ชัยวุฒิ ย้ำ หลักการPDPA โอด โดนโทรขายประกันวันละหลายรอบ มีโทษหนัก

Advertisement เมื่อเวลา 08.05 น. วันที่ 25 มิ.ย. 2565 นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในรายการ “คุยเรื่องบ้าน คุยเรื่องเมือง คุยทุกเรื่องกับรัฐมนตรี” เรื่อง อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ภายใต้พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านทาง FM92.5 MHz และเครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย RADIO THAILAND ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ออกมาเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลหรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ Advertisement เพราะข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบันของทุกคน ไม่ว่าจะซื้อของออนไลน์ ทำบัตรเครดิต ทำธุรกิจต่างๆ เปิดบัญชีธนาคาร ที่เราให้ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล รสนิยมพฤติกรรมความชอบ ความเชื่อ ถือเป็นข้อมูลส่วนตัว จึงต้องออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลเหล่านี้ ไม่ให้องค์กร ร้านค้าธุรกิจต่างๆ นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในทางมิชอบ ทำให้เราเสียหาย เดือดร้อน รำคาญ กฎหมายจึงออกมาคุ้มครองข้อมูลของประชาชนเพื่อไม่ให้เกิดการรั่วไหล ไม่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดความเสียหาย นายชัยวุฒิ กล่าวว่า […]

กฎหมาย PDPA 10ข้อต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้

เปิด 10 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ทุกคนควรรู้ ก่อนบังคับใช้คุ้มครองข้อมูลส่วนตัว 1 มิ.ย.65 นี้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 หลังจากที่ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้ กฎหมายฉบับนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ก่อนมีผลบังคับใช้ […]

error: