ตรวจพบ…น้ำจิ้ม  6 ชนิด”โซเดียมสูง” กินมากไปไตเสื่อม





เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ รายงานเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2560 ที่ผ่านมาว่า ผศ. วันทนีย์ เกรียงสินยศ นักวิชาการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในการประชุมพิจารณามาตรการควบคุมโซเดียมในอาหาร ที่โรงแรมริชมอนด์ เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ว่า องค์การอนามัยโลกและโคเด็กซ์กำหนดค่าปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้และไม่ทำให้เกิดอันตรายไว้ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ขณะที่ประชากรไทยได้รับโซเดียมสูงถึง 4,352 มิลลิกรัมต่อวัน คิดเป็น 2.2 เท่าของปริมาณสูงสุดของโซเดียมที่รับได้ แต่ไม่ทำให้เกิดอันตราย อย่างไรก็ตาม หน่วยรับรองสัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมโภชนาการ สถาบันโภชนาการ ทำการสำรวจผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆที่มีจำหน่ายทั่วไป พบปริมาณโซเดียมในอาหารต่างๆ ดังนี้

[ads]

ค่าโดยประมาณของปริมาณโซเดียมในน้ำจิ้ม 6 ชนิดต่อ 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 15 กรัม คือ

  • 1.น้ำจิ้มข้าวมันไก่ 332 มิลลิกรัม
  • 2.น้ำจิ้มหมูสะเต๊ะ 139 มิลลิกรัม
  • 3.น้ำจิ้มสุกี้ 277 มิลลิกรัม
  • 4.น้ำจิ้มข้าวหมกไก่ 377 มิลลิกรัม
  • 5.น้ำจิ้มกุยฉ่าย 428 มิลลิกรัม และ
  • 6.น้ำราดข้าวหมูแดง 200 มิลลิกรัม
  •  

   ด้าน ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การที่ร่างกายได้รับโซเดียมสูงจะมีผลกระทบต่อหลายระบบในร่างกาย โดยเฉพาะไตที่ทำหน้าที่ขับโซเดียมออกจากร่างกายนั้นต้องทำงานหนัก และเกิดไตเสื่อม เมื่อเป็นมากต้องรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไตโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง หรือฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ย 240,000 บาทต่อคนต่อปี ไม่รวมค่ายาและค่าใช้จ่ายทางอ้อม ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพบว่าปี 2558 ใช้งบประมาณในการล้างไต 5,247 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 6,318 ล้านบาทในปี 2559 ส่วนสิทธิประกันสังคมรวมกับข้าราชการต้องใช้ปีละ 10,000 ล้านบาท รวมเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 15,000 ล้านบาท โรคหัวใจและหลอดเลือดปีละ 78,976 ล้านบาท โรคเบาหวาน 24,489 ล้านบาท

เงื่อนไขการแสดงความคิดเห็น ๆ
- ไม่สามารถ copy ข้อความจากที่อื่น แล้วนำมา paste ในช่องแสดงความคิดเห็น
- ไม่สามารถใส่ชื่อเว็บไซต์ใด ๆ ก็ตาม ลงในช่องแสดงความคิดเห็น
- ระบบสามารถรับข้อความ ได้สูงสุดเพียง 2,000 ตัวอักษร ต่อหนึ่งครั้ง
- ผู้ดูแลเว็บไซต์ จะลบข้อความที่ไม่เหมาะสม และข้อความโฆษณาสินค้า หรือบริการ
error: