อยากได้บุญ! เลิกตักบาตรด้วยอาหารแบบนี้…โยมสะดวก แต่พระอาจไม่สบาย





การตักบาตรเป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทุกคนรู้จักกันดี และทำบุญด้วยวิธีการนี้เสมอ ทั้งนี้ หลายคนก็อาจจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารหรือสิ่งของที่ใช้ในการตักบาตร บางคนจะตักบาตรเฉพาะอาหารที่ตัวเองชอบเท่านั้น ซึ่งอาจจะเป็นอาหารที่ไม่ได้สุขภาพ

 

 

แน่นอนว่าความเร่งรีบบวกกับความเคยชินอาจชวนให้คนส่วนใหญ่หลงลืมไปว่าในอาหารชุดสำเร็จรูปที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่มีโปรตีนและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบถ้วน ในขณะที่ บางอย่างก็มีปริมาณน้ำตาล น้ำมัน เกลือ กะทิ หรือโซเดียมมากเกินกว่าความต้องการ ซึ่งเมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ จะทำให้พระสงฆ์อาพาธ (เจ็บป่วย) ด้วยโรคต่างๆ

 

วันนี้เราเล็งเห็นถึงสุขภาพที่ดีของพระสงฆ์ และอยากให้ชาวพุทธปรับเปลี่ยนอาหารที่ใช้ใส่บาตรกันสักหน่อย ถ้าคุณไม่อยากทำลายพระสงฆ์โดยไม่ตั้งใจ มาลองดูดีกว่าว่าอาหารใดบ้างที่ควรใส่ หรือไม่ควรใส่

 

5 โรคยอดฮิตของพระสงฆ์ไทย ได้แก่

1. โรคไขมันในเลือดสูง

2. โรคความดันโลหิตสูง

3. โรคเบาหวาน

4. โรคปอด

5. โรคหัวและหลอดเลือด

ซึ่งสาเหตุของการเจ็บป่วยในพระสงฆ์เกิดจากการฉันอาหารที่มีไขมันสูงและดื่มน้ำปานะที่มีรสหวาน เฉลี่ย 2 แก้ว/วัน รวมถึงออกกำลังกายน้อย เพราะพระสงฆ์ต้องสำรวม

ดังนั้น จึงแนะนำให้ตักบาตรด้วยอาหารตามนี้ จะช่วยให้พระมีสุขภาพที่แข็งแรงมากกว่า ได้แก่

 

 

1. เสริมข้าวกล้อง เพิ่มใยอาหาร เพิ่มวิตามิน

ทำโดยการผสมข้าวกล้องและข้าวขาวอย่างละครึ่ง

 

ประโยชน์ ดีต่อหัวใจ ลดความเสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือด ช่วยระบบขับถ่าย และอุดมไปด้วยวิตามินบี เนื่องจากในข้าวกล้องมีสารเส้นใยสูงกว่าข้าวขาวถึง 3-7 เท่า

 

 

2. เสริมผัก หลากชนิด

เนื่องจากในอาหารตักบาตรไม่มีผลไม้ และญาติโยมไม่ได้นำมาถวาย ท่านจึงไม่ได้ฉันผักสดหรือผลไม้รสหวานน้อยอย่าง มะละกอ ฝรั่ง แอปเปิ้ล และสาลี แก้ได้ด้วยการบริโภคผักและผลไม้ 2 ส่วน ต่อข้าว 1 ส่วน และเนื้อสัตว์หรือไข่ 1 ส่วน

 

ประโยชน์ ผักและผลไม้มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง และเบาหวานได้มาก ทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น

 

 

3. เสริมปลา ลาไกลมะเร็ง

ปลาเป็นแหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 สามารถรังสรรค์อาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ปลาผัดขึ้นฉ่าย ปลานึ่งมะนาว ยำปลาสลิด เมี่ยงปลาทู เป็นต้น

 

ประโยชน์ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและมะเร็ง

 

 

4. เสริมนม ผสมกะทิ กระดูกดี

ปรับให้เมนูของคาวและหวานที่มีส่วนผสมจากกะทิเป็นเมนูสุขภาพมากขึ้น ด้วยการใช้สูตรกะทิครึ่ง+นมครึ่ง เพราะได้ทั้งสุขภาพดีโดยที่ไม่เสียรสชาติอาหาร อาหารยังคงอร่อยและมีคุณค่าทางอาหาร

แต่สำหรับพระสงฆ์ที่ไม่สามารถฉันนมวัว สามารถใช้นมถั่วเหลืองแทนได้

 

ประโยชน์ ช่วยป้องกันปัญหาเรื่องกระดูกพรุน กระดูกบาง

 

 

5. สรรปานะ ลดน้ำตาล

น้ำปานะ เป็นเครื่องดื่มช่วยบรรเทาความหิว เหมาะกับการกินขณะท้องว่าง แต่ก็ควรมีปริมาณน้ำตาลน้อยและมีโปรตีนอยู่ด้วย อย่างเช่น โยเกิร์ต นมวัว-นมถั่วเหลือง ทั้งนี้ควรเลือกชนิดไขมันต่ำ รสชาติจืดหรือหวานน้อยแทน

 

 

6. ลดเค็ม ลดมัน รสชาติไม่จัดจ้าน

เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพพระสงฆ์ควรลดปริมาณการปรุง ทั้ง น้ำปลา เกลือ น้ำบูดู น้ำไตปลา ปลาร้า ปลาจ่อม รวมถึงควรใช้น้ำมันในปริมาณที่น้อย หรือเปลี่ยนเป็นกรรมวิธีการต้ม อบ ตุ๋น นึ่ง แทน

 

 

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นการส่งเสริมให้พระสงฆ์ไทยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง โดยเริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการฉันอาหารที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต

 

ฆราวาสที่ดีอย่างเราๆ ควีเลือกอาหารคุณภาพดีไปใส่บาตรหรือถวายเพล เพื่อที่พระสงฆ์จะได้มีสุขภาพร่างกายที่ดีอย่างยั่งยืน และอยู่เป็นที่พึ่งทางใจให้เราต่อไป

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://health.sanook.com/7809/

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: