แนะนำแนวทางการสมัครงานราชการ





แนะนำแนวทางการสมัครงานราชการ โดย ThaiJobsGov.com

 

แนะนำแนวทางการสมัครงานราชการ

สวัสดีครับทุกท่าน ทีมงาน ThaiJobsGov.com นำเสนอข้อมูลและแนวทางการสมัครงานราชการ ว่าแต่ละหน่วยงานมีความแตกต่างกันอย่างไร
ในการที่จะสามารถเข้าไปทำงานในหน่วยงานนั้นได้ เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการสมัครงานราชการท่านที่มีความสนใจในงานราชการนะครับ

เริ่มแรกมาทำความรู้จักกับ

1.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือที่เรียกติดปากกันว่า ก.พ.

แนะนำแนวทางการสมัครงานราชการ

โดย ก.พ.มีหน้าที่  ทำหน้าที่ดูแลให้การดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลของข้าราชการพลเรือน ในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนนับตั้งแต่การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนการสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการการแต่งตั้งโยกย้ายการเลื่อนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนไปจนถึงการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการ และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรุปคือ กพ.มีหน้าที่จัดสอบบรรจุเพื่อเข้ารับราชการ ในหน่วยงานราชการ กระทรวงต่างๆ ทบวง กรมต่างๆ

โดยท่านที่สนใจจะสมัครงานในกระทรวง หรือทบวง กรมต่างๆ ที่เปิดสอบ นั้นจะต้องมีใบผ่านทางหรือที่เรียก ใบ ก.พ. ภาค ก. ที่เปิดสอบกันทุกปี และปี 57
นี้จะมีภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามาด้วย !

และใบ ก.พ.ภาค ก. นี้จะแบ่งแยกเป็นระดับวุฒิการศึกษา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ ปวส. ระดับ ป.ตรี และ ป.โท   ซึ่งในแต่ระหน่วยงานก็จะระบุแตกต่างกันไปว่า

จะรับผู้ที่ผ่าน ก.พ. ในระดับใด

ยกตัวอย่างเช่น

1.กระทรวงพาณิชย์ เปิดรับสมัครข้าราชการ  ตำแหน่งนักวิชาการพาณิชย์ โดยในรายละเอียดประกาศรับสมัคร

จะระบุคุณสมบัติของผู้สมัคร เช่น ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียบเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.ระดับปริญญาตรี   และมีวุฒิทางการศึกษา ทางด้าน บัญชี เศรษฐศาสตร์

2. กระทรวงมหาดไทย เปิดรับสมัครข้าราชการ ตำแหน่งนักวิเคราะห์ข้อมูล โดยรายละเอียดประกาศรับสมัคร

จะระบุคุณสมบัติของผู้สมัคร เช่น ต้องเป็นผู้ที่ได้รับผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียบเป็นผู้สอบผ่านภาคความรู้ ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.ระดับปริญญาโท  และมีวุฒิทางการศึกษา ทางด้าน รัฐศาสตร์

เมื่อมีการสมัคร โดยใช้ ภาค ก. ในการสมัครตามตำแหน่งที่ท่านมีวุฒิการศึกษา และใบ ก.พ. ภาค ก.ที่ท่านมีอยู่แล้ว

กระทรวงหรือหน่วยงานที่เปิดสอบนั้นจะทำการคัดเลือก ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งหรือที่เรียกว่า ภาค ข.

โดยจะเป็นการสอบความรู้ในตำแหน่งนั้นๆ โดยลักษณะข้อสอบจะอยู่ในแนบท้ายประกาศรับสมัครงานของหน่วยงาน

และมาถึงขั้นสุดท้ายของการเลือกคือ เมื่อท่านผ่าน ภาค ข. แล้ว หน่วยงานที่เปิดสอบจะทำการคัดเลือก ความเหมาะสมกับตำแหน่ง หรือที่เรียกว่า ภาค ค.

โดย ภาค ค. จะเป็นการประเมินจากการสังเกตุพฤติกรรมและสอบสัมภาษณ์ของผู้เข้าสอบว่ามีความรู้ ความสามารถ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศคติ สมรรถนะที่เหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่

 

โดยเมื่อผ่าน ทั้ง 3 ภาค ก. ข. ค. แล้วทางหน่วยงานก็จะประกาศผลสอบออกมาโดยเรียงตามลำดับคะแนน และอาจมีการขึ้นบัญชีไว้ 2 ปี โดยประมาณครับ

*** ก.พ. ภาค ก มีอายุตลอดชีวิต นะครับ สอบครั้งเดียวไม่ต้องสอบใหม่ เว้นจากจะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ***

จากตัวอย่างข้างต้นเพื่อนๆพอจะมองภาพการสมัครเข้ารับราชการ ของ ก.พ. ออกแล้วนะครับว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และทำไมพวกเราต้องสอบ ก.พ. ภาค ก กัน

และนอกเหนือจากข้าราชการแล้ว ยังมีตำแหน่งที่เรียกว่า พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างทั่วไป ลูกจ้างตามภารกิจ และอื่นๆซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมต่าง

โดยตำแหน่งเหล่านี้ไม่ต้องใช้ ก.พ. ภาค ก ในการสมัครนะครับ  และส่วนมากจะเป็นการจ้างแบบต่อสัญญาเช่น 4 ปี / ครั้ง  , 1 ปีครั้ง  และจ้างตามภารกิจครับ

 

2.กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

ในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จะมีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับข้าราชการฝ่ายท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

โดยเมื่อมีการจัดสอบของฝ่ายท้องถิ่น

ยกตัวอย่างเช่น อบต.ศรีเชียงใหม่ เปิดรับสมัครเข้ารับราชการเป็นพนักงานส่วนตำบล ระดับ 1-3

โดยจะจัดสอบความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) และทดสอบความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (ภาค ข.) ในวันเวลาเดียวกัน

เมื่อสอบผ่านทั้งสองภาคแล้วจึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.) ต่อไป

การขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้

กำหนดให้บัญชีผู้สอบแข่งขันมีอายุ 2 ปี ผู้ขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้จะต้องบรรจุตามลำดับที่ โดยผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดมีสิทธิเลือกบรรจุใน อปท. ใดก็ได้ตามบัญชีรายชื่อ อปท. ที่ขอใช้บัญชีไปบรรจุแต่งตั้ง

โดยในส่วนของ ฝ่ายท้องถิ่นจะแตกต่างจาก ฝ่าย ก.พ. คือ จะทดสอบ ภาค ก. ภาค ข. และอาจจะมี ภาค ค. ในวันเดียวกันของการทดสอบเลยก็ได้ครับ

 

3.ข้าราชการตำรวจและทหาร

ทหารและตำรวจ

ในส่วนของข้าราชการตำรวจและทหารนั้น จะเป็นการเปิดสอบจากส่วนกลางและต้นสังกัดนั้นๆ

1.ตำรวจ จะมีเปิดรับบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจ มีทั้ง ชั้นประทวน (เริ่มต้นที่สิบตำรวจตรี)
ชั้นสัญญาบัตร (เริ่มต้นที่ร้อยตำรวจตรี)

โดยในแต่ละหน่วยงานสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะเป็นการเปิดรับคัดเลือกเอง

2.ทหาร จะมีเปิดรับบุคคลภายนอกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการทหาร ทั้งนี ขึ้นอยู่กับว่าจะสังกัดเหล่าทัพใด

เช่น กองทัพเรือ เปิดรับสมัครบุคคลภายนอกเข้ารับราชการทหาร ชั้นสัญญาบัตร ในกองทัพเรือ ประจำปี 2556

โดยต้องมีคุณสมบัติตามที่ระบุดังนี้…….

 

สำหรับข้อมูลแนวทางการสมัครงานราชการ เบื้องต้นก็มีข้อมูลคร่าวๆประมาณนี้ครับ
หวังว่าทุกท่านที่ได้อ่านบทความนี้จะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย ในการสมัครงานราชการ เพื่อ รับราชการ ในตำแหน่งและหน่วยงานที่ตนเองต้องการ

ได้เป็นข้าราชการกันทุกคน 

หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใดหรืออยากให้เพิ่มเติม แก้ไขในส่วนใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

 

มีข้อสงสัยเพิ่่มเติมสามารถคอมเม้นได้ล่างบทความนี้ หรือทาง Facebook >> คลิกทีนี้ 

 

*** และขอความกรุณาทุกท่านช่วย แชร์บทความนี้เพื่อเป็นวิทยาทานให้กับเพื่อนๆ ที่มีความสนใจจะเข้าทำงานราชการด้วยนะครับ ขอบคุณครับ ***

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: