เรื่องจริง!!! เปิดตำนาน “สร้างเสาหลักเมือง” พิธีกรรมฝังคนทั้งเป็นในสมัยโบราณ ที่เป็นเรื่องเล่าขานมาจนปัจจุบัน!!!(ชมคลิป)





 

ถ้าหากย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2544 เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นชื่อละครช่อง 3 เรื่อง "เจ้ากรรมนายเวร" ละครที่พูดถึงตำนานการสร้างเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นพิธีนำคนมาฝังทั้งเป็น เพื่อให้เป็นเจ้ากรรมนายเวรเฝ้าเมือง ซึ่งพิธีนี้ตามหลักฐานพบว่าเป็นตำนานที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์อีกด้วย

 


เรื่องสืบกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความเชื่อตามประเพณีว่า เมื่อมีการสร้างพระนครหรือสร้างเมือง จะต้องมีเสาหลักเมือง โดยในพิธีนั้น จะมีการฝังเสาหลักเมือง และเสามหาปราสาท โดยจะต้องเอาคนที่มีชีวิตทั้งเป็นลงฝังในหลุม เพื่อให้เป็นผู้เฝ้ามหาปราสาทบ้านเมือง ป้องกันอริราชศัตรู มิให้มีโรคภัยเกิดแก่เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ผู้ครองนครบ้านเมือง ในการทำพิธีดังกล่าว ต้องเอาคนที่ชื่อ อิน จัน มั่น คง มาฝังลงหลุมจึงจะศักดิ์สิทธิ์

 

เล่ากันว่าการจะหาผู้ที่มาฝังลงหลุมนั้น ผู้กระทำพิธีจะออกเดินไปตามย่านต่างๆ เรียกชื่อ อิน จัน มั่น คง ไปเรื่อยๆ ใครโชคร้ายขานรับขึ้นมาก็จะถูกนำตัวไปเลี้ยงดูอย่างดี อิ่มหนำสำราญโดยไม่บอกอนาคตล่วงหน้า พอถึงวันกำหนดที่จะกระทำการอันทารุณนี้ โดยการแห่นำไปแล้วผลักลงหลุมเพื่อทำพิธี เมื่อคนมาชุมนุมกันเขาก็ตัดเชือกปล่อยให้เสาหรือซุงหล่น ลงมาบนศีรษะผู้เคราะห์ร้ายผู้ตกเป็นเหยื่อของการถือโชคถือลางนั้น บี้แบนอยู่ในหลุม

 

 

 คนไทยเชื่อว่าผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้จะกลายสภาพเป็นอารักษ์ คนสามัญบางคนก็กระทำการฆาตกรรมแก่ทาสของตนในทำนองเดียวกันนี้เพื่อใช้ให้เป็นผีเฝ้าขุมทรัพย์ที่ตนฝังซ่อนไว้ โดยคนที่ถูกฝังทั้งเป็นเพื่อเป็นผีคอยรักษาเมือง จะต้องมีคุณสมบัติตามที่โหรพราหมณ์กำหนด ไม่ใช้นักโทษที่ต้องโทษประหาร แต่จะเป็นคนที่อยู่ในวัยต่างๆ กันมีตั้งแต่คนมีอายุ จนถึงเด็กทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ทุกคนต้องมีฐานะดีเป็นที่ยกย่องในกลุ่มชน และต้องเกิดตามที่โหรกำหนด ถ้าเป็นชายต้องไม่มีรอยสัก ผู้หญิงต้องไม่เจาะหู เมื่อสั่งเสียล่ำลาญาติพี่น้องแล้วก็จะถูกนำตัวไปลงหลุม ญาติพี่น้องก็จะได้รับพระราชทานรางวัล

ในกระทู้เว็บพันทิป เคยมีคนเล่าถึงพิธีเหล่านี้ไว้หลายมุม อาทิ….

(อ้างอิงกระทู้ https://pantip.com/topic/31337718)

  "มีจริงในประวัติศาสตร์ครับ แต่ในไทยไม่มีพิธีนี้มาหลายร้อยปีแล้ว ตอนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ก็ไม่ทำพิธีนี้ ครั้งสุดท้ายในประวัติศาสตร์น่าจะเป็นที่พม่า ครั้งย้ายพระนครจากอังวะไปมัณฑะเลย์   (น่าจะราวช่วงรัชกาลที่ 4 ของไทย) ครั้งนั้นใช้คนมาทำพิธีลงหลุมเกิน 50 คน ไม่ใช่แค่เสาหลักเมือง แต่ทำไปหมดทั้งมุมเมือง พลับพลาประตูหลัก ประตูวัง รัตนบัลลังก์" จาก สมาชิกคุณ zodiac28

  "เรื่องอิน จัน มั่น คงเป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาครับ ยังไม่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่สมัยก่อนหน้านั้นมีบันทึกการทำพิธีตอกเสาเข็มในไทย ปรากฎในเอกสารเรื่อง "Description ofthe Kingdom of Siam" ซึ่งเขียนใน ค.ศ.๑๖๓๘ (พ.ศ.๒๑๘๑) ของเยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremias Van Vliet) หัวหน้าสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ (Vereenigde Oost-Indische Compagnie; VOC) ประจำกรุงศรีอยุทธยาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระราชบิดาของสมเด็จพระนารายณ์

  "เมื่อจะทรงสร้างพระราชวัง หอคอย หรือพระตำหนักใดๆก็ตาม ภายใต้เสาเข็มที่จะถูกปักลงในพื้นดินจะจับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ใส่ลงไป หากยิ่งท้องแก่ใกล้จะคลอดก็ยิ่งดี ด้วยเหตุนี้จึงนำมาสู่ความโศกสลดในกรุงศรีอยุทธยาอยู่บ่อยครั้งเมื่อมีการซ่อมสร้างพระราชวังหรือหอคอย เพราะบ้านทุกหลังในสยามจะตั้งอยู่เหนือพื้นดินโดยมีเสาไม้หลักปักอยู่ สตรีจำนวนมากต้องทนทุกข์ต่อความทรมานนี้ แม้ว่าเรื่องที่บรรยายมานี้จะดูไม่น่าเป็นไปได้ แต่การประหารเหล่านี้ก็ได้เคยทำจริงๆ

 

"ผู้คนที่แสนจะงมงายเหล่านี้ เชื่อว่าเมื่อสตรีเหล่านี้ตายไปแล้วจะกลายเป็นภูติผีปิศาจ ที่คอยพิทักษ์เสาที่ตนถูกโยนลงไปข้างใต้รวมไปถึงตัวอาคารทั้งหมดจากความโชคร้าย บ่อยครั้งพระเจ้าแผ่นดินจึงทรงมักให้ข้าทาสไม่กี่คนไปจับกุมสตรีที่กำลังตั้งครรภ์อย่างไม่ใส่พระทัย แต่จะเว้นไม่จับกุมสตรีที่อยู่ในเรือนนอกจากหาใครไม่เจอบนถนนแล้ว สตรีเหล่านี้ถูกนำตัวมาเข้าเฝ้าพระมเหสี ซึ่งจะทรงดูแลพวกนางราวกับพวกนางจะมีพระประสูติกาลให้พระเจ้าแผ่นดินก็ว่าได้ หลังจากนั้นไม่กี่วัน พวกนางจะถูกโยนลงหลุมโดยให้หงายท้องขึ้น แล้วเสาเข็มจะตอกบนครรภ์จนทะลุไป

 

เรื่องนี้อาจจะดูเกินจริงไปบ้าง แต่ก็มีความใกล้เคียงกับเรื่องที่เล่าขานเกี่ยวกับการตอกเสาเข็มของไทยอยู่หลายอย่าง เช่น บางที่บอกว่าการตอกเสาเข็มมักใช้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์เพราะเมื่อตอกเสาเข็มแล้วก็จะได้วิญญาณถึง 2 ดวง (จากสมาชิกคุณ ศรีสรรเพชญ์) และฉากพิธีตอกเสาเข็มในละคร "เจ้ากรรมนายเวร" ที่ยังคงถูกพูดถึงจนถึงทุกวันนี้

 

ชมคลิป

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก วิกิพีเดีย , pantip

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: