ใหญ่หลายคนนิยมใช้ เพราะเข้าใจว่าจะสามารถหยุดเด็กให้เลิกทำกิจกรรมได้ทันที เช่น การขู่ว่าหมอจะฉีดยา ตำรวจจะจับ หรือการใช้บอระเพ็ดทาที่หัวนมเพื่อให้เด็กหย่านม เป็นต้น แต่พ่อแม่ผู้ปกครองอาจลืมคิดไปว่าการหยุดเด็กด้วยวิธีดังกล่าวมีโอกาสเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา อาทิ เด็กอาจเกิดความกังวลและปฏิเสธ หรือหลีกเลี่ยงสิ่งนั้นหรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกันอย่างสุดโต่งไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ และอาจเป็นการสกัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก หรือแม้กระทั้งถูกลดทอดความเข้าใจในเรื่องเหตุและผล ทำให้เด็กไม่มีความเชื่อมั่นและลดความไว้วางใจในตัวผู้ใหญ่ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองให้รู้สึกปลอดภัย

           "นอกจากนี้ วิธีการขู่เด็กให้กลัวอาจส่งผลต่อเนื่อง ทำให้เด็กเสียโอกาสในการเรียนรู้ที่จะสร้างวินัยในตนเอง แทนที่จะพัฒนาตนเองให้เลือกทำในสิ่งที่ควรทำและเลือกหยุดในสิ่งที่ควรหยุดโดยตัดสินใจได้ด้วยตนเอง แต่กลับกลายเป็นการหยุดเพราะกลัวหรือหยุดเพราะตกใจ ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาการปรับตัวเพื่อเรียนรู้ในทางกลับกันพ่อแม่ควรสอนในสิ่งที่ถูกต้องและใช้เหตุผลที่เหมาะสมในการตักเตือนลูกและควรแสดงความ ชื่นชม เมื่อเขาแสดงพฤติกรรมที่ดีน่าชมเชย ที่สำคัญพ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรเฝ้าติดตามสังเกตพฤติกรรมพัฒนาการเด็กในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความสามารถด้านการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญาด้านการใช้และเข้าใจภาษา และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมของเด็กวัยต่างๆ เพื่อจะได้ทราบถึงพัฒนาการแต่ละวัย พร้อมที่จะหาวิธีการส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กแต่ละด้านอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยต่อไป” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว

ขอบคุณภาพเเละเนื้อหาจาก: กรมอนามัย [http://www.anamai.moph.go.th]

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: