สงสัยมาตลอด! รูเล็กๆข้างๆ รูหู ผิดปกติหรือเปล่า? อาจเป็นเรื่องใหญ่ถ้าดูแลไม่ดี





เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่? ว่ารูเล็กๆบริเวณข้างๆรูหู คืออะไร? ผิดปกติหรือเปล่า? วันนี้มาหาคำตอบกันค่ะ

 

ก่อนอื่นลองตรวจดูกันว่าคุณมีรูเล็กๆขนาดเท่ารอยเข็มเจาะบริเวณบนรูหูเยื้องไปทางขมับหรือเปล่า

จากการสำรวจพบว่า

1% ของประชากรอังกฤษจะมีรูที่กล่าวมานี้

เกือบ 10%  ของประชากรญี่ปุ่นจะมีรูที่กล่าวมานี้

 

ซึ่งจากตำนานเทพเจ้าของชาวเอธิโอเปียเชื่อกันว่า “ผู้ใดมีรูนี้ปรากฏอยู่จะเป็นผู้ที่มีโชค” จึงถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีอย่างยิ่ง

 

อย่างไรก็ตาม ตามเอกสารจากหอสมุดแพทยสภาแห่งชาติอเมริกัน กล่าวว่า…

เริ่มมีการนำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับรูบริเวณหูที่ว่านี้เป็นครั้งแรกในปี 1864 โดยนักวิทยาศาสตร์ด้าน evolutionary biology นามว่า Neil Shubin ได้อธิบายเอาไว้ว่า

 “มนุษย์นั้นเป็นสิ่งมีชีวิตจากทะเล ซึ่งพัฒนามาจากสัตว์ประเภทปลา และร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ก็ดูได้จากรูที่ว่ามานี้”

 

สาเหตุของอาการนี้

สาเหตุของอาการนี้เกี่ยวข้องกับ “การสืบทอดทางพันธุกรรม” แต่ก็ไม่ใช่สิ่งผิดปกติที่ต้องวิตกกังวลอะไร อย่างไรก็ตาม หากเกิดปัญหาติดเชื้อเป็นหนองขึ้นก็สามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ

 

โรคนี้ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า “fistula auris congenita” โดยการที่มีลักษณะแบบนี้มาตั้งแต่กำเนิดถือเป็นสัดส่วน 1 ต่อ 50

มีข้อมูลระบุว่าสาเหตุอาจจะมาจากในระหว่างช่วงเป็นตัวอ่อนในครรภ์ หูซึ่งเป็นอวัยวะรับเสียงมีการพัฒนาที่ผิดปกติบางอย่างซึ่งไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดรูเล็กนั้นขึ้น โดยมีทั้งผู้ที่มีรูเล็กๆนี้ข้างใดข้างหนึ่งของหู หรือทั้งสองข้างก็ได้

 

ทั้งเรื่องตำแหน่งและความลึกของรูซึ่งอาจมีรูปร่างคล้ายกับถุงบรรจุบางอย่าง ลักษณะเหล่านั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคลล เนื่องจากเป็นจุดที่เกิดเหงื่อไหลเข้าไปง่ายทั้งเหตุจากการสัมผัสผมบ่อย และถ้าเกิดการสะสมของขี้ไคลต่างๆขึ้น จะเกิดสารคัดหลั่งสีขาวซึ่งมีกลิ่นคล้ายชีสไหลออกมา

ทั้งนี้หากมีเชื้อราปะปนเข้าไปจนก่อให้เกิดอาการติดเชื้อขึ้นละก็จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเท่านั้น

 

 

 

ในกรณีที่เกิดการติดเชื้อบ่อยครั้ง ก็ควรกำจัดรูนี้ทิ้งเสีย ทั้งนี้ ต้องพิจารณาเรื่องการผ่าตัดในเรื่องของตำแหน่งและความลึกด้วย เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ทำให้การผ่าตัดทำได้ยากทั้งสิ้น

และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดกรณีดังกล่าว ในผู้ที่พบว่าตนมีลักษณะรูบริเวณหูดังกล่าว จึงควรใส่ใจความสะอาดบริเวณขมับและบริเวณรอบๆรูดังกล่าวเป็นอย่างยิ่ง

 

รูที่ว่านี้ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด แค่รักษาความสะอาดให้ดีก็พอ

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.sanook.com/health/5801/ และ  Livedoor

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: