สธ.เผยไข้เลือดออกระบาดหนัก เสียชีวิตสะสมแล้ว58ราย ป่วยพุ่งสัปดาห์ละ 5-6 พันราย

Advertisement 18 ส.ค.2566 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมติดตามสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ ว่า สถานการณ์โรคโควิด 19 ในประเทศไทย ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 6-12 ส.ค. 2566) มีผู้ป่วยรายใหม่เข้ารับการรักษาใน รพ. 318 ราย เฉลี่ย 45 รายต่อวัน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 136 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 83 ราย และเสียชีวิต 7 ราย เฉลี่ย 1 รายต่อวัน แนวโน้มสถานการณ์ค่อนข้างทรงตัว Advertisement นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า แต่ที่สำคัญคือ ผู้เสียชีวิตยังคงเป็นกลุ่ม 607 ได้แก่ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค โดยมีปัจจัยเสี่ยงคือ ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 […]

รพ.รามาฯ พบเด็กอ้วน ติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรง เข้ารักษาหอวิกฤตมากขึ้น

20 พ.ค. 2566 พญ.โรจนี เลิศบุญเหรียญ กุมารแพทย์ประจำสาขาเวชบำบัดวิกฤต ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล กล่าวว่า ขณะนี้หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤตเด็ก รพ.รามาธิบดี เริ่มมีผู้ป่วยเด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีอาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออกรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากช่วงเข้าฤดูในเป็นช่วงการระบาดตามธรรมชาติของโรคนี้ อาการจะเริ่มทรุดลงหลังไข้ลดประมาณ 3-5 วัน พญ.โรจนี กล่าวต่อว่า ขณะที่เด็กที่อยู่ในภาวะอ้วนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้เลือดออกที่รุนแรงได้มากกว่าเด็กปกติ เนื่องจากมีการอักเสบของร่างกายที่อาจจะรุนแรงกว่าเด็กปกติ และสังเกตอาการได้ยากกว่า อีกทั้งยังพบว่าในการเจาะเลือดเพื่อตรวจ หรือให้การรักษาด้วยการให้สารน้ำในช่วงวิกฤต เช่น การให้น้ำเกลือในปริมาณที่เหมาะสมและยาทางหลอดเลือดดำ ทำได้ยากกว่าเด็กปกติ จำเป็นต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญ พญ.โรจนี กล่าวอีกว่า โดยปกติในการให้การรักษาผู้ป่วยเด็กที่พบเชื้อไข้เลือดออกที่มีร่างกายแข็งแรง กุมารแพทย์จะให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ น้ำเกลือแร่ลดอาการขาดน้ำ และให้ผู้ปกครองดูอาการที่บ้านก่อนในช่วงแรก แล้วจึงค่อยนัดมาติดตามอาการที่ รพ.เพื่อเจาะเลือดตรวจ ว่าจะมีโอกาสเกิดเลือดออก หรือภาวะช็อกหรือไม่อีกครั้งในวันที่ไข้นานเกิน 3-5 วัน หรือถ้าหลังไข้ลด ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย กินไม่ได้ ปัสสาวะออกน้อย หรือมีอาการเลือดออก เช่น เลือดกำเดาไหล มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ พญ.โรจนี กล่าวต่อว่า […]

เตือน “ไข้เลือดออก” ระบาดหนัก ดับแล้ว14 มากกว่าปีก่อน 2.2เท่า

17 ส.ค. 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 10 สิงหาคม 65 พบผู้ป่วยแล้ว 16,276 ราย เสียชีวิต 14 ราย กลุ่มอายุที่เสียชีวิต อายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านในช่วงเวลาเดียวกันถึง 2.2 เท่า โดยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาจังหวัดที่มีผู้ป่วยมากที่สุด 5 อันดับแรก คือจ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี จ.ตาก และจ.ศรีสะเกษ และคาดการณ์ว่าปีนี้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจะระบาดมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด โดยมีแนวโน้มพบผู้ป่วยในกลุ่มผู้ใหญ่มากขึ้น สำหรับลักษณะอาการของโรคไข้เลือดออก คือ มีไข้สูงเฉียบพลัน และสูงลอย 2-7 วัน ร่วมกับปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หน้าแดง อาจมีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามลำตัว แขน ขา คลื่นไส้ […]

กรมควบคุมโรค เตือนระวัง “ไข้เลือดออก” ติดร่วมกับโควิด ดับแล้ว3ราย

‘กรมควบคุมโรค’ เตือนระวัง ‘ไข้เลือดออก’ ติดร่วมกับโควิด ดับแล้ว 3 ราย เผย กทม. พบผู้ป่วยมากสุด ส่วนใหญ่เจอในวัยเรียน อายุ 5-14 ปี วันที่ 20 มี.ค.65 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงโรคที่ต้องเฝ้าระวังเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนยังมีโรคที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ โรคทางเดินอาหาร ที่อาหารจะบูด เน่า เสียได้ง่าย โรคท้องร่วง โรคจากลมแดด หรือเพลียแดด เพราะการที่ร่างกายได้รับแดดนานๆ ขาดน้ำ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ คนที่ทำงานกลางแจ้งก็ต้องเตือนให้ระมัดระวัง เพราะอาจเสียชีวิตได้ “ช่วงนี้เราเริ่มมีสัญญาณผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ในปีที่แล้ว มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตทั้งหมด 6 ราย แต่ในปีนี้ ผ่านมาเพียงแค่ 3 เดือน มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเสียชีวิตไปแล้ว 3 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตก็เป็นโรคไข้เลือดออกร่วมกับโควิด-19 ด้วย และยังพบอีกว่าทั้ง 3 รายที่เสียชีวิตนั้น ได้รับยาจากร้านยาบ้าง […]

เตือนภัย’ไข้เลือดออก’ระบาด! กรุงเทพป่วยเกือบ6,000คน เสียชีวิตแล้ว5ราย

  เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่อาคารธานีนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.2 ดินแดง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ในปัจจุบันพื้นที่กรุงเทพมีการแพร่ระบาดของโรค ไข้เลือดออก เกิดผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง กทม.จึงประสานความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ และประชาชนในพื้นที่ ร่วมดำเนินการควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้สั่งการให้สำนักอนามัย และสำนักงานเขตพื้นที่ทั้ง 50 เขต วางมาตรการควบคุมโรค ในเบื้องต้น จะลงพื้นที่ฉีดพ้นสารเคมีกำจัดยุงลายในจุดต่างๆ ซึ่งประชาชนสามารถแจ้งข้อมูลการแพร่ระบาดของยุงในพื้นที่ ให้กทม.เข้าดำเนินการกำจัดและป้องกันโรคได้ ด้านนายเมธิพจน์ ชาตะเมธีกุล ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย กทม. เปิดเผยว่า โรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายเป็นพาหะ ซึ่งในฤดูฝนจะเป็นช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคมากที่สุดเนื่องจากมีฝนตกน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธ์ของโรค โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่กรุงเทพปี 2561 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม จำนวน 5,899 ราย โดยมีผู้เสียชีวิตจำนวน 5 ราย ซึ่งเป็นผู้เสียชีวิตในพื้นที่เขตหนองจอก 1 ราย ดินแดง 2 ราย ปทุมวัน 1 ราย และเขตบางกะปิ 1 ราย และเป็นผู้เสียชีวิตในกลุ่มคนวัยทำงานทั้งสิ้น […]

error: