อย่าสับสน ‘โรคกระเพาะอาหาร’ และ ‘โรคกรดไหลย้อน’ ไม่เหมือนกัน





อาการปวดท้องที่กระเพาะอาหารเป็นอาการที่คนในยุคปัจจุบันเป็นกันมากขึ้น เพราะหนึ่งในสาเหตุสำคัญเกิดขึ้นมาจากความเร่งรีบของสังคมเมือง ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการปวดท้องบริเวณนี้ไม่ได้มีความหมายว่าคุณเป็น “โรคกระเพาะอาหาร” เพียงอย่างเดียว แต่ไม่แน่ว่าอาการที่คุณเป็นอยู่อาจเป็นส่วนหนึ่งของ “โรคกรดไหลย้อน” ก็ได้โรคกรดไหลย้อน

[ads]

    ซึ่งแม้ว่าโรคกรดไหลย้อนนี้จะเป็นอันตรายกับกระเพาะอาหารเหมือนกัน แต่ในรายละเอียดแล้วกลับมีความแตกต่างกันอย่างมาก และจำเป็นต้องได้รับการดูแลและรักษาที่ไม่เหมือนกัน หากคุณเข้าใจผิด อาจทำให้การรักษาไม่ได้ผลหรือเป็นหนักมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งนำมาสู่อันตรายต่ออวัยวะย่อยอาหารที่สำคัญนี้ได้ ความแตกต่างของโรคทั้งสองนี้เป็นอย่างไร ตามมาหาคำตอบดูเลยดีกว่า

    โรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน เป็นโรคที่เกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารของร่างกายมนุษย์ โดยเกิดขึ้นตั้งแต่หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลามไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ความคล้ายคลึงของอาการที่เรารู้สึกได้ คือ “อาการปวด จุกเสียด แน่นท้อง แก๊สในกระเพาะอาหารมาก หรือมีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย” ส่วนความแตกต่างมีดังต่อไปนี้

โรคกระเพาะอาหาร เป็นอย่างไร?โรคกระเพาะอาหาร เป็นอย่างไร?

    คนส่วนใหญ่มักจะรับรู้กันว่าถ้ากินอาหารไม่ตรงเวลาจะเสี่ยงเป็นโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งความจริงแล้วโรคนี้คือ “โรคแผลในกระเพาะอาหาร” หรือเกิดแผลขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งตำแหน่งที่พบบ่อยๆ คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย บริเวณระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

    ซึ่งสาเหตุที่เกิดขึ้นจริงๆแล้วแบ่งได้ 4

สาเหตุ ได้แก่

    1. บกพร่องตั้งแต่กำเนิด เป็นเพราะเยื่อบุกระเพาะอาหารไม่แข็งแรงมาตั้งแต่เกิด และเมื่อร่างกายโตขึ้น อาการก็จะกำเริบจนเกิดเป็นโรคกระเพาะอาหารในที่สุด

    2. ภาวะเครียด เป็นคนคิดมาก หรือโดนสังคมกดดัน รวมไปถึงอาการนอนไม่หลับ และพักผ่อนไม่เพียงพอ

    3. ใช้ชีวิตผิดๆ ทั้งการรับประทานอาหารเร็วเกินไป รับประทานไม่เป็นเวลา อดมื้อกินมื้อ ชอบดื่มชากาแฟ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากไป สูบบุหรี่จัด หรือทานยาบางตัวโดยไม่มีแพทย์คอยดูแล เช่น ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูก หรือยาที่มีส่วนผสมของสตีรอยด์

    4. ติดเชื้อแบคทีเรีย ประเภท “เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร” ซึ่งมีผลทำให้ผนังและเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอ และง่ายต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหาร

    โดยปกติแล้ว…โรคกระเพาะอาหารจะทำให้เกิดอาการปวดแสบ เสียด ตื้อ จุกและแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ อาการนี้จะไม่เป็นตลอด แต่จะเป็นๆหายๆ ครั้งละ 15-30 นาที และเป็นวันละหลายครั้งทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร ซึ่งไม่สามารถแก้ไขอาการปวดได้ด้วยการรับประทานอาหาร และหากเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

โรคกรดไหลย้อน เป็นอย่างไร?

    หลังจากเข้าใจโรคกระเพาะอาหารกันไปแล้ว มาต่อกันที่ โรคกรดไหลย้อนบ้าง โรคกรดไหลย้อน เรียกอีกชื่อว่า “เกิร์ด” (GERD) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปบริเวณหลอดอาหาร น้ำย่อยที่กัดหลอดอาหารจะทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอ แสบร้อนบริเวณทรวงอก และจุกเสียดแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่

    ด้วยอาการที่คล้ายกับโรคกระเพาะอาหาร จึงทำให้คนจำนวนไม่น้อยเข้าใจผิดคิดว่าอาการที่ตนเองเป็นอยู่คืออาการของโรคกระเพาะอาหาร และรักษาตัวเองอย่างผิดวิธี ซึ่งนำไปสู่อันตรายอย่างมากต่อสุขภาพของคุณ ดังนั้น จึงต้องรู้ข้อแตกต่างของโรคกระเพาะอาหาร กับ โรคกรดไหลย้อน ให้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้การรักษาผิดพลาด

    จุดที่ต้องสังเกต คือ โรคกรดไหลย้อนจะมีอาการแสบจุดเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอก หลังรับประทานอาหาร 30-60 นาที แน่นหน้าอกคล้ายกับอาหารไม่ย่อย และอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยได้ ทั้งนี้ ลองสังเกตว่ามีอาการเรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ แสบลิ้น หรือไอ ร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งอาการเหล่านี้จะไม่เป็นตลอด แต่จะเป็นๆหายๆ มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละประมาณ 1-2 ชม.

    ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกได้ 5 สาเหตุ ได้แก่

    1. หูรูดหลอดอาหารเสื่อม เป็นสาเหตุมาจากอายุ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไล้เลื่อน และ ภาวะการตั้งครรภ์

    2. พฤติกรรมผิดๆ เช่น ทานอาหารมากเกินไป ทานอาหารรสจัด กินเสร็จแล้วนอนทันที กินแล้วนั่งงอตัวหรือโค้งตัวต่ำลง รวมถึงการใส่กางเกงหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

    3. ติดแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน ทั้งสองอย่างนี้สามารถกระตุ้นให้เกิดได้ทั้งโรคกระเพาะอาหารและโรคกรดไหลย้อน ดังนั้น หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงด่วน

    4. รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงๆ ของมันๆ หรือมีไขมันสูงจะทำให้อาหารในกระเพาะอาหารเคลื่อนตัวช้ากว่าที่เคยเป็น และส่งเสริมให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้มากขึ้น

    5. ดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่มีคาร์บอเนต น้ำอักแก๊สมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้มากขึ้น เนื่องจากดรดในเครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้หูรูดคลายตัว และทำให้มีกรดโดยรวมในกระเพาะอาหารสูงขึ้น ซึ่งมีโอกาสทำร้ายอวัยวะส่วนอื่นๆที่อ่อนแอกว่าได้

    ความรุนแรงของโรคทั้งสองชนิดนี้ถือว่ารุนแรงไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคไหนก็ต้องเร่งรักษาทั้งนั้น เพียงแต่ต้องรู้วิธีการรักษาที่ถูกวิธี เพื่อที่จะไม่ทำให้โรคที่เป็นอยู่รุนแรงมากขึ้น และลดต้นเหตุของโรคหรือความเจ็บป่วยอื่นๆที่อาจจะตามมาในอนาคต

 

 

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: