สายบุญต้องรู้….ผู้บริจาคโลหิตบ่อยๆ สามารถรับสิทธิ ‘ยกเว้น’ ค่ารักษาพยาบาลตลอดชีวิตได้ พร้อมสิ่งดีๆอีกเพียบ





รายละเอียดสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้บริจาคโลหิต ตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุข  กลายเป็นเรื่องราวที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก

ว่าหากบริจาคเกิน 24 ครั้ง จะได้รับการรักษาฟรี เหมือนข้าราชการ ซึ่งเราจะเอาข้อมูลของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มาชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้…

 

“ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ขอชี้แจงเรื่องสิทธิการรักษาพยาบาลสำหรับผู้บริจาคโลหิต โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทย 2 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา (รายละเอียดตามแนบ) ประกาศ ณ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559″

 

1. ผู้บริจาคโลหิต 7 ครั้งขึ้นไป

-เสียค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ

-ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด

 

2.ผู้บริจาคโลหิต 24 ครั้งขึ้นไป

-ได้รับการยกเว้นค่ารักษาพยาบาลประเภทผู้ป่วยสามัญ

-ถ้าอยู่ห้องพิเศษ ผ่าตัด ผ่าตัดคลอดบุตร จะเสียเพียงกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนด

 

3.ผู้บริจาคโลหิตที่ไม่มีสิทธิอื่นใด เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิข้าราชการ เป็นต้น

 

ทั้งนี้ สิทธิดังกล่าวใช้ได้เฉพาะผู้บริจาคโลหิตที่ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลอื่นใด และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในเท่านั้น โดยให้ญาตินำบัตรประจำตัวของผู้บริจาคโลหิต มาขอหนังสือรับรอง ได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ (กรุงเทพฯ) ชั้น 1 งานสารบรรณในวันเวลาราชการ

 

สำหรับต่างจังหวัด ให้ญาตินำบัตรประจำตัวของผู้บริจาคโลหิต มาขอหนังสือรับรอง ได้ที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติ และโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิต ในวันเวลาราชการ โดยหนังสือรับรองดังกล่าว นำไปลดหย่อนการรักษาพยาบาลเป็นครั้ง ๆ ไป

สอบถามเพิ่มเติม โทร. 0 2263 9600 ต่อ 1813

 

เพื่อสิทธิของตัวเอง  โดยเฉพาะใครที่บริจาคเลือดเป็นประจำ คุณก็จะได้รับสิมธนี้ หรือเรียกว่าแทบไม่ต้องจ่ายอะไรเลย ยกเว้นส่วนเกินค่าห้องพิเศษเท่านั้น

แต่ถึงจะมีสิทธิประกันอย่างอื่นคุ้นครองแล้ว คุณก็ยังสามารถบริจาคเลือดได้ทุกเมื่อ เพราะการให้เลือดของคุณอาจจะสามารถต่อชีวิตให้ใครคนอื่นๆได้อีกมากมาย ถ้ามีโอกาสอย่าลืมทำความดีกันนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยhttp://www.redcross.or.th/forum/12206 , 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: