คดีพลิก!! ทนาย ชี้ ไฟแนนซ์ “ยึดรถ” ไม่ได้ หากผู้เช่าซื้อไม่ยินยอม อ้างหลักกฎหมายข้อนี้มาโต้แย้ง ?!! (รายละเอียด)






จากเรื่องดังที่เป็นข่าวใหญ่โต กรณีที่เจ้าหน้าที่ไฟแนนซ์เข้าไปยึดรถ แต่ถูกตำรวจชักปืนขู่ หลังค้างค่างวดมาเป็นเวลานาน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โลกออนไลน์ มีการแชร์ข้อคิดเห็นจาก ดร.สุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความ วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายจากเรื่องดังกล่าว ลงเฟสบุ๊ก ดร. สุกิจ พูนศรีเกษม ระบุว่า กรณี ด.ต.เอกฉัตร ได้รับแจ้งจากภรรยาว่า ได้มีชายฉกรรจ์กับพวกมาล้อมรถและยึดกุญแจรถไว้ โดยมีเหตุควรเชื่อว่าโดนปล้น สามีชึ่งเป็นนายดาบตำรวจก็ออกมาช่วยโดยพบชายฉกรรจ์ดังกล่าว สอบถามได้ความว่าเป็นไฟแน้นซ์มายึดรถแต่ไม่มีหลักฐานอะไรมาแสดงให้เห็นว่าเป็นความจริงคงเพียงแต่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆๆ พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมมีเหตุเชื่อได้ว่าชายฉกรรจ์กับพวกประสงค์ร้ายต่อทรัพย์ นายดาบตำรวจ เอกฉัตร ฯจึงมีเหตุที่จะพกปืนเพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของภรรยาได้โดยชอบ การกระทำของนายดาบตำรวจผู้นั้นจึงไม่มีความผิดฐานพกพาอาวุธปืนโดยไม่มีเหตุอันควร ที่กฏหมายบัญญัติเป็นความผิด

มีปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ ชายฉกรรจ์ กับพวก มีสิทธิที่จะยึดรถที่ค้างค่างวดบริษัทไฟเน้นหรือไม่ เห็นว่าตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาพ.ศ.2555 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค. นั้นไม่ได้ให้อำนาจให้ยึดรถยนต์คันที่เช่าซื้อได้แต่หากบริษัทไฟแน้นซ์จะเข้าครอบครองรถคันที่เช่าซื้อจะต้องได้รับความยินยอมจากให้ผู้เช่าชื้อเป็นหนังสือ หรือหมายบังคับคดีของศาลที่ให้เจ้าพนักงานงานบังคับคดียึดรถยนต์คันดังกล่าวเป็นหมายศาลจึงจะกระทำได้ ชายฉกรรจ์กับพวกจึงไม่มีสิทธิเที้ยวออกยึดรถที่ชาวบ้านที่ค้างค่างวดได้โดยลำพัง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้เช่าซื้อ

นอกจากนี้ชายฉกรรจ์กับพวกยังนำเอาเหตุที่ผิดหวังจากการยึดรถไปลงประจานในสื่อออนไลน์ว่าผู้เช่าซื้อค้างค่างวดรถเป็นความผิดต่อพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 เรื่องการนำข้อมูลของลูกหนึ้ไปเผยแพร่โพสต์ข้อความประจานลูกหนี้ เข้าข่ายความผิด ตามมาตรา 11 ห้ามผู้ทวงถามหนี้กระทําการทวงถามหนี้ วรรค (1)การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทําอื่นใดที่ทําให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และวรรค(3)การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับครับ

พนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินคดีกับชายฉกรรจ์ดังกล่าวในความผิดฐานปล้นทรัพย์ และความผิดฐานพรบ.วงหนี้ปี 2558 และความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพโดยมีเหตุฉกรรจ์เพราะเป็นความผิดต่ออาญาแผ่นดินโดยไม่ต้องรอให้ผู้เสียหายไปร้องทุกข์เสียก่อน มิฉะนั้นท่านอาจมีความผิดฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่นะครับ

ข้อมูลจาก MATICHON

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: