แยกให้ออก! แบบไหนคือ “เครียดจนปวดศีรษะ”..ป้องกันได้ง่ายนิดเดียว





โรคปวดศีรษะจากความเครียด จะมีอาการปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนที่คิดมาก ปวดพอรำคาญ หรือทำให้รู้สึกไม่สุขสบาย และจะปวดอย่างคงที่ ไม่แรงขึ้นกว่าวันแรกๆ

อาการปวดแต่ละครั้งจะเป็นนานเป็นชั่วโมงๆ จนเป็นสัปดาห์ หรือแรมเดือน เมื่อได้รับการรักษาที่ ถูกต้องก็มักจะทุเลาไปได้ แต่เมื่อขาดการรักษา และ มีสิ่งกระตุ้นก็อาจกำเริบได้อีก จึงมักจะเป็นๆ หายๆ ได้บ่อย

 

แต่วันนี้เรามีวิธีการแก้ปัญหาง่ายๆมาฝากกัน…

 

สาเหตุ

เกิดจากการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและใบหน้า ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุและกลไกของการเกิดโรคอย่างแน่ชัด

– มีสิ่งเร้ากระตุ้นที่กล้ามเนื้อและพังผืดบริเวณรอบกะโหลกศีรษะ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทขึ้นตรงประสาทส่วนกลาง แล้วส่งผลกลับมาที่กล้ามเนื้อรอบกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการเกร็งตัว ตึงตัวของกล้ามเนื้อดังกล่าว

– มีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี (เช่น เอนดอร์ฟิน ซีโรโทนิน) ในเนื้อเยื่อดังกล่าว ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ

 

ส่วนใหญ่มักพบว่ามีสาเหตุกระตุ้น ได้แก่ ความ เครียด หิวข้าวหรือกินข้าวผิดเวลา อดนอน ตาล้าตาเพลีย (จากใช้สายตามากเกิน)

 

 

อาการที่ต้องสังเกต

 

1. ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดตื้อๆ หนักๆ ที่ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ หรือท้ายทอยทั้ง 2 ข้าง หรือทั่วศีรษะ หรือปวดรอบศีรษะคล้ายเข็มขัดรัด ต่อเนื่องกันนานครั้งละ 30 นาทีถึง 1 สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักจะปวดนานเกิน 24 ชั่วโมง บางคนอาจปวดนานติดต่อกันทุกวันเป็นสัปดาห์ๆ หรือเป็นแรมเดือน

2. อาการปวดจะเป็นอย่างคงที่ ไม่ปวดรุนแรงขึ้นจากวันแรกๆ ที่เริ่มเป็น ส่วนมากจะเป็นการปวดตื้อๆ หนักๆ พอรำคาญหรือรู้สึกไม่สุขสบาย ส่วนมากที่อาจปวดรุนแรงจนเป็นอุปสรรคต่อการทำกิจวัตรประจำวัน

3. ผู้ป่วยจะไม่มีไข้ ไม่เป็นหวัด ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือตาพร่าตาลาย และไม่ปวดมากขึ้นเมื่อถูกแสง เสียง กลิ่น หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย

4. อาการปวดศีรษะอาจเริ่มเป็นตั้งแต่หลังตื่นนอนหรือในช่วงเช้าๆ บางคนอาจเริ่มปวดตอน บ่ายๆ เย็นๆ หรือหลังจากได้คร่ำเคร่งกับงานมาก หรือขณะหิวข้าว หรือมีเรื่องคิดมาก วิตกกังวล มีอารมณ์ซึมเศร้าหรือนอนไม่หลับ

 

 

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัว ดังต่อไปนี้

1. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

2. อย่าปล่อยให้หิว

3. อย่าคร่ำเคร่งกับงานมากเกินไป

4. หลีกเลี่ยงการใช้สายตาจนเมื่อยล้า

5. ออกกำลังเป็นประจำ

6. หาทางผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่างๆ

 

แต่ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ควรไปปรึกษาแพทย์ ก็คือ

1. มีอาการปวดรุนแรง หรืออาเจียนรุนแรง

2. มีอาการปวดมากตอนเช้ามืด จนสะดุ้งตื่น หรือปวดแรงขึ้นและนานขึ้นทุกวันl มีอาการเดินเซ แขนขาอ่อนแรง หรือ ชักกระตุก

3. มีอาการตาพร่ามัว และตาแดงร่วมด้วย

4. มีอาการปวดศีรษะหลังจากได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะ ดูแลตนเอง 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น

5. มีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะรักษาตนเอง

 

อาการปวดหัวที่ว่านี้สามารถรักษาให้หายได้ ควบคุมให้ไม่กำเริบได้ ขอพียงแค่รู้จักรักษาตัวเองให้ดี คุณจะมีร่างกายที่แข็งแรงตลอดไป

 

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก https://www.doctor.or.th/article/detail/4129

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: