ปี62…คนกรุงถึงเวลาจ่ายค่า”น้ำเสีย 2 บาท/ลบ.ม





   หากแนวคิดที่ว่าผู้ใดก่อมลพิษผู้นั้นควรมีส่วนรับผิดชอบ(PolluterPays Principle) ซึ่งเป็นรูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมจากผู้ที่ก่อปัญหาแต่ด้วยปัจจุบันเราทุกคนต่างสร้างมลพิษให้กับโลกในหลากหลายรูปแบบแล้วการรับผิดชอบต่อมลพิษที่เกิดขึ้นควรจะเป็นไปในรูปแบบใด

[ads]

   ปัญหาน้ำเสียเป็นปัญหามลพิษหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครที่มีผู้คนอพยพเข้ามาแสวงหาโอกาสตั้งรกรากอยู่อาศัยกันจำนวนมาก  แต่เมืองไม่ได้วางแนวทางเพื่ออนาคตในการดูแลเรื่องปัญหาที่จะตามมา ทำให้แต่ละสถานที่แต่ละครัวเรือนก็ต่างปล่อยน้ำเสียที่เกิดขึ้นทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำปล่อยตรงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติทั้งแม่น้ำคูคลองสายต่างๆจนเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียไปทุกหย่อมหญ้าการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียที่รัฐวางแนวทางไว้ส่วนหนึ่งคือ  การสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเพื่อรองรับน้ำจากทุกแห่งหนทำการบำบัดก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ  แต่การจะสร้างโรงบำบัดน้ำเสียให้เพียงพอต้องใช้งบประมาณมหาศาลนับหมื่นล้านบาทถึงจะคลอบคลุมพื้นที่ทุกตารางนิ้วดังนั้นส่วนหนึ่งที่ประชาชนสามารถร่วมรับผิดชอบการสร้างน้ำเสียลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ก็คือ การร่วมจ่ายค่าบำบัดน้ำเสียให้แก่ภาครัฐเพื่อให้ภาครัฐน้ำงบประมาณที่ได้ไปพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำให้ให้เหมาะสมมากที่สุด

   ค่าบำบัดน้ำเสียเป็นส่วนหนึ่งที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ศึกษากันมาอย่างยาวนานหลายสมัยแต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ส่วนหนึ่งติดปัญหาการวางระบบการจัดเก็บที่เหมาะสมครอบคลุมและเป็นธรรมแก่ประชาชนแต่อีกส่วนหนึ่งผู้บริการกทม.ยุคอดีต ล้วนเกรงกลัวการเสียคะแนนนิยมจากการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนแต่ในยุคผู้ว่าฯตำรวจอย่าง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง  ที่มานั่งเก้าอี้ผู้ว่าฯกทม.แบบช่องทางด่วนซึ่งไม่ต้องกังวลเรื่องคะแนนเสียมากก็พยายามผลักดันให้สามารถดำเนินการสำเร็จจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียอย่างเป็นรูปธรรมได้

   ขณะนี้กทม.อยู่ระหว่างการปรับแก้กฎหมายข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากฉบับดั้งเดิมพ.ศ.2547 ให้เหมาะสมกระชับและเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด  โดยประเด็นหลักๆที่อยู่ระหว่างแก้ไขมี4ประเด็นสำคัญ คือ 1 การจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากแหล่งกำเนิด13ประเภทคือที่อยู่อาศัยสถานที่ราชการสถานศึกษาโรงพยาบาลโรงแรมห้างสรรพสินค้าตลาดร้านอาหารอาบอบนวดอาคารธุรกิจสถานประกอบการรวมหลายประเภทในอาคารเดียวกันโรงงานและแหล่งน้ำเสียอื่นๆจะปรับแก้กำหนดเพียง3ประเภทคือ1.ที่อยู่อาศัย2.สถานประกอบการขนาดเล็กและ3.โรงแรมโรงงานธุรกิจขนาดใหญ่

   ในประเด็นที่2 การคิดค่าธรรมเนียมจากปริมาณน้ำใช้100เปอร์เซ็นต์แต่กทม.จะปรับแก้เป็นคิดค่าธรรมเนียมจากปริมาณการใช้น้ำประปาหรือบาดาลหรือแหล่งน้ำอื่นๆคิดตามปริมาณใช้น้ำแค่80เปอร์เซ็นต์  เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงเป็นธรรมกับประชาชนมากยิ่งขึ้นเนื่องจากน้ำใช้ของประชาชนจะไม่ได้เข้าสู่ระบบท่อระบายน้ำทั้งหมด และในประเด็นที่3 มาตรการดำเนินการกับผู้ไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายใน30วัน  จะต้องเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายทั้งทางปกครองและทางแพ่ง  แต่กทม.จะปรับแก้ให้มีการกำหนดอัตราค่าปรับที่ชัดเจน  ส่วนในประเด็นที่4กำหนดให้กทม.เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากประชาชนซึ่งดำเนินการได้ยากเนื่องจากกทม.ขาดกำลังบุคลากร จึงมีการปรับแก้ให้กทม.สามารถจ้างเอกชนเก็บแทนได้เพื่อความคล่องตัว

   สำหรับอัตราค่าธรรมเนียมจัดเก็บตามประเภทผู้ก่อให้เกิดน้ำเสียแบ่งเป็นประเภทที่1ที่อยู่อาศัยกำหนดอัตรา 2 บาทต่อลบ.ม.  ประเภทที่2กลุ่มหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ หรืออาคารเอกชนอาคารอยู่อาศัยต่างๆ กำหนดอัตรา 4บาทต่อลบ.ม.  และประเภทที่3  กลุ่มโรงแรมสถานประกอบการขนาดใหญ่กำหนดอัตรา 8บาทต่อลบ.ม.

   นายจักกพันธุ์  ผิวงาม รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)  ผู้ดูแลงานด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อมเปิดเผยว่าการจัดประเภทผู้ก่อให้เกิดน้ำเสียเพื่อการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียนั้นพบว่าประเภทที่เป็นผู้ก่อให้เกิดน้ำเสียมากที่สุดคือ  ประเภทที่2 กลุ่มหน่วยงานราชการรัฐวิสาหกิจ  อาคารเอกชน  คอนโดมีเนียมต่างๆ  ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีจำนวนมากมีปริมาณการใช้น้ำกว่า12.8ล้านลบ.ม.ต่อเดือน   ซึ่งคาดการณ์ว่าจะได้ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียประมาณ40.9ล้านบาทต่อเดือนส่วนประเภทที่1ที่อยู่อาศัยนั้นมีจำนวนรวมกว่า209,989  ครัวเรือนมีปริมาณการใช้น้ำประมาณ9ล้านลบ.ม.ต่อเดือนประมาณการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียได้14.5ล้านบาทต่อเดือนส่วนประเภทที่3กลุ่มสถานประกอบการขนาดใหญ่พวกห้างสรรพสินค้าโรมแรมมีปริมาณการใช้น้ำประมาณ2.6ล้านลบ.ม.ต่อเดือนจัดเก็บได้16.6ล้านบาทต่อเดือนโดยหากกทม.สามารถจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียทั้ง3ประเภทเข้าสู่ระบบได้ครบถ้วนคาดการณ์ว่ากทม.จะมีงบประมาณเพิ่มมากขึ้นถึง866ล้านบาทต่อปี

   อย่างไรก็ตาม กทม . ต้องเร่งการสร้างความเข้าใจกับประชาชนกลุ่มที่อยู่อาศัยต่างๆให้เข้าใจ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการ ธุรกิจต่างๆ ในประเภทที่ 2 และ 3 นั้น เป็นกลุ่มที่บางสถานที่ ถูกกำหนดตามกฎหมายให้ต้องมีระบบบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำอยู่แล้ว โดยหากพื้นที่ใดมีระบบบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสม สามารถบำบัดน้ำเสียให้ได้ตามค่าที่กำหนด ก็จะไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียม แต่หากสถานที่ได้ไม่มีระบบบำบัด ก็ต้องเข้าสู่ระบบการจ่ายค่าธรรมเนียมเช่นกัน ทั้งนี้ กทม . วางเป้าหมายการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในผู้ใช้น้ำ ประเภทที่ 2 และ 3 ก่อน โดยจะเริ่มดำเนินการจัดเก็บในปี 2562 นี้ ส่วนในกลุ่มที่อยู่อาศัยนั้น จะมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเตรียมความพร้อม และเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของประชาชน เป็นเวลา 1-2 ปี จากนั้น กทม . ก็จะเริ่มกระบวนการจัดเก็บต่อไป

   ขณะนี้การปรับแก้ข้อบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียของกทม.อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญสภากทม.ซึ่งจะเสร็จสิ้นไม่เกินเดือนก.พ.2561จากนั้นกทม.ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการออกกฎหมายประกาศใช้ และหาเอกชนเข้ามาเป็นตัวแทนในการจัดเก็บให้เกิดผลสำเร็จต่อไป

   เราเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างมลพิษให้แก่เมืองหากการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหามลพิษทางน้ำแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียได้เชื่อว่าประชาชนก็คงเข้าใจและยอมรับได้ ขณะที่ภาครัฐก็ต้องดำเนินการให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม เห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ถึงวันนี้เชื่อว่าค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อยใครๆก็คงยอมควักกระเป๋าเพื่อเมืองที่สวยงามเป็นแน่

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: